วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๒๘ ประโยคลิงคัตถะ และแบบฝึกหัดทบทวน

ประโยคลิงคัตถะ
         ประโยคลิงคัตถะ หมายถึง ประโยคที่ยังไม่มีกริยาบท. และตัวบทประธานประกอบด้วยปฐมาวิภัตติไว้เพียงเพื่อรักษาความเป็นบทไว้และสื่อความหมายเดิมของนามศัพท์เท่านั้น. ความจริงยังไม่นับเป็นประโยคที่สมบูรณ์ เพราะแม้จะมีบทประธานแล้วก็ตาม แต่บทประธานนั้น ยังมิได้มีความเกี่ยวข้องกับบทกริยา ไม่ว่าจะในหน้าที่ใด ๆ เช่น เป็นบทกัตตา (ผู้กระทำกริยา) หรือ เป็นบทกรรม (ผู้ถูกกระทำ). บทประธานในที่เช่นนี้แหละ เรียกว่า ลิงคัตถะ เพราะทำหน้าที่กล่าวเพียงอรรถเดิมของคำนาม ไม่เกี่ยวข้องกับกริยาบท. แต่อนุโลมเรียกว่า ประโยค เพราะเป็นกลุ่มคำที่แสดงความหมายและจุดประสงค์ เช่นเดียวกับประโยคที่มีกริยาบทได้. แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับหลักภาษาไทย คำว่า ประโยคลิงคัตถะ นี้น่าจะตรงกับคำว่า วลี ซึ่งเป็นกลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอยู่เป็นระเบียบและมีกระแส ความเป็นที่หมายรู้กันได้ แต่ยังไม่เป็นประโยคสมบูรณ์. ต่อเมื่อมีกริยาบทมาคุมเข้าจึงจะถือว่า มีความหมายสมบูรณ์ จัดเป็นประโยคได้.

****


ข้อกำหนดในบทนี้ ดังนี้
         ๑. คำนามเดิมที่ประกอบวิภัตติแล้วไม่เรียกว่า ลิงค์ หรือ นาม แต่เรียกว่า นามบท
         ๒. นามบทที่มีวิภัตติทั้ง ๗ นั้น ให้นำบทที่ประกอบปฐมาวิภัตติมาเป็นบทประธาน
         ๓. บทที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ เป็นประธานในประโยคทุกประโยคทั้งที่มีกริยาบทและไม่มีกริยาบท
         ๔. บทประธาน ย่อมประกอบไปด้วยบทขยายประธาน แบ่งออกเป็น ๓ บท คือ  ๑)  วิเสสนบท  ๒) สัมพันธบท  ๓) อาธารบท
         ๕. วิเสสนบท แบ่งออกเป็นหลายอย่าง โดยเป็นบทที่ขยายประธานให้พิเศษกว่าโดยคุณค่า สี ลักษณะเป็นต้น ถ้านำมาขยายบทประธานต้องประกอบวิภัตติ ลิงค์ และวจนะเดียวกันกับบทประธาน. ให้เรียงไว้หน้าบทประธานเสมอ แต่เวลาแปล ให้แปลบทประธานก่อนแล้วจึงแปลวิเสสนบท แปลว่า ผู้, มี, อัน, ซึ่ง, ตัว, สี ดังนี้เป็นต้นตามควร
         ๖. สัมพันธบท บทที่ขยายประธานให้เห็นโดยเป็นสิ่งที่เนื่องกับบทอื่น ประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ. แปลว่า แห่ง, ของ.  มีวิธีการเรียงและแปลดุจวิเสสนบทนั้น
         ๗. อาธารบท บทที่ขยายประธานให้เห็นโดยเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ในบทอื่น ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ แปลว่า ที่, ใน, ใกล้, บน ตามควรแก่ประเภทแห่งอาธารบทนั้น มีวิธีการเรียงและแปลดุจวิเสสนบทและสัมพันธบทนั้น

