๑๐ วิธีประกอบประโยค
เมื่อนำองค์ประกอบทั้งหมดดังที่กล่าวมานั้น
มาปรุงรวมเข้าแล้วย่อมเป็นกริยาอาขยาตบท โดยแบ่งออกตามลักษณะที่คุมส่วนประกอบต่าง
ๆ เข้าเป็นประโยค ดังนี้
๑. วาจกต่าง ๆ มีกัตตุวาจกเป็นต้น
๒. ประโยคในกาลทั้งสามมีปัจจุบันกาลเป็นต้น
๓. บ่งถึงประธานในประโยคว่าเป็น ปฐมบุรุษ เอกวจนะ เป็นต้น.
เมื่อได้กริยาบทที่บ่งถึงลักษณะต่าง ๆ ของประโยคดังนี้แล้ว
ก็จะขาดบทประธานเสียมิได้ เพราะประโยคย่อมประกอบด้วยภาคประธาน คือ นามบท
และภาคแสดง คือ กริยาบท. ด้วยเหตุนี้
มาถึงเวลาเพื่อเรียนรู้ถึงการประกอบกันเข้าเป็นประโยคแล้ว.
ในประโยคต่าง ๆ ที่แบ่งออกโดยอาขยาตบทนั้น
จะกล่าวถึงประโยคที่เป็นกัตตุวาจก ปัจจุบันกาล ปฐมบุรุษเสียก่อน.
๑.
โครงสร้างของประโยคกัตตุวาจก ปัจจุบันกาล ปฐมบุรุษ
ประโยคโดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบและวิธีการประกอบบท
ดังนี้ คือ บทประธาน และบทกริยา โดยที่บทประธานย่อมอยู่อันดับแรก
และบทกริยาจะอยู่เป็นลำดับสุดท้ายของประโยค. ดังที่กล่าวกันว่า “ประธานอยู่หน้า
กริยาอยู่หลัง”.
สำหรับประโยคกัตตุวาจก ก็คงเป็นไปตามกฏเกณฑ์นี้ และถ้าในกรณีที่มีบทอื่นมาเกี่ยวเนื่องโดยเป็นบทขยาย
ก็จะเรียงบทนั้นไว้หน้าบทประธานและบทกริยา ดังนั้นจะสรุปเป็นแผนภาพได้ดังต่อไปนี้
บทขยายประธาน (ถ้ามี) + บทประธาน + บทขยายกริยา (ถ้ามี) + บทกริยา
เช่น มหนฺโต ปุริโส โอทนํ ปจติ
๑ ๒ ๓
๔
จะเห็นได้ว่า บทว่า ปุริโส อ.บุรุษ
จะเป็นบทประธานของประโยคนี้ เพราะเป็นคำนามที่ประกอบปฐมาวิภัตติ
เรียงไว้เป็นลำดับแรก แต่ปรากฏเป็นลำดับที่ ๒ เนื่องจากว่า มีบทขยายประธาน คือ
บทว่า มหนฺโต แปลว่า ผู้ใหญ่ ชนิดที่เป็นคุณนามวิเสสนบท
จึงประกอบด้วยลิงค์ วจนะ วิภัตติเดียวกับ ปุริโส ซึ่งเป็นบทประธาน.
ต่อมาจะพบบทกริยาว่า ปจติ ย่อมหุง
จะอยู่เป็นลำดับสุดท้ายของประโยค และในกรณีที่มีบทขยายกริยา
ก็จะวางไว้ข้างหน้าบทกริยา ในประโยคนี้มีบทว่า โอทนํ แปลว่า ซึ่งข้าวสุก
เป็นบทที่ช่วยทำให้กริยาเด่นชัดขึ้นโดยเป็นสิ่งที่ถูกกระทำแห่งกริยาว่า หุง นั่นเอง.
แต่ในเวลาที่จะแปลประโยคภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
โดยพื้นฐานแล้วให้แปลบทประธานเสียก่อน แล้วจึงแปลบทที่เนื่องด้วยประธาน
เมื่อแปลภาคประธานไปจนครบแล้ว ก็ให้แปลภาคกริยา
โดยแปลบทกริยาก่อนแล้วจึงแปลบทที่เนื่องด้วยกริยาเป็นลำดับไป.
