อกถิตกรรม (กะ, เฉพาะ)
บททุติยาวิภัตติที่ใช้ขยายกริยาบทในฐานะเป็นที่รับพูด คือ
เป็นผู้พูดด้วย ชื่อว่า อกถิตกรรม ให้แปลว่า กะ หรือ เฉพาะ เช่น
ในประโยคนี้ บทว่า สุคตํ ศัพท์เดิมมาจาก สุคต พระสุคต
(เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า) ลง อํ ทุติยาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น สุคตํ
ใช้ลงในความหมายว่า เป็นผู้พูดด้วย ที่ได้ชื่อว่า อกถิตกรรม ใช้ขยายบทกริยาว่า
วเทติ ย่อมกราบทูล (ย่อมกล่าว,บอก) เพื่อขยายความให้ชัดเจนขึ้นอีกขั้นหนึ่งว่า
พระสุคตเป็นผู้รับกริยาว่า พูด ของ มาณโว มาณพ ซึ่งเป็นบทประธานของกริยานี้.
และในที่นี้ บทว่า กถํ ซึ่งคำนั้น เป็นอวุตตกรรม
ในฐานะเป็นบทกรรมอันเป็นหลักของประโยคนี้. เรียกว่า กถิตกรรม
เพราะถูกกริยากล่าวโดยตรง. ดังนั้น บทว่า สุคตํ จึงเป็นอกถิตกรรม
ไม่ใช่สิ่งที่ถูกกริยาคือกล่าวถึงโดยตรง
โดยเป็นบทกรรมที่แสดงถึงผู้ที่รับการพูดอีกทีหนึ่ง จัดเป็นกรรมรอง[1] เนื่องจากกริยาว่า ขอ,
ถาม, พูดจัดเป็นกริยาพิเศษ ต้องการบทกรรม ๒ ตัวแบบนี้เสมอไป
จึงต้องมีกรรมตรงและกรรมรอง แต่มุ่งเอากรรมตรง คือ อวุตตกรรม เป็นหลักสำคัญ.
พึงกำหนดรูปแบบการเรียงและตัวอย่างดังนี้
ประธาน + อกถิตกรรม (กะ) + อวุตตกรรม (ซึ่ง) + กริยา เช่น
มาณโว สุคตํ กถํ วเทติ.
ลองประกอบอุทาหรณ์อื่น ๆ
ดังนี้
ประโยคบาลี
|
แปลเป็นไทย
|
||||||
ประธาน
|
อกถิต
|
อวุตต
|
กริยา
|
ประธาน
|
กริยา
|
อวุตต
|
อกถิต
|
ยาจโก
|
สมิทฺธํ
|
ธนํ
|
ภิกฺขติ
|
อ.ยาจก
|
ย่อมขอ
|
ซึ่งทรัพย์
|
กะคนรวย
|
พฺราหฺมโณ
|
ทายกํ
|
ภตฺตํ
|
ยาจติ
|
อ.พราหมณ์
|
ย่อมขอ
|
ซึ่งภัตต์
|
กะทายก
|
สาวโก
|
พุทฺธํ
|
ปญฺหํ
|
ปุจฺฉติ
|
อ.พระสาวก
|
ย่อมทูลถาม
|
ซึ่งปัญหา
|
กะพระพุทธเจ้า
|
อมจฺโจ
|
ราชานํ
|
อตฺถํ
|
พฺรูหติ
|
อ.อำมาตย์
|
ย่อมทูล
|
ซึ่งเนื้อความ
|
กะพระราชา
|
อชปาโล
|
อชํ
|
ขีรํ
|
ทุหติ
|
อ.อชบาล
|
ย่อมรีด
|
ซึ่งนม
|
กะแพะ
|
×vØ
วิกติกรรม (ให้เป็น)
บทนามที่ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ ที่เป็นบทขยายกริยา
ในฐานะที่เป็นบทกรรม โดยตนเป็นผลที่เปลี่ยนแปลงมาจากบทกรรมปกติ อีกทอดหนึ่ง
บทกรรมชนิดนี้ เรียกว่า วิกติกรรม กรรมที่เป็นวิกติ คือ
ถูกเปลี่ยนแปลงมาจากปกติกรรม คือ กรรมที่ทำไว้ก่อน. เช่น สุวณฺณกาโร สุวณฺณํ
เกยูรํ กโรติ อ.นายช่างทอง ย่อมกระทำ ซึ่งทองคำ ให้เป็นกำไล.
