ข้อกำหนดในกริยาอาขยาตทั้งหมด
ดังนี้
๑) อาขยาต ได้แก่ ศัพท์ที่กล่าวถึงกริยา คือ
อาการหรือการกระทำของคำนาม
๒) คำว่า กริยา ในที่นี้ได้แก่ ศัพท์ที่เรียกว่า ธาตุ
ที่ยังไม่ได้ประกอบกับวิภัตติและปัจจัย. ซึ่งตรงกับ ลิงค์ หรือ ศัพท์เดิม ของนามบท
ที่ยังไม่ได้ประกอบกับวิภัตติ
๓) กริยาบททั้งปวงล้วนประกอบขึ้นจากธาตุ ต้องมีธาตุเป็นที่ตั้ง
แม้คำนาม หากจะสืบค้นจริง ๆ ก็ล้วนสำเร็จมาแต่ธาตุเช่นกัน
๔) องค์ประกอบของกริยาอาขยาตบท เมื่อกล่าวโดยพิสดารมี ๘ คือ
ธาตุ วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ปัจจัย วาจก แต่เมื่อกล่าวโดยสรุป แล้วมี ๓
เท่านั้น คือ ธาตุ วิภัตติ และปัจจัย
เพราะวิภัตติเป็นเครื่องจำแนกธาตุเหล่านั้นให้เป็นกาล บท วจนะ บุรุษ, ส่วน ปัจจัย เป็นเครื่องกำหนดวาจกอีกทีหนึ่ง จึงย่อได้เป็น
๓ ประการ
๕) ธาตุ แบ่งเป็นหมวดใหญ่ ๆ โดยอาศัยปัจจัยที่แบ่ง เป็น ๘ หมวด
แต่เมื่อว่าโดยลักษณะของบทกรรมมารับมี ๒ อย่าง คือ สกัมมธาตุและอกัมมธาตุ.
และเมื่อว่าโดยเสียงมี ๒ อย่าง คือ ที่มีเสียงเดียวและมีหลายเสียง
๖) วิภัตติ แบ่งโดยกาล ๓ คือ อดีต ปัจจุบันและอนาคตรวมไปถึงที่พ้นจากกาลด้วย
มี ๘ หมวด ๆ ๑๒ ตัวรวมเป็น ๙๖ ตัว.
๗) ในแต่ละหมวดที่มี ๑๒ ตัวนั้น แบ่งเป็น ๒ บท ๆ ละ ๖ ตัว.
ในแต่ละ ๖ นั้น แบ่งเป็นฝ่ายเอกวจนะ ๓ และ พหุวจนะ ๓. และแบ่งโดยบุรุษทั้ง ๓
มีบุรุษละ ๔ ตัว คือ บทละ ๖ ละ ๒ วจนะ.
๘) ปัจจัยเป็นเครื่องจำแนกวาจกออกเป็น ๕ วาจก
โดยกัตตุวาจกเป็นต้น.
****
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น