ดังนั้นในตัวอย่างนี้จึงต้องแปลบทประธานก่อนว่า ปุริโส อ.
บุรุษ แล้วจึงแปลบทที่เนื่องด้วยประธาน ในที่นี้ได้แก่ มหนฺโต ใหญ่
โดยไม่ต้องออกคำแปลของอายตนิบาต แม้จะมีวิภัตติและวจนะเดียวกับบทประธาน
โดยให้แปลว่า ผู้ เพิ่มขึ้นมาเท่านั้น จึงได้คำแปลว่า ผู้ใหญ่.
ต่อมาให้แปลบทว่า ปจติ ย่อมหุง ซึ่งเป็นบทกริยาเป็นลำดับต่อมา.
ถ้าไม่มีบทขยายกริยา ก็เป็นจบประโยคเพียงเท่านี้ . แต่ในประโยคนี้มีบทขยายกริยา
คือ โอทนํ ซึ่งข้าวสุก จึงให้แปลบทนี้หลังจากบทกริยานั่นเอง. สรุปว่า
ให้แปลตามแผนผังดังนี้
บทประธาน + บทขยายประธาน (ถ้ามี) + บทกริยา + บทขยายกริยา
(ถ้ามี)
ดังนั้น ประโยคนี้ ได้คำแปลดังนี้คือ
มหนฺโต ปุริโส โอทนํ ปจติ
๒
๑ ๔ ๓
อ.บุรุษ ผู้ใหญ่ ย่อมหุง ซึ่งข้าวสุก.
อนึ่ง
บทประธานและบทขยายประธานประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบใดบ้างนั้น เราได้ศึกษากันมาแล้ว
แต่บทกริยาและบทขยายกริยายังไม่ได้ศึกษาการประกอบรูปขึ้น
ดังนั้นในบทนี้เราจะได้เรียนรู้ถึงการประกอบบทกริยาขึ้นใช้เป็นลำดับแรกก่อน.
ส่วนบทขยายกริยาจะได้เรียนรู้ในลำดับถัดไป.
๒. การประกอบบทกริยาเป็นกัตตุวาจก
ปัจจุบันกาล ปฐมบุรุษ
ก่อนอื่น
ควรจะทบทวนองค์ที่จะประกอบเป็นกัตตุวาจกเป็นต้นก่อน
กัตตุวาจก ได้แก่ อาขยาตที่กล่าวผู้กระทำเป็นประธาน
สิ่งที่จะสื่อถึงความเป็นกัตตุวาจกได้นั่นก็คือ ปัจจัยนั่นเอง
ปัจจุบันกาล ได้แก่ ช่วงเวลาที่กริยาบทนี้กำลังเกิดขึ้น
จะใช้วิภัตติหมวดวัตตมานา เป็นเครื่องกำหนดปัจจุบันกาล
ปฐมบุรุษ ได้แก่ ประธานที่เป็นเจ้าของกริยาอาขยาตซึ่งเป็นผู้ที่ถูกกล่าวถึง
ในที่นี้ได้แก่ คำนามทั่วไปนั่นเอง ที่ไม่ใช้ ตุมฺห (ท่าน) และ อมฺห (เรา)
จะใช้วิภัตติฝ่ายที่เป็นปฐมบุรุษ เป็นเครื่องบอก
ส่วนองค์ประกอบที่เหลือ คือ วจนะ ก็แล้วแต่ว่า
บทประธานจะเป็นฝ่ายใด คือ ถ้าเป็นเอกวจนะ ก็จะใช้วิภัตติฝ่ายเอกวจนะ เป็นต้น
บท โดยหลักไวยากรณ์แล้ว
ถ้าเป็นกัตตุวาจกให้ใช้วิภัตติฝ่ายปรัสสบท ถ้าเป็นกัมมวาจก ก็จะใช้ฝ่ายอัตตโนบท
ในที่นี้ให้ใช้ฝ่ายปรัสสบทเพื่อแสดงความเป็นกัตตุวาจก.
