๒. สัมพันธบท
นอกจากวิเสสนบทจะเป็นบทขยายประธานแล้ว
แม้คำนามเดิมที่ประกอบด้วย ส
หรือ นํ ฉัฏฐีวิภัตติ
ก็ยังสามารถเป็นบทขยายได้อีกด้วยโดยลักษณะที่มีความเกี่ยวเนื่องอยู่กับบทอื่น
เรียกว่า สัมพันธบท ๑.
สัมพันธบท
คำว่า สัมพันธะ มาจากคำว่า สมฺพนฺธ แปลว่า ความเกี่ยวเนื่อง
ดังคำจำกัดความ ย่อ ๆ ว่า สมฺพชฺฌนํ สมฺพนฺโธ ความเกี่ยวเนื่องกัน
ชื่อว่า สัมพันธะ. อธิบายได้ว่า เป็นความเกี่ยวเนื่องระหว่างสิ่งสองสิ่ง
เหมือนแผ่นไม้สองแผ่นที่นำมาประกบกัน
สัมพันธบท
ได้แก่ คำนามที่ประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ ซึ่งใช้สื่อถึงการมีความสัมพันธ์กันกับนามบทอื่นๆ
มีคำแปลว่า แห่ง หรือ ของ.
สัมพันธบท มีอยู่ ๓ ประการ ๒ คือ
๑) สามีสัมพันธะ
เกี่ยวเนื่องโดยความเป็นเจ้าของแห่งทรัพย์นั้น
๒) สมูหสัมพันธะ
เกี่ยวเนื่องโดยความเป็นของที่อยู่ในหมู่
๓) ภาวสัมพันธะ (หรือภาวาทิสัมพันธะ)
เกี่ยวเนื่องโดยความเจ้าของกิริยาอาการ
พึงทราบลักษณะของวิภัตตินี้ ทั้งโดยชื่อและความหมาย
ดังต่อไปนี้
สามีสัมพันธะ
คำว่า สามีสัมพันธะ มาจากคำว่า สามี เจ้าของ + สัมพันธะ
เกี่ยวเนื่อง. คำว่า สามี แปลว่า
เจ้าของ ดังคำจำกัดความย่อ ๆ ว่า สสฺส อตฺตโน อิทํ สํ, สํ อสฺส อตฺถีติ สามิ.
อ. ทรัพย์ ของตน นี้ ชื่อว่า สํ, อ.
ทรัพย์ของตน อันชื่อว่า สํ ของบุคคลนั้น มีอยู่ เหตุนั้น อ. บุคคลนั้น ชื่อว่า
สามิ แปลว่า คนมีทรัพย์ กล่าวเป็นภาษาไทยง่าย ๆ คือ เจ้าของ. ส่วนคำว่า
สัมพันธะ มีความหมายโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเอง
คำว่า สามีสัมพันธะ จึงได้ความหมายว่า
ความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างสิ่งสองสิ่ง โดยฝ่ายหนึ่ง เป็นเจ้าของ ที่เรียกว่า สัมพันธะ
อันประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ กันและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นสิ่งที่ถูกเจ้าของครอบครอง
ที่เรียกว่า สัมพันธี อันประกอบด้วยวิภัตติใดก็ได้
พึงสังเกตความในภาษาไทยว่า บ้านของบุรุษ คำว่า บ้าน เป็นสิ่งที่ถูกเจ้าของ
ในที่นี้ได้แก่ บุรุษ ครอบครอง เพราะเหตุนั้น บ้าน จึงชื่อว่า สัมพันธี
ถูกครอบครอง ส่วน บุรุษ เป็นผู้ครอบครอง เพราะเหตุนั้น บุรุษ จึงชื่อว่า สัมพันธะ
ผู้ครอบครองหรือเป็นเจ้าของ. เปรียบเทียบกับภาษาบาลี ปุริสสฺส คาโม (คาโม)
อ.บ้าน (ปุริสสฺส) ของบุรุษ . บทว่า คาโม (อ.บ้าน)
เป็นสิ่งที่ถูกเจ้าของครอบครอง ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ ในฐานะเป็นบทประธาน
