วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๒๕.บทขยายประธาน - คุณนาม

๘. บทขยายประธาน
            นามบทที่จัดเป็นประธานนั้น สามารถมีบทที่ทำให้ตนมีความชัดเจนขึ้น เกี่ยวกับว่า ไม่ให้เหมือนกันบทอื่นบ้าง มีความเกี่ยวข้องกับบทอื่นบ้าง. บทที่ทำให้ชัดเจนขึ้นนั้น เรียกว่า บทขยายประธาน.
         บทขยายประธาน แบ่งออกเป็น ๓ ชนิดใหญ่ ๆ[1] คือ
         ๑. บทที่ทำให้ตนไม่เหมือนกับบทอื่น เรียกว่า วิเสสนบท
         ๒. บทที่ประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติที่มีความหมายว่า แห่ง, ของ เรียกว่า สัมพันธบท
         ๓. บทที่ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติที่มีความหมายว่า ใน, ที่ , ใกล้ เรียกว่า อาธารบท.
         ในบทขยายประธานทั้ง ๓ ชนิดนั้น จะได้กล่าวถึง วิเสสนบทเป็นลำดับแรก

๒๔. บทประธานคือบทที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ

ความหมายที่ใช้ในปฐมาวิภัตติ
         สิ และ โย ปฐมาวิภัตติ ใช้สื่อถึงความหมาย ๓ ประการ คือ
         ๑. ลิงคัตถะ หมายถึง เป็นความหมายของศัพท์เดิมที่เรียกว่า ลิงค์ ไม่มีความหมายพิเศษใด ๆ เพิ่มขึ้น. ในความหมายนี้ ปฐมาวิภัตติ มิได้เป็นผู้กระทำ คือ ไม่เกี่ยวข้องกับกิริยา เพียงแต่ต้องลงวิภัตตินี้ไว้ เพื่อให้ศัพท์นั้นมีความสมบูรณ์ทางไวยากรณ์ที่ว่า บทต้องเป็นคำที่ประกอบด้วยวิภัตติ. นามบทที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ ที่เรียกว่า ลิงคัตถะ นี้ ถูกเจาะจงใช้ เพื่อเป็นประธานในประโยคที่ไม่ได้ระบุถึงกัตตา คือ ผู้กระทำกิริยา หรือกัมมะ คือ ผู้ที่ถูกกระทำ เป็นต้น และยังไม่มีบทกริยามาประกอบ ทั้งนี้โดยประสงค์เพียงเพื่อแสดงความหมายของรูปศัพท์เดิมเท่านั้น. (๑) ถ้าเทียบกับภาษาไทย ประโยคที่ยังไม่กริยา ได้แก่ กลุ่มข้อความสั้น ๆ ที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ อย่างมีระเบียบ แต่มีเนื้อความที่รู้กันได้ ไม่เจาะจงถึงผู้กระทำ เรียกว่า วลี ซึ่งไม่สมบูรณ์ ต่อเมื่อมีบทกิริยาที่แสดงผู้กระทำ สิ่งที่ถูกกระทำเป็นต้นได้ จึงจะมีความสัมพันธ์กันระหว่างบทต่าง ๆ จึงเรียกว่า ประโยค ฉะนั้น.