ธาตุ นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด
เพราะเป็นเนื้อความสำคัญของบทกริยานั่นเอง เพราะฉะนั้น
การจะประกอบบทกริยาอาขยาตนั้น ให้เริ่มนำธาตุที่มีเนื้อความตรงกับสิ่งที่จะแสดง
มาเป็นตัวตั้งก่อนแล้วให้นำองค์ประกอบที่เหลือมาประกอบเข้า.
ข้อสำคัญที่ต้องกำหนด
บทประธานและบทกริยาอาขยาตนั้น
มีความสัมพันธ์ตรงกันเสมอในเรื่องดังนี้
๑. ถ้าบทประธานเป็นเอกวจนะ บทกริยาต้องเป็นฝ่ายเอกวจนะ
และถ้าเป็นฝ่าย พหุวจนะ บทกริยาต้องเป็นฝ่ายพหุวจนะ
๒. ถ้าบทกริยาเป็นบุรุษใด บทประธานต้องเป็นบุรุษนั้น เช่น
บทกริยาเป็นปฐมบุรุษ บทประธานต้องใช้คำนามทั่วไป บทกริยาเป็นมัชฌิมบุรุษ
บทประธานต้องเป็น ตุมฺห ศัพท์ที่เป็นปฐมาวิภัตติ บทกริยาเป็นอุตตมบุรุษ
บทประธานต้องเป็น อมฺห ศัพท์ที่เป็นปฐมาวิภัตติเท่านั้น
ทั้งนี้วจนะก็ต้องสอดคล้องกันโดยนัยของข้อ ๑
กฏเกณฑ์ ๒ ข้อนี้ จงจำให้แม่นยำ ห้ามสลับกันเป็นอันขาด
จะให้อภัยมิได้เลย สำหรับข้อบกพร่องเช่นนี้ เพราะถือเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง ที่ทำให้เนื้อความในประโยคผิดไป.
ส่วนกฏเกณฑ์ข้ออื่น เช่น
การลงปัจจัยประจำวาจกก็มีความสำคัญอยู่เช่นกัน แต่ยังไม่ร้ายแรงเท่ากับที่กล่าวมา
เพราะ เมื่อมาถึงในภาษาไทยแล้ว ในแต่ละวาจก ยังสามารถใช้สลับกันได้.
แต่หากประกอบในภาษาบาลีผิด นักปราชญ์อาจแย้มสรวลได้.
เมื่อได้ทราบหลักการดังนี้แล้วให้นำองค์ประกอบทั้ง ๘ มาประกอบดังนี้
ธาตุ + ปัจจัย (ที่รวมถึงวาจกด้วย) + วิภัตติ (ที่รวมไปอีก ๔ องค์)
อุทาหรณ์
ถ้าต้องการกริยาอาขยาตที่แปลว่า ปจติ ย่อมหุง จะต้องทำตามขั้นตอนดังนี้
๑ ตั้ง ปจ ธาตุ ที่มีความหมายว่า หุง
๒. ประกอบปัจจัยที่สื่อถึงกัตตุวาจก ในที่นี้ได้แก่
วิกรณปัจจัยประจำหมวดธาตุนั่นเอง. ในที่นี้ ปจ ธาตุ อยู่ในหมวดภูวาทิคณธาตุ
ที่กำหนดให้ลง อ ปัจจัย ดังนั้น ปัจจัยที่จะต้องใช้ คือ อ ปัจจัย
๓. วิภัตติที่ประกอบต้องเป็น ติ วัตตมานาวิภัตติ
เพื่อแสดงความเป็นปัจจุบันนกาลเอกวจนะ และกัตตุวาจก
นำองค์ทั้ง ๓ เข้าประกอบ มีวิธีการดังนี้
๑. ธาตุที่มีหลายเสียง (อเนกัสสรธาตุ) ให้ลบสระท้ายธาตุไปเสีย
ดังนั้น ปจ เมื่อลบสระท้ายธาตุแล้ว ก็จะได้รูปเป็น ปจฺ (โปรดสังเกตว่า มีจุดบอดใต้
จ เพื่อแสดงความไม่มีสระ) วิธีการเช่นนี้จะเป็นหลักการแน่นอนสำหรับธาตุที่มีหลายเสียง.