ในประโยคนี้ บทว่า เกยูรํ ให้เป็นกำไลแขน ศัพท์เดิมมาจาก เกยูร
กำไลแขน ลง อํ ทุติยาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น เกยูรํ มีความหมายว่า
เป็นสิ่งที่ถูกเปลี่ยนแปลงมาจาก สุวณฺณํ ซึ่งทองคำ ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ
ที่ใช้เป็นบทกรรมเช่นกัน แต่เป็นปกติกรรม เพราะถูกบทกริยาว่า กโรติ ย่อมกระทำ
มุ่งถึงโดยตรง ส่วนบทวิกติกรรมนี้ ใช้ขยายกริยาให้เด่นชัดขึ้น เกี่ยวกับว่า
เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมาจากการกระทำ.
ข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง ในประโยคที่มีวิกติกรรมอยู่
จะต้องมีบทอวุตตกรรมร่วมอยู่ด้วยทุกครั้ง เพราะวิกติกรรมต้องแปลงมาจากอวุตตกรรมนั่นเอง
ดังนั้น จะทราบได้ว่า บทใดเป็นวิกติกรรม ให้ยึดหลักการเรียงไว้อย่างนี้คือ
อวุตตกรรมอยู่หน้า วิกติกรรมอยู่หลัง ดังรูปแบบการเรียงและอุทาหรณ์นี้
บทประธาน + อวุตตกรรม (ซึ่ง) + วิกติกรรม (ให้เป็น) + กริยา
เช่น สุวณฺณกาโร สุวณฺณํ เกยูรํ กโรติ
ส่วนเวลาแปล ให้แปล อวุตตกรรมก่อนแล้วแปลวิกติกรรมทีหลัง
ส่วนบทประธานและบทกริยา ให้แปลไปตามลำดับปกติ ดังนี้
สุวณฺณกาโร อ.นายช่างทอง กโรติ ย่อมกระทำ สุวณฺณํ ซึ่งทองคำ
เกยูรํ ให้เป็นกำไลแขน.
ลองประกอบอุทาหรณ์อื่น ๆ
ดังนี้
ประโยคบาลี
|
แปลเป็นไทย
|
||||||
ประธาน
|
อวุตต
|
วิกติ
|
กริยา
|
ประธาน
|
กริยา
|
อวุตต
|
วิกติ
|
ปณฺฑิโต
|
ธนํ
|
ปุญฺญํ
|
กโรติ
|
อ.บัณฑิต
|
ย่อมกระทำ
|
ซึ่งทรัพย์
|
ให้เป็นบุญ
|
กสฺสโก
|
กฏฺฐํ
|
องฺคารํ
|
กโรติ
|
อ.ชาวนา
|
ย่อมกระทำ
|
ซึ่งฟืน
|
ให้เป็นถ่าน
|
คหปติ
|
ทาสํ
|
อิสฺสรํ
|
กโรติ
|
อ.คฤหบดี
|
ย่อมกระทำ
|
ซึ่งทาส
|
ให้เป็นอิสระ
|
ญาตโก
|
เขตฺตํ
|
ติโกฏฺฐาเส
|
กโรติ
|
อ.ญาติ
|
ย่อมกระทำ
|
ซึ่งนา
|
ให้เป็นส่วน๓
|
****
กริยาวิเสสนะ (ไม่ออกสำเนียงใด ๆ
)
บทนามที่ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ แล้วใช้เป็นบทขยายกริยา
ชิ่อว่า กริยาวิเสสนะ เพราะเป็นบทที่ขยายกริยาโดยตรงที่สุด
โดยมีลักษณะการใช้เหมือนกับคุณนามที่ผ่านมานั่นเอง คือ
ทำให้บทกริยามีความพิเศษขึ้น.
