ข้อกำหนดสำหรับภาคกริยา
๑. กริยาบท ได้แก่ ธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติและปัจจัยแล้ว
๒. กริยาบททำหน้าที่กำหนดความสิ้นสุดประโยค คือ
ถ้าสิ้นสุดเฉพาะข้อความของประธาน แต่ยังมีกระแสความต่อ เรียกว่า อัพภันตรกริยา
แต่ถ้าสิ้นกระแสความทั้งประโยค เรียกว่า กริยาคุมพากย์
๓. กริยาคุมพากย์ในที่นี้ได้แก่ กริยาอาขยาตเป็นส่วนมาก
ส่วนกริยากิตก์มีบ้างเป็นส่วนน้อย
๔.
กริยาบทให้วางไว้ท้ายบทประธานและบทประธานให้วางไว้หน้าบทกริยาเสมอ
๕. ในกรณีข้อ ๔
ถ้ามีบทที่เกี่ยวข้องให้วางบทนั้นไว้หน้าบทประธานและบทกริยา
๖. บทบาทของกริยาอาขยาตที่สำคัญสุด ก็คือ บอกบทประธานได้โดยบท
วาจก บุรุษ วจนะ และกาล
ที่เกิดขึ้นของกริยา.
๗. กริยาอาขยาตแต่ละบท ดังนี้ ธาตุ + ปัจจัย + วิภัตติ
จำตัวอย่างนี้ไว้ ปจฺ + อ + ติ เป็น ปจติ ย่อมหุง มีบทประธานเป็นคำนามทั้งหมด เว้น
ตุมฺห ท่าน และ อมฺห ฉัน
*****
แบบฝึกหัดทบทวนที่
๔
๑.
ตอบคำถาม
๑. ที่ว่าบทกริยามี ๓
ประเภท อยากทราบว่า ๓ ประเภทนั้น คืออะไรบ้าง มีวิธีใช้อย่างไร
๒. องค์ประกอบของกริยาอาขยาตทั้งหมด
มีกี่อย่างและย่อเข้าโดยที่สำคัญมีกี่อย่าง อะไรบ้าง
๓. ธาตุในอาขยาตมี ๘ หมวด คือ อะไรบ้าง
ยกตัวอย่างมาหมวดละ ๒ ธาตุ
๔. ปัจจัย ๑๒ ตัวที่แบ่งหมวดธาตุออกเป็น
๘ หมวดนั้น มีวิธีการจัดแบ่งอย่างไร
๕ ธาตุโดยย่อแล้วมี ๒ ประเภท ๆ ละ ๒
นั้นเป็นอย่างไร จงบอกให้ครบทั้ง ๒ ประเภท
๖. ปัจจุบันกาลใช้วิภัตติหมวดไหนลง
และมีคำแปลว่าอย่างไร
๗. บุรุษและวจนะในกริยาอาขยาตมีความสัมพันธ์กับบทประธานอย่างไร
๘. ที่เรียกว่า วาจก
เป็นตัวกล่าว อยากทราบว่า กล่าวอะไร และสิ่งที่ถูกกล่าวนั้นมีกี่อย่าง
๙. กัตตุวาจกใช้อะไรเป็นเครื่องหมายบอก
๑๐ บทว่า ปจติ บอกอะไรแก่เราได้บ้าง
จงตอบให้ตรงหลักไวยากรณ์.
๒. จงบอกความหมายโดยสังเขปของคำศัพท์ดังต่อไปนี้
๑) ศัพท์ ๒) ธาตุ ๓)
บท ๔) พากยางค์
๕) นามพากยางค์ ๖) คุณพากยางค์ ๗)
กริยาพากยางค์
๘) พากย์ ๙) กิริยา ๑๐) กริยาบท ๑๑) อนุกริยา
๑๒) มุขยกริยา ๑๓) อัพภันตรกริยา ๑๔)
กริยาคุมพากย์
๑๕) กริยาอาขยาต ๑๖) กริยากิตก์ ๑๗)
อัพยยกริยา
๑๘) อาขยาตบท ๑๙) ธาตุ ๒๐)
วิภัตติ ๒๑) กาล
๒๒) บท ๒๓)
วจนะ ๒๔) ปัจจัย ๒๕) วาจก
๒๓) วิกรณปัจจัย ๒๔) อกัมมธาตุ ๒๕)
สกัมมธาตุ
๒๖) เอกัสสรธาตุ ๒๗) อเนกัสสรธาตุ ๒๘)
ปฐมบุรุษ
๒๙) มัชฌิมบุรุษ ๓๐) อุตตมบุรุษ ๓๑)
ปรัสสบท
๓๒) อัตตโนบท ๓๓) กัตตุวาจก ๓๔)
สยกัตตา
๓. จงประกอบธาตุให้เป็นอาขยาตบท
กัตตุวาจก ปฐมบุรุษ ปัจจุบันกาล พหุวจนะ
ธาตุ
|
เป็น[1]
|
แปล
|
สำเร็จรูป
|
ธาตุ
|
เป็น
|
แปล
|
สำเร็จรูป
|
ภู
|
ภว
|
มี, เป็น
|
มร
|
ตาย
|
|||
คมุ
|
คจฺฉ
|
ไป
|
ทิส
|
ทิสฺส
|
แลดู
|
||
อิสุ
|
อิจฺฉ
|
ประสงค์
|
สท
|
นิ +
|
หยุดไป
|
||
ลภ
|
ได้
|
ยช
|
บูชา
|
||||
วจ
|
วท
|
กล่าว
|
กมุ
|
ก้าวไป
|
|||
วส
|
อยู่
|
ตุท
|
แทง
|
๔. จงประกอบวิภัตติอาขยาตเป็นปัจจุบันกาล
กัตตุวาจก ปฐมบุรุษ วจนะใดก็ได้ ให้สอดคล้องกับบทประธานที่กำหนดให้
และแปลประโยคนั้นเป็นภาษาไทย
ประโยคบาลี
|
แปลเป็นไทย
|
||||
บทขยาย
|
ประธาน
|
กริยา
|
ประธาน
|
บทขยาย
|
กริยา
|
เสโต
|
นาโค
|
ภู
|
|||
ทกฺข
|
มนุสฺส
|
คมุ
|
|||
ปคุณ
|
ธมฺม
|
วส
|
|||
อธิก
|
โฆส
|
ลภ
|
|||
ขุทฺท
|
กาม
|
ตุท
|
|||
ปีต
|
จมฺปก
|
ทิส (แสดง)
|
|||
ปุราณ
|
นิลย
|
ชร
|
|||
จณฺฑ
|
พฺยคฺฆ
|
สท
|
|||
ทูร
|
นิคม
|
ฐา
|
|||
โลกสฺส
|
นายโก
|
ยช
|
******
[1] การแปลงรูปของธาตุเป็นอย่างต่าง
ๆ นี้ แสดงโดยง่าย ๆ และรวบรัด เพราะมีนัยที่พิสดารมาก
ให้ไปค้นคว้าในหนังสือคู่มือและแบบเรียนต่าง ๆ ที่แสดงถึงการสำเร็จรูปนั้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น