๒. นำ อ ปัจจัยเข้าประกอบ ปจฺ เป็น ปจ
๓. นำ ติ วิภัตติมาประกอบ ได้เป็น ปจติ
ดังนั้น เมื่อพบเห็นบทว่า ปจติ เราจะสามารถบอกได้ว่า
มาจาก ปจ ธาตุที่มีความหมายว่า หุง, ต้ม คือ ทำให้สุก เป็นกัตตุวาจก
เพราะประกอบด้วย อ ปัจจัย และวิภัตติฝ่ายปรัสสบท
และเป็นปัจจุบันนกาล ปฐมบุรุษ เอกวจนะ เพราะประกอบด้วย ติ วัตตมานาวิภัตติ
และมีคำแปลว่า ย่อมหุง ดังนั้น บทประธานต้องเป็นคำนามที่เป็นปฐมาวิภัตติ
เอกวจนะ เช่น ปุริโส อ. บุรุษ ดังนี้.
แต่ถ้าประสงค์จะให้เป็นกริยาอาขยาตสำหรับกล่าวถึงประธานที่จำนวนหลายสิ่ง
ก็ให้ประกอบกับ อนฺติ วิภัตติ ฝ่ายพหุวจนะ จะได้รูปกริยาอาขยาตเป็น ปจนฺติ
ก็จะมีวิธีการเหมือนกับฝ่ายเอกวจนะ จะต่างกันตรงวิภัตติฝ่ายพหุวจนะเท่านั้น
ดังนี้
หลังจากทำขั้นตอนที่ ๑ และ ๒
ได้รูปเป็น ปจ แล้ว ให้นำประกอบกับ อนฺติ วิภัตติ ดังนี้ คือ ให้ ลบ อ
ปัจจัยที่เคยอยู่ ปจ ออกอีกครั้งหนึ่ง จะได้รูปเป็น ปจฺ อีก แล้วนำประกอบกับ อนฺติ
จึงสำเร็จรูปเป็น ปจนฺติ.
ดังนั้น เมื่อพบรูปว่า ปจนฺติ เราสามารถบอกได้ว่า มาจาก ปจ ธาตุ
และมีคำแปลเป็นต้นโดยนัยเดียวกับ ปจติ แต่มีบทประธานที่เป็นคำนามฝ่ายพหุวจนะ
ปฐมาวิภัตติ เช่น ปุริสา อ.บุรุษ ท. ดังนี้
ถ้าจะกล่าวอย่างง่าย ๆ รวบรัดไม่ต้องทำตามวิธีการของไวยากรณ์
จะแสดงอย่างนี้ คือ ปจ + อ + ติ เป็น ปจติ, ปจ + อ + อนฺติ เป็น ปจนฺติ ก็ได้.
- ลองประกอบกับธาตุตัวอื่น
ๆ ดู
เมื่อได้แนวทางเบื้องต้นแล้ว
เราลองนำธาตุต่าง ๆ มาลองประกอบใช้กันดู ในที่นี้จะนำหมวดภูวาทิคณธาตุมาให้รู้จักเป็นบางส่วนเพื่อประกอบใช้ตามควร
ธาตุ
|
เป็น[1]
|
แปล
|
สำเร็จรูป
|
ธาตุ
|
เป็น
|
แปล
|
สำเร็จรูป
|
ภู
|
ภว
|
มี, เป็น
|
ภวติ
|
มร
|
|
ตาย
|
มรติ
|
คมุ
|
คจฺฉ
|
ไป
|
คจฺฉติ
|
ทิส
|
ทิสฺส
|
แลดู
|
ทิสฺสติ
|
อิสุ
|
อิจฺฉ
|
ประสงค์
|
อิจฺฉติ
|
สท
|
นิ +
|
หยุดไป
|
นิสีทติ
|
ลภ
|
|
ได้
|
ลภติ
|
ยช
|
|
บูชา
|
ยชติ
|
วจ
|
วท
|
กล่าว
|
วทติ
|
กมุ
|
|
ก้าวไป
|
กมติ
|
วส
|
|
อยู่
|
วสติ
|
ตุท
|
|
แทง
|
ตุทติ
|
รุท
|
โรท
|
ร้องไห้
|
โรทติ
|
วิส
|
ป +
|
เข้าไป
|
ปวิสติ
|
ชร
|
ชีร
|
แก่
|
ชีรติ
|
ทิส
|
เท
|
แสดง
|
เทเสติ
|
ผุส
|
|
กระทบ
|
ผุสติ
|
ลิข
|
|
เขียน
|
ลิขติ
|
หุ
|
โห
|
มี
|
โหติ
|
สิ
|
เส
|
นอน
|
เสติ
|
นี
|
เน
|
นำไป
|
เนติ
|
ฐา
|
ติ+ฐ
|
ตั้งอยู่
|
ติฏฺฐติ
|
-แต่งประโยคโดยนำประกอบกับบทประธานและบทขยายประธาน
เมื่อได้ธาตุที่ปรุงสำเร็จเป็นอาขยาตบทแล้ว
ก็สามารถประกอบเป็นประโยคสั้น ๆ ที่ประกอบด้วยบทประธานและบทขยายประธาน.