๒๓. บทประธาน

๗. บทประธาน
         คำนามที่ประกอบวิภัตติทั้ง ๗ หมวดนั้นแล้ว เมื่อกล่าวตามหลักการของภาษาแล้วจะได้ชื่อว่า บท ไม่เรียกว่า ศัพท์หรือลิงค์ อีก เพราะคำว่า บท ได้แก่ คำที่ให้รู้ความหมายและหน้าที่ตามวิภัตติทั้ง ๗ นั้น. ต่อไปนี้จะเรียก คำนามหรือลิงค์ที่ประกอบด้วยวิภัตติแล้วว่า นามบท.
         ในนามบททั้งหมดนั้น นามบทที่จะจัดเป็นประธานของประโยคได้ ก็เฉพาะที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเท่านั้น (ที่มีคำแปลหรืออายตนิบาตว่า อันว่า ซึ่งนิยมใช้ตัวย่อว่า อ. ได้แก่ รูปว่า ปุริโส อ.บุรุษ ใน อ การันต์ปุงลิงค์). ดังนั้น นามบททั้งหมด ที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อที่ ๑ นั้น เมื่อจะนำมาใช้เป็นบทประธานและบทขยายประธาน ต้องประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเสมอ[1].
บทประธาน คือ บทมีลักษณะเช่นไร
         บทอันผู้พูดประสงค์จะกล่าวถึง ชื่อว่า บทประธาน. บทประธานแบ่งออกเป็น ๕  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ
         ๑. บทประธานที่ไม่เกี่ยวข้องกับกริยาบทใด ๆ.
         ๒. บทประธานที่เป็นผู้กระทำกิริยาเอง
         ๓. บทประธานที่เป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำ
         ๔. บทประธานที่เป็นผู้ถูกกระทำ
         ๕. บทประธานที่เป็นผู้ถูกใช้ให้กระทำ
         บทประธานทั้ง ๕ ประเภทนี้นั่นแหละ จะเป็นบทที่บ่งถึงลักษณะประโยคในภาษาบาลีได้ด้วย. ในที่นี้เราจะศึกษาเฉพาะบทประธานที่ไม่เกี่ยวข้องกับกริยาบทและที่เป็นผู้กระทำกิริยาเองก่อน ส่วนที่เหลือจะได้ทยอยศึกษากันในลำดับต่อไป.
         บทประธานย่อมประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเสมอ. คำที่กล่าวมานี้มีเรื่องที่น่าพิจารณาอยู่ ๓ ประเด็น คือ
         ๑) ปฐมาวิภัตติ ใช้ในความหมายอย่างไร ?
         ๒) เหตุไรบทประธานต้องประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ ?
         ๓) ปฐมาวิภัตติใช้เป็นบทประธานได้ทั้งหมดหรือไม่ ?

×vØ





[1] คำว่า ต้องประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเสมอนี้ เฉพาะในประโยคที่มีลักษณะกล่าวถึงผู้ทำกิริยาและผู้ถูกทำเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับประโยคที่กล่าวถึงอาการเป็นไปของกิริยา เพราะประโยคที่กล่าวอาการแห่งกิริยา มิได้กล่าวถึงผู้กระทำ ไม่ว่าจะในแง่ใด ๆ จึงไม่เอาปฐมาวิภัตติมาเป็นบทประธาน แต่นำตติยาวิภัตติมาเป็นบทประธานแทน. เรื่องนี้จะพบได้ในภาคกริยาข้างหน้า.