***

แบบฝึกหัดทบทวน ที่ ๓
๑. ตอบคำถาม
          ๑)  บท ได้แก่ อะไร. ต่างกับ ศัพท์เดิมหรือลิงค์ อย่างไร ?
          ๒) คำนามที่ประกอบด้วยวิภัตติทั้ง ๗ นั้น นามบทที่ประกอบด้วยวิภัตติใด เป็นบทประธานได้
          ๓) บทประธาน คือ บทเช่นไร  แบ่งออกเป็นเท่าไร อะไรบ้าง ?
          ๔) ปฐมาวิภัตติใช้สื่อถึงความหมายได้กี่อย่าง อะไรบ้าง ตอบเพียงสังเขป ?
          ๕) บรรดาความหมายของปฐมาวิภัตติทั้งหมดนั้น สามารถนำมาเป็นบทประธานได้กี่บท จงตอบเพียงสังเขป ?
๒. จงบอกความหมายโดยสังเขปของคำศัพท์ดังต่อไปนี้
          ๑) บทขยายประธาน               ๒) วิเสสนบท               ๓) วิเสสยบท
            ๔) คุณนาม                              ๕)  สัมพันธบท            ๖) สามีสัมพันธะ
            ๗) สมูหสัมพันธะ                    ๘) ภาวสัมพันธะ          ๙) อาธารบท
            ๑๐) ปฏิจฉันนาธาระ               ๑๑) วิสยาธาระ                       ๑๒) พยาปิกาธาระ
            ๑๓) โอปสิเลสิกาธาระ             ๑๔) สมีปาธาระ                       ๑๕)  ประโยคลิงคัตถะ
๓. จงอธิบายวิธีประกอบนามศัพท์เดิมให้เป็นประโยคลิงคัตถะและยกตัวอย่างประกอบ
          ๓.๑ ประโยคลิงคัตถะ ที่มีวิเสสนบทอย่างเดียว
          ๑) วิธีการประกอบรูปศัพท์ .........................................................
          ๒) วิธีการวางตำแหน่งวิเสสนบท  ..........................................
          ๓) วิธีการแปลเป็นภาษาไทย      ............................................

ประธาน
วิเสสนบท
นำประกอบ
นาโค
อ. ช้าง
เสโต
สีขาว
เสโต นาโค
อ.ช้าง ตัวสีขาว
มนุสฺส
มนุษย์
ทกฺข
ขยัน


ธมฺม
ธรรม
ปคุณ
คล่องแคล่ว


โฆส
เสียง
อธิก
เกินไป


กาม
กาม
ขุทฺท
น้อยนิด


จมฺปก
ต้นจำปา
ปีต
สีเหลือง


นิลย
เรือน
ปุราณ
เก่า


ปสาท
ความเลื่อมใส
จล
ส่าย


นิคม
นิคม
ทูร
ไกล



๓.๒ ประโยคลิงคัตถะ ที่มีสัมพันธบทอย่างเดียว
          ๑) วิธีการประกอบรูปศัพท์ .........................................................
          ๒) วิธีการวางตำแหน่งสัมพันธบท  ..........................................
          ๓) วิธีการแปลเป็นภาษาไทย      ............................................

สัมพันธบท
ประธาน
นำประกอบ
โลกสฺส
แห่งโลก
นายโก
อ.ผู้นำ
โลกสฺส นายโก
อ.ผู้นำ แห่งโลก
มนุสฺส
มนุษย์
ปนส
ต้นขนุน


ชงฺคม
คนเดินทาง
สมฺภาร
สิ่งของ


พฺยคฺฆ
เสือ
โกธ
ความโกรธ


มิค
กวาง
วณฺณ
สี


โสณ
สุนัข
นิลย
เรือน(คอก)


สํฆ
พระสงฆ์
วคฺค
พวก


อาสว
ตัณหา
โอฆ
ห้วงน้ำ


ถมฺภ
คนดื้อ
มาน
ความถือตัว


นร
คน
จาค
การบริจาค


อมฺพ
ต้นมะม่วง
สมูห
หมู่


อณฺฑช
นก
โลม
ขน



๓.๓ ประโยคลิงคัตถะ ที่มีอาธารบทอย่างเดียว
          ๑) วิธีการประกอบรูปศัพท์ .........................................................
          ๒) วิธีการวางตำแหน่งอาธารบท  ..........................................
          ๓) วิธีการแปลเป็นภาษาไทย      ...........................................

อาธารบท
ประธาน
นำประกอบ
สคฺเค
ในสวรรค์
สุโร
อ.เทวดา
สคฺเค สุโร
อ.เทวดา ในสวรรค์
วิชฺชาลย
โรงเรียน
สิสฺส
นักเรียน


สุวณฺณ
ทองคำ
วราห
หมู


ชมฺพาล
โคลนตม
กจฺฉป
เต่า


อณฺฑ
ไข่
อาหาร
สารอาหาร


สารมฺภ
การแข่งดี
อาทีนว
โทษ


อาจริย
อาจารย์
มกฺข
การลบหลู่


สมุทฺท
มหาสมุทร
กลฺโลล
คลื่นยักษ์


จมฺปก
ต้นจำปา
สิเนห
ยาง


ธมฺม
ธรรม
โยค
การประกอบ




๓.๔ ประโยคลิงคัตถะ ที่มีวิเสสนบทและสัมพันธบท
          ๑) วิธีการประกอบรูปศัพท์ .........................................................
          ๒) วิธีการวางตำแหน่งวิเสสนบทและสัมพันธบท  ..........................................
          ๓) วิธีการแปลเป็นภาษาไทย      ............................................