บทกริยาวิเสสนะนี้ จะไม่ออกสำเนียงอายตนิบาตใด ๆ เหมือนบทวิเสสนะ
อีกทั้งไม่ต้องเติมคำใด ๆ เข้าข้างหน้า ออกแต่สำเนียงของศัพท์เดิมเท่านั้น เช่น
ทารโก สุขํ เสติ อ.เด็ก ย่อมนอน สบาย
ในประโยคนี้ บทว่า สุขํ สบาย ศัพท์เดิมมาจาก สุข สบาย
นับเป็นคุณนาม ลง อํทุติยาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น สุขํ
สบาย ไม่ต้องออกสำเนียงอายตนิบาตใดๆ ใช้เป็นบทขยายกริยาคือ เสติ ย่อมนอน
ให้พิเศษขึ้นว่า สบาย. ที่ว่าเป็นคุณนามนั้น
ในที่นี้ใช้เป็นบทคุณนามสำหรับขยายกริยา มิได้ขยายบทนามอย่างทั่วไป.
พึงกำหนดวิธีการเรียงและอุทาหรณ์ดังนี้
บทประธาน + กริยาวิเสสนะ + บทกริยา. เช่น ทารโก สุขํ เสติ
ลองประกอบอุทาหรณ์อื่น ๆ
ดังนี้
ประโยคบาลี
|
แปลเป็นไทย
|
||||
ประธาน
|
วิเสสนะ
|
กริยา
|
ประธาน
|
วิเสสนะ
|
กริยา
|
วราโห
|
ทนฺธํ
|
คจฺฉติ
|
อ.สุกร
|
ย่อมไป
|
ช้า
|
สูโท
|
มุทุ
|
ปจติ
|
อ.พ่อครัว
|
ย่อมหุง
|
นุ่ม
|
สิสฺโส
|
ทุกขํ
|
สิกฺขติ
|
อ.ศิษย์
|
ย่อมเรียน
|
ลำบาก
|
อาจริโย
|
สาธุ
|
โอวทติ
|
อ.อาจารย์
|
ย่อมโอวาท
|
ดี
|
สาวโก
|
สุขํ
|
ติฏฺฐติ
|
อ.พระสาวก
|
ย่อมยืน
|
สบาย
|
*******
หมายเหตุ กริยาวิเสสนะ
โดยเฉพาะที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถา ฎีกาเป็นต้น ท่านนิยมใช้คำว่า ภาวนปุงสกะ แปลว่า
ศัพท์ที่เป็นนปุงสกลิงค์ซึ่งมีความหมายว่า ขยายกริยา. ท่านให้คำอธิบายไว้ว่า คำว่า
นปุงสกลิงค์ เพราะศัพท์ที่มีลิงค์ไม่ปรากฏชัดเจนอย่างกริยาวิเสสนะนี้
จัดว่าเป็นลิงค์ทั่วไป เนื่องด้วยเป็นศัพท์ที่มีลิงค์ไม่ปรากฏชัด
มักใช้เป็นนปุงสกลิงค์. คำว่า ภาวะ
ในที่นี้ ได้แก่ ความเป็น ได้แก่ กริยาอาการนั่นเอง. ดังนั้น คำว่า ภาวนปุงสกะ
จึงแปลว่า ศัพท์นปุงสกลิงค์ที่ส่องคือ ขยายกริยา.
[1] การที่จะเรียกกรรมชนิดนี้ว่า
อกถิตกรรม นั้นต้องเทียบกับกรรมชนิดที่ว่า กถิตกรรม เพราะ กถิตกรรม ได้แก่
กรรมที่เป็นหลักเป็นประธาน กล่าวคือ เป็นกรรมที่ถูกกริยากล่าวโดยตรง ได้แก่
นิพพัตตนียกรรม ที่เป็น ๑ ในอวุตตกรรม ๓ ประเภท ส่วนกรรมที่รองลงมาเรียกว่า
อกถิตกรรม ได้แก่ กรรมที่ไม่ได้ถูกกริยากล่าว โดยตรง กรรมชนิดนี้ ที่มีคำแปลว่า
กะ, ยัง, หรือ สู่ นั่นเอง เพราะฉะนั้น คำว่า อกถิตกรรม จึงเป็นกรรมรอง
มิได้หมายความว่า เป็นสิ่งที่ผู้พูดกล่าวด้วย ดังที่ปรากฏนี้
แต่ที่นำมาแสดงไว้เช่นนี้ เพราะคล้อยตามมติที่มาในหนังสือบาลีไวยากรณ์
ซึ่งใช้เรียนเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น