วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๕๐ อูการันต์ปุงลิงค์

อู การันต์ ในปุงลิงค์ แจกแบบ วิญฺญู (ผู้รู้แจ้ง) ดังนี้

วิภัตติ
เอกวจนะ
พหุวจนะ
ปฐมา
วิญฺญู
วิญฺญุโน  วิญฺญู
ทุติยา
วิญฺญุ
วิญฺญุโน  วิญฺญู
ตติยา
วิญฺญุนา
วิญฺญูหิ  วิญฺญูภิ
จตุตถี
วิญฺญุสฺส  วิญฺญุโน
วิญฺญูนํ
ปญฺจมี
วิญฺญุนา วิญฺญุสฺมา วิญฺญุมฺหา
วิญฺญูหิ  วิญฺญูภิ
ฉฏฐี
วิญฺญุสฺส  วิญฺญุโน
วิญฺญูนํ
สตฺตมี
วิญฺญุสฺมึ  วิญฺญุมฺหิ
วิญฺญูสุ
อาลปนะ
วิญฺญุ
วิญฺญุโน  วิญฺญู

v

๔๙. อุ การันต์ ในปุงลิงค์

อุ การันต์ ในปุงลิงค์
         อุ การันต์ ในปุงลิงค์ แจกแบบ ภิกฺขุ (พระภิกษุ, ผู้ขอ, ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ) ดังนี้

๔๘. คำนามที่เป็น อิ การันต์ปุงลิงค์ เป็นต้น

คำนามที่เป็น อิ การันต์ปุงลิงค์ เป็นต้น
         ก่อนศึกษาเรื่องความหมายของวิภัตตินามที่เหลือมีตติยาวิภัตติเป็นต้น ที่เป็นบทขยายกริยาต่อไปนั้น จะขอกล่าวคำนามที่เป็นการันต์ที่เหลือมี อิ การันต์เป็นต้นในลิงค์ทั้ง ๓ เสียให้หมด เพื่อเป็นการสร้างความรอบรู้ในคำนามเพิ่มขึ้น.
         ดังได้กล่าวมาแล้วว่า คำนามทั้งหมดที่แบ่งเป็น ๓ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์ แบบชาย อิตถีลิงค์ แบบหญิง นปุงสกลิงค์ แบบที่ไม่ใช่ทั้งชายและหญิง คือ กลางๆ . และในลิงค์ทั้ง ๓ ก็แบ่งตามการันต์ คือ เสียงสระท้ายคำ ออกเป็นประเภทต่าง ๆ อีกมี อ การันต์เป็นต้น ซึ่งในบทก่อน เราได้ศึกษาเฉพาะ อ การันต์ ปุงลิงค์มาแล้ว.  ในบทนี้จะได้ทำความรู้จักกับการันต์ที่เหลือในลิงค์ทั้ง ๓ อีกเป็นลำดับไป. หากกำหนดหลักการแปลงรูปกับวิภัตติต่าง ๆ มี สิ เป็นต้นใน อ การันต์นั้นได้แล้ว แม้ที่เหลือก็เป็นอันง่าย เพราะมีหลักการเดียวกัน จะต่างกันเป็นบางวิภัตติเท่านั้น.

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๔๗ แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล

ชื่อหนังสือ
ผู้แต่ง/ผู้แปล/ผู้รวบรวม
อภิธานัปปทีปิกา แปล
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ
อภิธานวัณณนา
พระมหาสมปอง มุทุโต
อภิธานนัปปทีปิกาสูจิ
พระสุภูติเถระ
กัจจายนขั้นพื้นฐาน
พระชนกาภิวังสะ แต่ง, วิชานนท์ ส่าน้อย และ พระมหาประวัติ ธมฺมรกฺขิโต แปล
คู่มือเรียนภาษาบาลีด้วยตนเอง
ประดิษฐ์ บุณยภักดี
ปทรูปสิทธิบาลี
พระพุทธัปปิยะเถระ
ปทรูปสิทธิแปลและอธิบาย
พระมหาคุณารักษ์ อภิวฑฺฒโน  และคณะ
ปทรูปสิทธิมัญชรี
พระคันธสาราภิวังสะ
ปทวิจารทีปนีแปล
พระมหานิมิต ธมฺมสาโร
กัจจายนสารมัญชรี
พระคันธสาราภิวังสะ
ปทานุกรมพระไตรปิฎกบาลี -ไทย
กองการจัดแปล ปทานุกรมพระไตรปิฎก ฉบับบาลี ไทย
พจนานุกรมบาลีไทย ฉบับนักศึกษา
พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) รศ. ดร. จำลอง สารพัดนึก
บาลีไวยากรณ์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
อธิบายบาลีไวยากรณ์
คณะกรรมการแผนกตำรา
บาลีไวยากรณ์เบื้องต้น สำหรับนักศึกษาใหม่
พระมหาสมปอง มุทิโต
แบบเรียนบาลีไวยากรณ์สมบูรณ์แบบ
เวทย์ วรัญญู
วากยสัมพันธ์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
อธิบายวากยสัมพันธ์
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (ครั้งดำรงตำแหน่งพระโศภณคณาภรณ์)
ไวยากรณ์บาลี
รศ. ดร. สุภาพรรณ ณ บางช้าง
สัททนีติ แปล
พระมหานิมิต ธมฺมสาโร และ จำรูญ ธรรมดา
ธาตุปปทีปิกา
ทวี ธรมธัช.
อุภยพากย์ปริวรรค
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
คู่มือการแต่งไทยเป็นมคธ
พระธรรมกิตติวงษ์ วัดราชโอรสาราม
แนะแนวการแต่งไทยเป็นมคธ
คณะกรรมการแผนกตำรา
แนะแนวการศึกษาบาลี
บุญสืบ อินสาร
ธัมมปทัฏฐกถา บาลี
พระพุทธโฆสเถระ
ธัมมปทัฏฐกถา แปลโดยพยัญชนะ
บุญสืบ อินสาร
คัณฐีบทพระธัมมปทัฏฐกถา
คณะกรรมการแผนกตำรา
เทคนิคการแปลธรรมบท
บุญสืบ อินสาร
หลักเกณฑ์การแปลบาลีและสัมพันธ์
เวทย์ วรัญญู