ประธาน
วิเสสนบท
สัมพันธบท
นำประกอบ
 พุทฺโธ        

อ.พระพุทธเจ้า
นาโถ
ผู้ที่พึ่ง
โลกสฺส
ของโลก
โลกสฺส
นาโถ
พุทฺโธ
อพระพุทธเจ้า ผู้ที่พึง ของโลก
อณฺฑช
นก
ปณฺฑร
สีขาว
มาณว
ชายหนุ่ม


อาคม
ความรู้
อาทิ
เบื้องต้น
คนฺถ
หนังสือ


โฆส
เสียง
รสฺส
สั้น
สร
สระ


สํสาร
การท่องเทียวไป
อายต
ยาว
สตฺต
สัตว์


สาร
แก่น
อุชุ
ตรง
อสน
ต้นประดู่


ตจ
ผิวหนัง
กาฬ
สีดำ
อจฺฉ
หมี


ปฏิฆ
ความโกรธ
กกฺขฬ
หยาบ
พาล
คนโง่



๓.๖ ประโยคลิงคัตถะ ที่มีวิเสสนบทและอาธารบท
          ๑) วิธีการประกอบรูปศัพท์ .........................................................
          ๒) วิธีการวางตำแหน่งวิเสสนบทและอาธารบท  ..........................................
          ๓) วิธีการแปลเป็นภาษาไทย      ............................................

ประธาน
วิเสสนบท
อาธารบท
นำประกอบ
ปสาโท
อ. ความเลื่อมใส
อจโล
อันไม่หวั่นไหว
ธมฺเม
ในธรรม.


ชน
ชน
พฺยตฺต
ฉลาด
กุสล
กุศล


กุมาร
เด็ก
มนฺท
อ่อน
กฏ
เสื่อ


มูล
ราก
ทฬฺห
แข็งแรง
ตล
แผ่นดิน


สาร
เรื่อง
มตฺต
สำคัญ
อภิธมฺม
อภิธรรม


คพฺภ
ห้อง
ถูล
กว้าง
ปาสาท
ปราสาท


โรค
โรค
ติพฺพ
แข็งกล้า
อุทร
ท้อง


ปานีย
น้ำดื่ม
ตมฺพ
สีแดง
มลฺลก
ถ้วย




๓.๖ ประโยคลิงคัตถะ ที่มี อาธารบท และสัมพันธบท
          ๑) วิธีการประกอบรูปศัพท์ .........................................................
          ๒) วิธีการวางตำแหน่ง อาธารบทและสัมพันธบท  ..........................................
          ๓) วิธีการแปลเป็นภาษาไทย      ............................................

ประธาน
อาธารบท
สัมพันธบท
นำประกอบ
โรโค                  

อ. โรค
อุทเร
ในท้อง
ปุริสสฺส
ของบุรุษ
ปุริสสฺส         อุทเร        โรโค
อ. โรค ในท้อง                  ของบุรุษ
ปลาล
ฟาง
ขล
ลาน
กสก
ชาวนา


กุณฺฑ
หม้อ
สีเส
หัว
คหฏฺฐ
คฤหัสถ์


อิฏฺฐ
ความต้องการ
ปณิย
สินค้า
กยิก
ลูกค้า


อุปาหน
รองเท้า
ปาท
เท้า
โคปาล
นายโคบาล


ตูล
ฝ้าย
เคเห
โรงงาน
ตนฺตวาย
ช่างทอผ้า




๓.๖ ประโยคลิงคัตถะ ที่มีวิเสสนบท, อาธารบท และสัมพันธบท
          ๑) วิธีการประกอบรูปศัพท์ .........................................................
          ๒) วิธีการวางตำแหน่งวิเสสนบท, อาธารบทและสัมพันธบท  ..........................................
          ๓) วิธีการแปลเป็นภาษาไทย      ............................................

ประธาน
วิเสสนบท
อาธารบท
สัมพันธบท
นำประกอบ
กณฺโห

อ. งู
สปฺโป                  
ตัวสีดำ
สุสิเร
ในโพรง
รุกฺขสฺส
แห่งต้นไม้.
รุกฺขสฺส สุสิเร กณฺโห สปฺโป 
อ. งู ตัวสีดำ ในโพรง                แห่งต้นไม้.

กณ
รำข้าว
มหนฺต
ใหญ่
โกฏฺฐ
ยุ้งฉาง
กสฺสก
ชาวนา


สาก
ผัก
หริต
เขียว
เกทาร
สวน
คหฏฺฐ
ชาวบ้าน


ทนฺต
เขี้ยว
ทีฆ
ยาว
มุข
ปาก
สีห
ราชสีห์


วกฺกล
เปลือกไม้
กกฺขฬ
หยาบ
ขนฺธ
ลำต้น
อสน
ต้นประดู่


กนก
ทองคำ
มหคฺฆ
ค่ามาก
เคห
ร้าน
วาณิช
พ่อค้า




********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น