วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๕๐ อูการันต์ปุงลิงค์

อู การันต์ ในปุงลิงค์ แจกแบบ วิญฺญู (ผู้รู้แจ้ง) ดังนี้

วิภัตติ
เอกวจนะ
พหุวจนะ
ปฐมา
วิญฺญู
วิญฺญุโน  วิญฺญู
ทุติยา
วิญฺญุ
วิญฺญุโน  วิญฺญู
ตติยา
วิญฺญุนา
วิญฺญูหิ  วิญฺญูภิ
จตุตถี
วิญฺญุสฺส  วิญฺญุโน
วิญฺญูนํ
ปญฺจมี
วิญฺญุนา วิญฺญุสฺมา วิญฺญุมฺหา
วิญฺญูหิ  วิญฺญูภิ
ฉฏฐี
วิญฺญุสฺส  วิญฺญุโน
วิญฺญูนํ
สตฺตมี
วิญฺญุสฺมึ  วิญฺญุมฺหิ
วิญฺญูสุ
อาลปนะ
วิญฺญุ
วิญฺญุโน  วิญฺญู

v

๔๙. อุ การันต์ ในปุงลิงค์

อุ การันต์ ในปุงลิงค์
         อุ การันต์ ในปุงลิงค์ แจกแบบ ภิกฺขุ (พระภิกษุ, ผู้ขอ, ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ) ดังนี้

๔๘. คำนามที่เป็น อิ การันต์ปุงลิงค์ เป็นต้น

คำนามที่เป็น อิ การันต์ปุงลิงค์ เป็นต้น
         ก่อนศึกษาเรื่องความหมายของวิภัตตินามที่เหลือมีตติยาวิภัตติเป็นต้น ที่เป็นบทขยายกริยาต่อไปนั้น จะขอกล่าวคำนามที่เป็นการันต์ที่เหลือมี อิ การันต์เป็นต้นในลิงค์ทั้ง ๓ เสียให้หมด เพื่อเป็นการสร้างความรอบรู้ในคำนามเพิ่มขึ้น.
         ดังได้กล่าวมาแล้วว่า คำนามทั้งหมดที่แบ่งเป็น ๓ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์ แบบชาย อิตถีลิงค์ แบบหญิง นปุงสกลิงค์ แบบที่ไม่ใช่ทั้งชายและหญิง คือ กลางๆ . และในลิงค์ทั้ง ๓ ก็แบ่งตามการันต์ คือ เสียงสระท้ายคำ ออกเป็นประเภทต่าง ๆ อีกมี อ การันต์เป็นต้น ซึ่งในบทก่อน เราได้ศึกษาเฉพาะ อ การันต์ ปุงลิงค์มาแล้ว.  ในบทนี้จะได้ทำความรู้จักกับการันต์ที่เหลือในลิงค์ทั้ง ๓ อีกเป็นลำดับไป. หากกำหนดหลักการแปลงรูปกับวิภัตติต่าง ๆ มี สิ เป็นต้นใน อ การันต์นั้นได้แล้ว แม้ที่เหลือก็เป็นอันง่าย เพราะมีหลักการเดียวกัน จะต่างกันเป็นบางวิภัตติเท่านั้น.

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๔๗ แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล

