คำนามที่เป็น อิ การันต์ปุงลิงค์ เป็นต้น
ก่อนศึกษาเรื่องความหมายของวิภัตตินามที่เหลือมีตติยาวิภัตติเป็นต้น
ที่เป็นบทขยายกริยาต่อไปนั้น จะขอกล่าวคำนามที่เป็นการันต์ที่เหลือมี อิ
การันต์เป็นต้นในลิงค์ทั้ง ๓ เสียให้หมด เพื่อเป็นการสร้างความรอบรู้ในคำนามเพิ่มขึ้น.
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า คำนามทั้งหมดที่แบ่งเป็น ๓ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์
แบบชาย อิตถีลิงค์ แบบหญิง
นปุงสกลิงค์ แบบที่ไม่ใช่ทั้งชายและหญิง คือ กลางๆ . และในลิงค์ทั้ง ๓ ก็แบ่งตามการันต์
คือ เสียงสระท้ายคำ ออกเป็นประเภทต่าง ๆ อีกมี อ การันต์เป็นต้น ซึ่งในบทก่อน
เราได้ศึกษาเฉพาะ อ การันต์ ปุงลิงค์มาแล้ว.
ในบทนี้จะได้ทำความรู้จักกับการันต์ที่เหลือในลิงค์ทั้ง ๓ อีกเป็นลำดับไป.
หากกำหนดหลักการแปลงรูปกับวิภัตติต่าง ๆ มี สิ เป็นต้นใน อ การันต์นั้นได้แล้ว
แม้ที่เหลือก็เป็นอันง่าย เพราะมีหลักการเดียวกัน จะต่างกันเป็นบางวิภัตติเท่านั้น.
อิการันต์ ในปุงลิงค์ มีนัยการแจกวิภัตติเหมือน
อคฺคิ ไฟ
แสดง
อคฺคิ ศัพท์ที่ประกอบวิภัตติทั้ง ๗
|
||
วิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมา
|
อคฺคิ
|
อคฺคโย อคฺคี
|
ทุติยา
|
อคฺคึ
|
อคฺคี อคฺคโย
|
ตติยา
|
อคฺคินา
|
อคฺคีหิ อคฺคีภิ
|
จตุตถี
|
อคฺคิโน อคฺคิสฺส
|
อคฺคีนํ
|
ปญจมี
|
อคฺคิมฺหา อคฺคิสฺมา
|
อคฺคีหิ อคฺคีภิ
|
ฉฏฐี
|
อคฺคิโน อคฺคิสฺส
|
อคฺคีนํ
|
สตฺตมี
|
อคฺคิมฺหิ อคฺคิสฺส
|
อคฺคีสุ
|
อาลปนะ
|
อคฺคิ
|
อคฺคโย อคฺคี
|
พึงทราบว่า ทุกวิภัตติ ใน อิ การันต์นี้
ก็มีคำแปลเหมือนกับทุกวิภัตติใน อ การันต์ ทุกประการ ไม่ต่างกันเลย
แม้ว่าจะมีรูปต่างกันก็ตาม. แม้ในการันต์และลิงค์อื่น ๆ ก็มีนัยเช่นนี้
แนวทางการสำเร็จรูป อคฺคิ ศัพท์ อิ การันต์
โดยย่อ
วิภัตติ
|
ลำดับ
|
เอกวจนะ
|
วิภัตติ
|
ลำดับ
|
พหุวจนะ
|
||
คำสั่ง
|
รูปสำร็จ
|
คำสั่ง
|
รูปสำเร็จ
|
||||
สิ
|
ปฐมา
|
ลบ สิ
|
อคฺคิ