จึงชื่อว่า สัมพันธี เพราะมีลักษณะเป็นสิ่งที่ถูกครอบครอง. ส่วนบทว่า ปุริสสฺส
(ของบุรุษ) ประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ ในฐานะเป็นบทขยายประธาน จึงชื่อว่า สัมพันธะ
เพราะมีลักษณะเป็นผู้ครอบครอง. ความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างบทสองบท
โดยลักษณะเช่นนี้นั่นแหละ เรียกว่า สามีสัมพันธะ
เกี่ยวเนื่องโดยเป็นเจ้าของแห่งทรัพย์
สมูหสัมพันธะ
คำว่า สมูหสัมพันธะ มาจากคำว่า สมูหะ แปลว่า หมู่ + สัมพันธะ
เกี่ยวข้อง. คำว่า สมูหะ มีคำจำกัดความย่อ ๆ ว่า สมํ สหาวยเวน อูหติ
ติฏฺฐตีติ สมูโห. คำว่า สมูหะ ได้แก่
กลุ่มสิ่งของซึ่งตั้งขึ้นโดยเป็นองค์ประกอบร่วมกัน. คำว่า สัมพันธะ
มีความหมายโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
ดังนั้น สมูหสัมพันธะ จึงเป็นการเกี่ยวเนื่องกันโดยนัยว่า เป็นส่วนหนึ่งแห่งหมู่อันเป็นที่รวมกัน
พึงเปรียบความในภาษาไทยว่า หมู่ของพระสาวก คำว่า หมู่
เป็นที่ประชุมของกลุ่มคนที่เรียกว่า สาวก และ คำว่า ของพระสาวก
จึงเป็นองค์ประกอบร่วมกันของคำว่า หมู่.
ความสัมพันธ์กันในลักษณะที่เป็นองค์ประกอบร่วมกันของหมู่ ชื่อว่า สมูหสัมพันธะ
คำในภาษาไทยนั้น เทียบกับภาษาบาลีได้ว่า สาวกานํ สงฺโฆ (สงฺโฆ) อ.หมู่ (สาวกานํ) ของสาวก ท.
คำว่า สงฺโฆ เป็น สมูหะ หมายถึง เป็นกลุ่มที่รวม
ประกอบด้วยวิภัตติใดก็ได้ แต่ในที่นี้ประกอบ ปฐมาวิภัตติ เพื่อเป็นประธาน.
ส่วนคำว่า สาวกานํ เป็น สมูหี เพราะเป็นสิ่งของที่เป็นองค์ประกอบอันจะถูกรวม
ให้ประกอบด้วย นํ ฉัฏฐีวิภัตติ ฝ่ายพหุวจนะ เพราะเป็นของหลายจำนวน.
ความเกี่ยวเนื่องในลักษณะที่เป็นส่วนประกอบของหมู่ (สมูหะ) ชื่อว่า สมูหสัมพันธะ
เกี่ยวเนื่องกันโดยความเป็นสิ่งของที่รวมกันเป็นหมู่
ภาวสัมพันธะ
คำว่า ภาวสัมพันธะ มาจากคำว่า ภาวะ กิริยาอาการ
+ สัมพันธะ ความเกี่ยวเนื่อง.
ความจริง คำว่า ภาวะ
ในที่นี้โดยจุดประสงค์แล้วได้แก่ ศัพท์ว่า ภาวะ ที่แปลว่า สภาพหรือความมี
และคำนามที่สำเร็จมาจากการประกอบคำนามหรือคำกริยา (ธาตุ) กับปัจจัยเพื่อแสดงสภาพ หรืออาการ
ของคำนามและกริยานั้น ๆ .
แต่เมื่อกล่าวโดยใจความโดยทั่วไปของคำนามที่มีชื่อว่า ภาวะ ในที่นี้แล้ว
ก็คงได้แก่ อาการที่เป็นไปและสภาพของคำนามด้วยกันทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะสำเร็จรูปโดยประการอย่างไรก็ตาม. ส่วนคำว่า สัมพันธะ
ก็มีความเป็นไปโดยนัยที่กล่าวมาแล้วข้างต้น.