๒๒. แบบฝึกหัดทบทวนที่ ๒

แบบฝึกหัดทบทวนที่ ๒
๑. ตอบคำถาม
        ๑. คำนาม คือ คำที่มีลักษณะเช่นใด และแบ่งออกเป็นกี่พวก  ? (หน้า ๒๗)
           ๒. องค์ประกอบคำนามมีเท่าใด จงบอกมาให้ครบ ?  (หน้า ๒๘)
       ๓. ลิงค์ คือ อะไร เพราะเหตุใดจึงได้ชื่อว่า ลิงค์. และแบ่งออกเป็นเท่าใด (หน้า ๓๐)
         ๔. ใช้กฏเกณฑ์เช่นใดมาแบ่งประเภทแห่งลิงค์ จงตอบมาพอเข้าใจ ? (หน้า ๓๐)
         ๕. ลองยกตัวอย่างของลิงค์ดังต่อไปนี้ มาอย่างละ ๕ ศัพท์
         ๑) เป็นลิงค์เดียว                               ๒) เป็นได้ ๒ ลิงค์ คือ ปุ. และ นปุ. 
            ๓). เป็นได้ ๒ ลิงค์ คือ ปุ. และ อิต.              ๔) เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์
         ๖.  การันต์ คือ อะไร มีเท่าไร อะไรบ้าง (หน้า ๓๔)
         ๗. จงจำแนกการันต์โดยลิงค์ทั้ง ๓ มาดู (หน้า ๓๔)
         ๘. วิภัตติ คือ ศัพท์เช่นไร มีหน้าทีอย่างไรบ้าง ? (หน้า ๓๖)
         ๙. จงจำแนกวิภัตติทั้ง ๗ พร้อมทั้งอายตนิบาตมาดู โดยทำเป็นตาราง (หน้า ๓๖)
         ๑๐. อายตนิบาต คือ อะไร ทำหน้าที่อะไรในภาษาไทย ?
๒. ทบทวนการแจกวิภัตติ
         ๑. จงนำคำศัพท์เหล่านี้ไปแจกวิภัตติตามกำหนดให้แล้วบอกคำแปล
         ๑) สุร เทวดา + อํ                      ๒) นาค ช้าง + หิ (ตติยา) 
         ๓) มนุสฺส มนุษย์ + โย (ปฐมา)                ๔) อสุร อสูร + ส (จตุตถี)
         ๕) ยกฺข ยักษ์ + สิ (ปฐมา)            ๖) ปิสาจ ปีศาจ + นํ (ฉัฏฐี)
         ๗) นร คน + นา                        ๘) คนฺธพฺพ คนธรรมพ์ + สิ (อาลปนะ)
         ๙) เปต + โย (ทุติยา)                  ๑๐) วราห หมู + นํ (จตุตถี)
         ๑๑) สีห + หิ (ปัญจมี)                          ๑๒) กจฺฉป เต่า + สุ
         ๑๓) คาม หมู่บ้าน + สฺมึ              ๑๔) พฺยคฺฆ เสือ + โย (อาลปนะ)
         ๑๕) มาตงฺค ช้าง + โย (ทุติยา)               ๑๖) โสณ สุนัข + ส (ฉัฏฐี)
         ๒. จงบอกว่า คำนี้ประกอบวิภัตติใด
         ๑) มิคสฺมา     ๒) โลกสฺมึ     ๓) ธมฺเมสุ     ๔) โฆสานํ     ๕) โลภสฺส
         ๖) มาเนหิ     ๗) อสโน      ๘) อจฺฉํ        ๙) อสฺสสฺส     ๑๐) นิลเยน
         ๑๑) กามา     ๑๒) ปฏิฆตฺถํ ๑๓) สารมฺภาย        ๑๔) มกฺเข     ๑๕) มกฺขานํ
         ๑๖) จมฺปเกภิ ๑๗) นเรน     ๑๘) สงฺฆมฺหิ  ๑๙) อมฺเพ     ๒๐) อุรค


×vØ

๒๑. สรุปการประกอบวิภัตติทั้ง ๗ ของ นามศัพท์ อการันต์ปุงลิงค์

ตารางสรุปแนวทางการสำเร็จรูปของนามศัพท์ อการันต์ ปุงลิงค์

แสดงแนวทางการสำเร็จรูปศัพท์ อ การันต์ ที่ประกอบวิภัตติทั้ง ๗ โดยย่อ
วิภัตติ
ลำดับ
เอกวจนะ
วิภัตติ
ลำดับ
พหุวจนะ
แนวทาง
รูปสำร็จ
แนวทาง
รูปสำเร็จ
สิ
ปฐมา
สิ เป็น โอ
ปุริโส
โย
ปฐมา
โย เป็น อา
ปุริสา
อํ
ทุติยา
คง อํ ไว้
ปุริสํ
โย
ทุติยา
โย เป็น เอ
ปุริเส
นา
ตติยา
นา เป็น เอน
ปุริเสน
หิ
ตติยา
อ เป็น เอ
ปุริเสหิ
อ เป็น เอ,
 หิ เป็น ภิ
ปุริเสภิ
จตุตฺถี
เพิ่ม ส
ปุริสสฺส
นํ
จตุตฺถี
อ เป็น อา
ปุริสานํ
ส เป็น อาย
ปุริสาย
ส เป็น ตฺถํ
ปุริสตฺถํ
สฺมา
ปญฺจมี
-*
ปุริสสฺมา
หิ
ปญฺจมี
อ เป็น เอ
ปุริเสหิ
สฺมา เป็น มฺหา
ปุริสมฺหา
สฺมา เป็น อา
ปุริสา
อ เป็น เอ, 
หิ เป็น ภิ
ปุริเสภิ
ฉฏฺฐี
เพิ่ม สฺ 
ปุริสสฺส
นํ
ฉฏฺฐี
อ เป็น อา
ปุริสานํ
สมึ
สตฺตมี
-*
ปุริสสฺมึ
สุ
สตฺตมี
อ เป็น เอ
ปุริเสสุ
สฺมึ เป็น มฺหิ
ปุริสมฺหิ
สฺมึ เป็น เอ
ปุริเส
สิ
อาลปน
ลบ สิ
ปุริส
โย
อาลปน
โย เป็น อา
ปุริสา
* ที่ไม่ได้ใส่ข้อความไว้ เพราะลงสฺมา หรือ สฺมึ แล้วไม่มีวิธีการแปลงเสียงสระท้าย เนื่องจาก สฺ ที่สฺมึ หรือสฺมา เป็นพยัญชนะ ไม่มีการลบ ซึ่งต่างจากสระที่มีการลบสระการันต์ก่อนจึงนำไปประกอบได้ เพราะในหนึ่งคำ จะมีสระซ้อนกัน ๒ ตัวไม่ได้.