|
โย
|
ปฐมา
|
อิ เป็น อ, คง โย
|
อคฺคโย
|
ลบโย ทีฆะ อิ เป็น อี
|
อคฺคี
|
||||||
อํ
|
ทุติยา
|
อํ เป็น นิคคหิต
|
อคฺคึ
|
โย
|
ทุติยา
|
อิ เป็น อ, คง โย
|
อคฺคโย
|
ทีฆะ อิ เป็น อี ลบโย
|
อคฺคี
|
||||||
นา
|
ตติยา
|
-
|
อคฺคินา
|
หิ
|
ตติยา
|
ทีฆะ อิ เป็น อี
|
อคฺคีหิ
|
เอา หิเป็นภิ ทีฆ อิ เป็น อี
|
อคฺคีภิ
|
||||||
ส
|
จตุตถี
|
ลง ส อาคม
|
อคฺคิสฺส
|
นํ
|
จตุตถี
|
ทีฆะอิ เป็นอี คงนํไว้
|
อคฺคีนํ
|
เอา ส เป็นโน
|
อคฺคิโน
|
||||||
สฺมา
|
ปัญจมี
|
-
|
อคฺคิสฺมา
|
หิ
|
ปัญจมี
|
ทีฆะ อิ เป็น อี
|
อคฺคีหิ
|
สฺมา เป็นมฺหา
|
อคฺคิมฺหา
|
ทีฆ อิ เป็น อี เอา หิเป็นภิ
|
อคฺคีภิ
|
||||
ส
|
ฉัฏฐี
|
ลง ส อาคม
|
อคฺคิสฺส
|
นํ
|
ฉัฏฐี
|
ทีฆะอิ เป็นอี คงนํ ไว้
|
อคฺคีนํ
|
เอา ส เป็นโน
|
อคฺคิโน
|
||||||
สฺมึ
|
สัตตมี
|
-
|
อคฺคิสฺมึ
|
สุ
|
สัตตมี
|
ทีฆะ อิ เป็น อี คง สุ ไว้
|
อคฺคีสุ
|
เอา สฺมึ เป็น มฺหิ
|
อคฺคิมฺหิ
|
||||||
สิ
|
อาลปน
|
ลบ สิ
|
อคฺคิ
|
โย
|
อาลปน
|
อิ เป็น อ, คง โย
|
อคฺคโย
|
ทีฆะ อิ เป็น อี ลบโย
|
อคฺคี
|
*********
ศัพท์เหล่านี้เป็น อิ การันต์ปุงลิงค์ แจกเหมือน
อคฺคิ เช่นกัน
มุนิ
|
พระผู้รู้
|
กิมิ
|
หนอน
|
ปาณิ
|
ฝ่ามือ
|
อธิปติ
|
ผู้เป็นใหญ่
|
กุจฺฉิ
|
ท้อง
|
พฺยาธิ
|
โรค
|
อริ
|
ข้าศึก
|
คัณฺฐิ
|
ศัพท์ยาก
|
พลิ
|
พลีกรรม
|
อหิ
|
งู
|
คหปติ
|
คนรวย
|
โพธิ
|
ต้นโพธิ์
|
อิสิ
|
ฤาษี
|
โชติ
|
ไฟ
|
มณิ
|
แก้วมณี
|
อุทธิ
|
ทะเล
|
ฐปติ
|
ช่างไม้
|
มสิ
|
น้ำหมึก
|
กปิ
|
ลิง
|
ทีปิ
|
เสือดาว
|
มุฏฺฐิ
|
กำมือ
|
กวิ
|
ผู้ประพันธ์
|
ปติ
|
เจ้า, ผัว
|
ยติ
|
นักบวช
|
รวิ
|
พระอาทิตย์
|
ราสิ
|
กอง
|
วตฺถิ
|
กระเพาะ
|
วิธิ
|
วิธี
|
วีหิ
|
ข้าวเปลือก
|
สนฺธิ
|
การต่อ
|
สมาธิ
|
สมาธิ
|
สาลิ
|
ข้าวเปลือก
|
นิธิ
|
ขุมทรัพย์
|
อติถิ
|
ผู้มาเยือน
|
เสนาปติ
|
เสนาบดี
|
คิริ
|
ภูเขา
|
********
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น