ดังนั้น ภาวสัมพันธะ
จึงเป็นบทที่แสดงความเกี่ยวเนื่องโดยเป็นเจ้าของแห่งอาการเป็นไปและสภาพอย่างนั้น
ก็ประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติและมีความหมายเหมือนกับสามีสัมพันธะเหมือนกัน
จะต่างกันเพียงว่า บทที่เป็นภาวสัมพันธะ นี้ใช้ขยายบทนามที่สำเร็จมาจากกริยาบทเท่านั้น
ไม่ใช้ขยายบทนามที่เป็นนามนาม เหมือนกับสามีสัมพันธะ. เช่น การกระทำแห่งบุรุษ
คำว่า การกระทำ เป็นคำที่แสดงอาการที่เป็นไป คือ การกระทำและคำว่า บุรุษ
ก็เป็นเจ้าของอาการเป็นไป คือ การกระทำ. เมื่อเทียบในภาษาบาลี ก็ตรงกับคำว่า ปุริสสฺส
กิริยา (กิริยา) อ.การกระทำ (ปุริสสฺส) ของบุรุษ
คำว่า กิริยา (อ.การกระทำ)
เป็นบทนามที่สำเร็จมาจากกริยาบทที่แสดงกิริยาอาการ คือ การกระทำ
ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ. คำว่า (ปุริสสฺส)
ของบุรุษ ประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของกิริยาอาการ คือ
การกระทำ (กิริยา). ความหมายและวิธีสร้างรูปของนามบทเช่นนี้
จะกระจ่างเมื่อได้ศึกษาถึงการสร้างรูปคำใหม่ขึ้นใช้ ข้างหน้า.
ใช้ฉัฏฐีวิภัตติเพื่อเป็นสัมพันธบท
เมื่อต้องการให้คำนามเดิมมีความเกี่ยวเนื่องกับบทที่มีความเป็นเจ้าของของตนเป็นต้น
(หรือที่เรียกโดยคำศัพท์ว่า “อรรถสามีสัมพันธะเป็นต้น “) ให้ลง ส หรือ นํ
ฉัฏฐีวิภัตติ ท้ายคำนามนั้น บทนั้น
ก็จะมีความหมายเป็นบทที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเจ้าของ มีคำแปลว่า แห่ง ....หรือ ของ ......
(ถ้าเป็น นํ ฝ่ายพหุวจนะ ให้เพิ่มคำว่า ทั้งหลาย ใช้ตัวย่อว่า ท.) ส่วนแนวทางการสำเร็จรูปให้ดูในตารางที่ว่าด้วยบทประธาน.
พึงประกอบรูปตามอุทาหรณ์ดังต่อไปนี้
โลกสฺส
|
แห่งโลก
|
กามานํ
|
ของกาม
ท.
|
ธมฺมสฺส
|
แห่งธรรม
|
โฆสานํ
|
ของเสียง ท.
|
อสนสฺส
|
แห่งต้นประดู่
|
คามสฺส
|
ของบ้าน
|
กามสฺส
|
แห่งกาม
|
ปฏิฆสฺส
|
ของความโกรธ
|
อมฺพานํ
|
แห่งต้นมะม่วง ท.
|
อาโลกสฺส
|
ของแสงสว่าง
|
ถมฺภสฺส
|
แห่งเสา
|
สํฆานํ
|
ของพระสงฆ์ ท.
|
วิธีการเรียงและแปลสัมพันธบทกับบทประธาน
สำหรับวิธีการเรียงบทที่ประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตตินั้น อันเป็นบทขยายประธาน
ให้ยึดหลักของการวางบทขยายประธานที่ว่า
ให้เรียงบทที่ขยายประธานไว้ข้างหน้าบทประธาน แต่เวลาแปลเป็นภาษาไทยให้แปลบทประธานซึ่งอยู่ข้างหลังเสียก่อนแล้ว
จึงให้แปลบทฉัฏฐีวิภัตติ เป็นลำดับไป. พึงสังเกตตามอุทาหรณ์ดังตารางต่อไปนี้
สามีสัมพันธะ
|
|||||
สัมพันธบท
|
ประธาน
|
นำประกอบ
|
|||
โลกสฺส
|
แห่งโลก
|
นายโก
|
อ.
ผู้นำ
|
โลกสฺส นายโก
|
อ. ผู้นำ แห่งโลก
|
ธมฺมสฺส
|
แห่งธรรม
|
ปโท
|
อ.
บท
|
ธมฺมสฺส ปโท
|
อ. บท แห่งธรรม
|
อสนสฺส
|
แห่งต้นประดู่
|
ปตฺโต
|
อ.
ใบ
|
อสนสฺส ปตฺโต
|
อ. ใบ แห่งต้นประดู่
|
กามสฺส
|
แห่งกาม
|
อาทีนโว
|
อ.