         แม้ศัพท์ที่เป็น อ การันต์แบบนี้จะมีมากมายแค่ไหนก็ตาม หรือแม้แต่เราจะประกอบคำศัพท์ขึ้นใช้เอง โดยให้มี  อ การันต์แบบนี้ก็ตาม.  เมื่อได้แบบอย่างของการแจกวิภัตติของศัพท์ที่เป็น อ การันต์อย่างนี้แล้ว ก็จะทำให้สะดวกในการนำศัพท์เข้าประกอบ.
         ตารางนี้เป็นคำศัพท์ที่สามารถนำไปแจกวิภัตติแบบ ปุริส ศัพท์ ได้.

ศัพท์เหล่านี้ มี อ การันต์  แจกเหมือนปุริส ศัพท์

สุร
เทวดา
อสุร
อสูร    
นร
คน
อุรค
งู
นาค
ช้าง
ยกฺข
ยักษ์
คนฺธพฺพ
คนธรรพ์
กินฺนร
กินนร
มนุสฺส
มนุษย์
ปิสาจ
ปีศาจ
เปต
เปรต
มาตงฺค
ช้าง
ชงฺคม
ผู้เที่ยวไป
ตุรงฺค
ม้า
วราห
หมู
สีห
ราชสีห์
พฺยคฺฆ
เสือ
อจฺฉ
หมี
กจฺฉป
เต่า
ตรจฺฉ
หมาป่า
มิค
กวาง
อสฺส
ม้า
โสณ
สุนัข
อาโลก
แสงสว่าง
โลก
โลก
นิลย
เรือน
อนิล
ลม
จาค
การบริจาค
โยค
การประกอบ
คาม
หมู่บ้าน
นิคม
นิคม
อาคม
ความรู้
ธมฺม
ธรรม
กาม
กาม
สํฆ
พระสงฆ์
โอฆ
ห้วงน้ำ
โฆส
เสียง
ปฏิฆ
ความโกรธ
อาสว
ตัณหา
โกธ
ความโกรธ
โลภ
ความโลภ
สารมฺภ
การแข่งดี
ถมฺภ
เสา,หัวดื้อ
มท
ความมัวเมา
มาน
ความถือตัว
มกฺข
การลบหลู่
ปุนฺนาค
ต้นกากทิง
ปนส
ต้นขนุน
อสน
ต้นประดู่
จมฺปก
ต้นจำปา
อมฺพ
ต้นมะม่วง
อณฺฑช
นก


         ขั้นตอนนี้ ให้กำหนดว่า
         ๑) คำศัพท์ทุกคำที่พบในภาษาบาลีต้องมีการผสมวิภัตติทั้งสิ้น
         ๒) อ การันต์ปุงลิงค์ ที่ใช้เป็นแบบอย่าง ได้แก่ ปุริส ศัพท์ แปลว่า บุรุษ (ไม่มีสำเนียงอายตนิบาต)
         ๓) สำหรับรูปแบบการแจกวิภัตติทั้งหมด เรียกว่า ปทมาลา ต้องทำความเข้าใจว่า เป็นเพียงตัวอย่าง บางครั้งที่พบอาจนอกเหนือจากนี้ไปบ้างก็มี แต่คงเป็นส่วนน้อย.

×vØ