วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๔๒ บทขยายกริยาที่เป็นนามบทประกอบด้วยวิภัตติต่างๆ

๑. นามบทที่ประกอบด้วยวิภัตติต่าง ๆ  
         ได้แก่ นามบทที่ประกอบด้วยวิภัตติอื่นมีทุติยาวิภัตติเป็นต้น มีสัตตมีวิภัตติเป็นที่สุดที่มีความเกี่ยวข้องกับกริยา เว้นปฐมาวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติทั้งหมด และสัตตมีวิภัตติบางอย่างที่เป็นบทขยายประธาน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนว่าด้วยบทประธาน.

๑ บทนามที่ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ
         บทนามที่ประกอบด้วย อํ และ โย ทุติยาวิภัตติ ที่มีสำเนียงอายตนิบาตว่า ที่ปรากฏในแบบเรียนว่า ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น.  และที่ปรากฏอยู่นอกแบบเรียนอีกว่า กะ,เฉพาะ, ให้เป็น, ว่าเป็น. รวมไปถึงที่ไม่ต้องออกสำเนียงอายตนิบาตให้แปลเพียงศัพท์เดิมด้วย ใช้เป็นบทขยายกริยาอย่างเดียว มีชื่อเรียกโดยเฉพาะและความหมายโดยสังเขปดังตารางนี้

ชื่อเรียก
คำแปล
ความหมายโดยสังเขป
หมายเหตุ
อวุตตกรรม
ซึ่ง
เป็นที่ทำ
จัดเป็นบทที่ขยายกริยาประเภทนี้โดยตรง และขยายกริยาได้อย่างเดียว
สัมปาปุณียกรรม
สู่
เป็นที่ไปถึง
การิตกรรม
ยัง
เป็นที่ใช้ให้ทำ
อกถิตกรรม
กะ, เฉพาะ
เป็นที่รับพูด
วิกติกรรม
ให้เป็น
เป็นบทกรรมที่ถูกเปลี่ยนจากบทกรรมเดิม
 ๒ ประเภทนี้ ไม่เข้าเกณฑ์ของบทที่ขยายกริยาประเภทนี้
กริยาวิเสสนะ
-
เป็นคุณบทแห่งกริยา
อัจจันตสังโยคะ
สิ้น, ตลอด
เป็นที่ลุล่วง
ขยายได้ทั้งนามและกริยา

         จะได้กล่าวบททุติยาวิภัตติทั้งหมดเหล่านี้ไปตามลำดับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น