ก่อนที่จะนำธาตุมาประกอบเป็นกริยาบท
ให้สังเกตความหมายของธาตุให้ดีเสียก่อนว่า
เป็นธาตุหมวดใดในบรรดาหมวดอกัมมธาตุและสกัมมธาตุ. ถ้าธาตุใดเป็นอกัมมธาตุ คือ
ไม่ต้องมีบทกรรมมาประกอบก็ได้ความหมายชัดเจน เวลานำประกอบประโยค
ก็ไม่ต้องเติมบทขยายกริยาที่เป็นบทกรรม แต่ถ้าเป็นสกัมมธาตุ คือต้องมีบทกรรมมาประกอบจึงจะได้ใจความ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ต้องนำนามบทที่ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ
ที่มีความหมายเป็นกรรม หรือที่แปลว่า ซึ่ง, สู่
มาประกอบด้วย.ในที่นี้จะยังไม่กล่าวถึงบทกรรมอันเป็นบทขยายกริยาเหล่านั้น
จะขอยกไปกล่าวในคราวที่จะกล่าวถึงบทขยายกริยาเสียทีเดียว.
เมื่อได้บทกริยาแล้ว
ลองนำบทประธานและบทขยายประธานตามนัยที่กล่าวแล้วในตอนก่อน มาประกอบ
โดยเลือกธาตุที่เป็นอกัมมธาตุมาใช้ ดังต่อไปนี้.
ประโยคบาลี
|
แปลเป็นไทย
|
||||
บทขยาย
|
ประธาน
|
กริยา
|
ประธาน
|
บทขยาย
|
กริยา
|
มหนฺตา
|
ปุริสา
|
นิสีทนฺติ
|
อ.บุรุษ ท.
|
ผู้ใหญ่
|
ย่อมนั่ง
|
สาวกานํ
|
สงฺโฆ
|
ติฏฺฐนฺติ
|
อ.หมู่
|
แห่งสาวก ท.
|
ย่อมหยุด
|
คามสฺมึ
|
วิหาโร
|
โหติ
|
อ. วัด
|
ใกล้บ้าน
|
ย่อมมี
|
เสตา
|
อสฺสา
|
มรนฺติ
|
อ. ม้า ท.
|
สีขาว
|
ย่อมตาย
|
อาจริยสฺส
|
โสโณ
|
สยติ
|
อ. สุนัข
|
ของอาจารย์
|
ย่อมนอน
|
วิชฺชาลเย
|
กุมารา
|
โรทนฺติ
|
อ.เด็ก ท.
|
ที่โรงเรียน
|
ย่อมร้องไห้
|
*******
[1] การแปลงรูปของธาตุเป็นอย่างต่าง
ๆ นี้ แสดงโดยง่าย ๆ และรวบรัด เพราะมีนัยที่พิสดารมาก
ให้ไปค้นคว้าในหนังสือคู่มือและแบบเรียนต่าง ๆ ที่แสดงถึงการสำเร็จรูปนั้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น