ชื่อหนังสือ
ผู้แต่ง/ผู้แปล/ผู้รวบรวม
อภิธานัปปทีปิกา แปล
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ
อภิธานวัณณนา
พระมหาสมปอง มุทุโต
อภิธานนัปปทีปิกาสูจิ
พระสุภูติเถระ
กัจจายนขั้นพื้นฐาน
พระชนกาภิวังสะ แต่ง, วิชานนท์ ส่าน้อย และ พระมหาประวัติ ธมฺมรกฺขิโต แปล
คู่มือเรียนภาษาบาลีด้วยตนเอง
ประดิษฐ์ บุณยภักดี
ปทรูปสิทธิบาลี
พระพุทธัปปิยะเถระ
ปทรูปสิทธิแปลและอธิบาย
พระมหาคุณารักษ์ อภิวฑฺฒโน  และคณะ
ปทรูปสิทธิมัญชรี
พระคันธสาราภิวังสะ
ปทวิจารทีปนีแปล
พระมหานิมิต ธมฺมสาโร
กัจจายนสารมัญชรี
พระคันธสาราภิวังสะ
ปทานุกรมพระไตรปิฎกบาลี -ไทย
กองการจัดแปล ปทานุกรมพระไตรปิฎก ฉบับบาลี ไทย
พจนานุกรมบาลีไทย ฉบับนักศึกษา
พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) รศ. ดร. จำลอง สารพัดนึก
บาลีไวยากรณ์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
อธิบายบาลีไวยากรณ์
คณะกรรมการแผนกตำรา
บาลีไวยากรณ์เบื้องต้น สำหรับนักศึกษาใหม่
พระมหาสมปอง มุทิโต
แบบเรียนบาลีไวยากรณ์สมบูรณ์แบบ
เวทย์ วรัญญู
วากยสัมพันธ์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
อธิบายวากยสัมพันธ์
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (ครั้งดำรงตำแหน่งพระโศภณคณาภรณ์)
ไวยากรณ์บาลี
รศ. ดร. สุภาพรรณ ณ บางช้าง
สัททนีติ แปล
พระมหานิมิต ธมฺมสาโร และ จำรูญ ธรรมดา
ธาตุปปทีปิกา
ทวี ธรมธัช.
อุภยพากย์ปริวรรค
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
คู่มือการแต่งไทยเป็นมคธ
พระธรรมกิตติวงษ์ วัดราชโอรสาราม
แนะแนวการแต่งไทยเป็นมคธ
คณะกรรมการแผนกตำรา
แนะแนวการศึกษาบาลี
บุญสืบ อินสาร
ธัมมปทัฏฐกถา บาลี
พระพุทธโฆสเถระ
ธัมมปทัฏฐกถา แปลโดยพยัญชนะ
บุญสืบ อินสาร
คัณฐีบทพระธัมมปทัฏฐกถา
คณะกรรมการแผนกตำรา
เทคนิคการแปลธรรมบท
บุญสืบ อินสาร
หลักเกณฑ์การแปลบาลีและสัมพันธ์
เวทย์ วรัญญู


×vØ

๔๖ แบบฝึกหัดทบทวนบทลงทุติยาวิภัตติ

แบบฝึกหัดทบทวนที่ ๕

๑. จงบอกความหมายโดยสังเขปของคำศัพท์ดังต่อไปนี้
          ๑) บทขยายกริยา                    ๒) วิกติกัตตา              ๓) อวุตตกรรม
            ๔) สัมปาปุณียกรรม                ๕) อกถิตกรรม            ๖) วิกติกรรม
              ๗) กริยาวิเสสนะ              ๘) อัจจันตสังโยคะ       ๙) กรรมตรงและกรรมรอง

๔๖ ข้อสังเกตบททุติยาวิภัตติ

ข้อสังเกต
         บททุติยาวิภัตติเหล่านี้ เมื่อพบเห็นในบางประโยค ก็จะปรากฏอยู่ถึง ๒-๓ บทด้วยกัน. ปัญหาอยู่ที่ว่า บทใด ควรจะแปลว่าอย่างไร. ข้อกำหนดเหล่านี้เป็นเกณฑ์กว้าง ๆ ในการตัดสินใจได้.

๔๕ บทลงทุติยาวิภัตติ อกถิตกรรม วิกติกรรม กริยาวิเสสนะ

อกถิตกรรม (กะ, เฉพาะ)
         บททุติยาวิภัตติที่ใช้ขยายกริยาบทในฐานะเป็นที่รับพูด คือ เป็นผู้พูดด้วย ชื่อว่า อกถิตกรรม ให้แปลว่า กะ หรือ เฉพาะ เช่น
         มาณโว สุคตํ กถํ วเทติ อ. มานพ ย่อมกราบทูล ซึ่งคำพูด กะพระสุคต.