โทษ
|
กามสฺส อาทีนโว
|
อ.โทษ แห่งกาม
|
อมฺพสฺส
|
แห่งต้นมะม่วง
|
มูโล
|
อ.ราก
|
อมฺพสฺส มูโล
|
อ.รากแห่งต้นมะม่วง
|
ถมฺภสฺส
|
แห่งเสา
|
สาโร
|
อ.แก่น
|
ถมฺภสฺส สาโร
|
อ.แก่น แห่งเสา
|
สมูหสัมพันธะ
|
|||||
คามานํ
|
ของบ้าน
ท.
|
คโณ
|
อ.หมู่
|
คามสฺส คโณ
|
อ.หมู่ ของหมู่บ้าน ท.
|
โสณานํ
|
ของสุนัข
ท.
|
ยูโถ
|
อ.
ฝูง
|
โสณานํ ยูโถ
|
อ.ฝูง ของสุนัข ท.
|
สํฆานํ
|
ของสงฆ์
ท.
|
นิกาโย
|
อ.
นิกาย
|
สํฆสฺส นิกาโย
|
อ.นิกายของสงฆ์ ท.
|
ภาวสัมพันธะ
|
|||||
โภคานํ
|
ของโภคะ
ท.
|
ภาโว
|
อ.
ความมี
|
โภคานํ ภาโว
|
อ. ความมี ของโภคะ ท.
|
โกธสฺส
|
ของความโกรธ
|
ขโย
|
อ.
ความสิ้น
|
โกธสฺส ขโย
|
อ. ความสิ้น
ของความโกรธ
|
หมายเหตุ ยังมีความหมายอีกอย่างหนึ่งของฉัฏฐีวิภัตติ
ที่แปลว่า เมื่อ .... จัดเป็นบทประธานของประโยคย่อย ๆ
ที่แทรกอยู่ในระหว่างของประโยคอีก ซึ่งมีชื่อว่า อนาทรกริยา
จะขอเว้นไว้ไม่กล่าวในที่นี้ เพราะอยู่ในภาคกริยา จะกล่าวในที่นั้นเสียทีเดียว.
ข้อควรกำหนดในตอนนี้
๑) นามบทที่มีฉัฏฐวิภัตติ คือ บทที่มีประกอบด้วย ส และ นํ
วิภัตติ ที่แปลว่า แห่ง ... หรือ ของ ... เรียกว่า สัมพันธบท
เพราะมีความเกี่ยวเนื่องอยู่กับสิ่งอื่น
๒) สัมพันธบท คือ บทที่ประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ มี ๒ อย่าง คือ
๑) สามีสัมพันธะ เนื่องด้วยเป็นเจ้าของทรัพย์
๒) สมูหสัมพันธะ เนื่องเป็นองค์ประกอบของหมู่
๓) ภาวสัมพันธะ
เนื่องด้วยเป็นเจ้าของกิริยาอาการและสภาพ
๓) เวลาเรียงสัมพันธบท ให้เรียงไว้หน้าบทประธาน เช่นเดียวกับวิเสสนบท
แต่เวลาแปล ให้แปลบทประธานที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติก่อน.
****
๑ คำว่า สัมพันธบท
ที่ได้ยกขึ้นเป็นหัวข้อนี้ เป็นการกล่าวโดยภาพรวมของฉัฏฐีวิภัตติ ที่สื่อความหมายดังที่จะแสดงนี้
แม้ในอาธารบทที่จะกล่าวต่อไป ก็เช่นกัน.
๒ การแบ่งโดยลักษณะนี้
แบ่งโดยการใช้โดยส่วนมากซึ่งอยู่ในตำราที่ใช้ศึกษากันในวงการศึกษาพระปริยัตติธรรมของประเทศไทย
เพราะยังพบความเกี่ยวเนื่องโดยลักษณะอย่างอื่นอีกที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไวยากรณ์หลักๆ
ซึ่งยกตัวอย่างในภาษาไทยซึ่งพอเทียบได้ในภาษาบาลี เช่น สมีปสัมพันธะ
เนื่องโดยเป็นสิ่งที่ใกล้ เช่น ที่ใกล้แห่งสวนมะม่วง. วิการสัมพันธะ
เนื่องโดยเป็นสิ่งที่เปลี่ยนมาจากสิ่งเดิม เช่น กาแฟผงแห่งเมล็ดกาแฟ
ดังนี้เป็นต้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น