×vØ

๔๖ แบบฝึกหัดทบทวนบทลงทุติยาวิภัตติ

แบบฝึกหัดทบทวนที่ ๕

๑. จงบอกความหมายโดยสังเขปของคำศัพท์ดังต่อไปนี้
          ๑) บทขยายกริยา                    ๒) วิกติกัตตา              ๓) อวุตตกรรม
            ๔) สัมปาปุณียกรรม                ๕) อกถิตกรรม            ๖) วิกติกรรม
              ๗) กริยาวิเสสนะ              ๘) อัจจันตสังโยคะ       ๙) กรรมตรงและกรรมรอง

๔๖ ข้อสังเกตบททุติยาวิภัตติ

ข้อสังเกต
         บททุติยาวิภัตติเหล่านี้ เมื่อพบเห็นในบางประโยค ก็จะปรากฏอยู่ถึง ๒-๓ บทด้วยกัน. ปัญหาอยู่ที่ว่า บทใด ควรจะแปลว่าอย่างไร. ข้อกำหนดเหล่านี้เป็นเกณฑ์กว้าง ๆ ในการตัดสินใจได้.

๔๕ บทลงทุติยาวิภัตติ อกถิตกรรม วิกติกรรม กริยาวิเสสนะ

อกถิตกรรม (กะ, เฉพาะ)
         บททุติยาวิภัตติที่ใช้ขยายกริยาบทในฐานะเป็นที่รับพูด คือ เป็นผู้พูดด้วย ชื่อว่า อกถิตกรรม ให้แปลว่า กะ หรือ เฉพาะ เช่น
         มาณโว สุคตํ กถํ วเทติ อ. มานพ ย่อมกราบทูล ซึ่งคำพูด กะพระสุคต.

๔๔ บททุติยาวิภัตติ การิตกรรม - อัจจันตสังโยคะ

การิตกรรม (ยัง)
         ๓. บททุติยาวิภัตติ ที่เป็นที่ถูกใช้ให้ทำ เรียกชื่อว่า การิตกรรม แปลว่า ยัง หมายถึง เป็นบทที่ใช้ขยายกริยาในฐานะที่เป็นผู้ถูกใช้ให้ทำหรือผู้ทำในฐานะผู้รับใช้.

๔๓ บทขยายกริยาที่เป็นทุติยาวิภัตติ - อวุตตกรรมและสัมปาปุณิยกรรม

อวุตตกรรม (ซึ่ง)
         ๑. บทที่ประกอบด้วยทุติยาวิภัตตินี้ ถ้าใช้เป็นบทกรรมอันเป็นสิ่งที่ถูกทำ ให้แปลว่า ซึ่ง มีชื่อเรียกบทกรรมขนิดนี้โดยเฉพาะว่า อวุตตกรรม แปลว่า กรรมที่ไม่ได้ถูกกริยาอาขยาตกล่าวโดยเป็นประธาน. [1]

๔๒ บทขยายกริยาที่เป็นนามบทประกอบด้วยวิภัตติต่างๆ

๑. นามบทที่ประกอบด้วยวิภัตติต่าง ๆ  
         ได้แก่ นามบทที่ประกอบด้วยวิภัตติอื่นมีทุติยาวิภัตติเป็นต้น มีสัตตมีวิภัตติเป็นที่สุดที่มีความเกี่ยวข้องกับกริยา เว้นปฐมาวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติทั้งหมด และสัตตมีวิภัตติบางอย่างที่เป็นบทขยายประธาน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนว่าด้วยบทประธาน.

๑ บทนามที่ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ
         บทนามที่ประกอบด้วย อํ และ โย ทุติยาวิภัตติ ที่มีสำเนียงอายตนิบาตว่า ที่ปรากฏในแบบเรียนว่า ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น.  และที่ปรากฏอยู่นอกแบบเรียนอีกว่า กะ,เฉพาะ, ให้เป็น, ว่าเป็น. รวมไปถึงที่ไม่ต้องออกสำเนียงอายตนิบาตให้แปลเพียงศัพท์เดิมด้วย ใช้เป็นบทขยายกริยาอย่างเดียว มีชื่อเรียกโดยเฉพาะและความหมายโดยสังเขปดังตารางนี้

ชื่อเรียก
คำแปล
ความหมายโดยสังเขป
หมายเหตุ
อวุตตกรรม
ซึ่ง
เป็นที่ทำ
จัดเป็นบทที่ขยายกริยาประเภทนี้โดยตรง และขยายกริยาได้อย่างเดียว
สัมปาปุณียกรรม
สู่
เป็นที่ไปถึง
การิตกรรม
ยัง
เป็นที่ใช้ให้ทำ
อกถิตกรรม
กะ, เฉพาะ
เป็นที่รับพูด
วิกติกรรม
ให้เป็น
เป็นบทกรรมที่ถูกเปลี่ยนจากบทกรรมเดิม
 ๒ ประเภทนี้ ไม่เข้าเกณฑ์ของบทที่ขยายกริยาประเภทนี้
กริยาวิเสสนะ
-
เป็นคุณบทแห่งกริยา
อัจจันตสังโยคะ
สิ้น, ตลอด
เป็นที่ลุล่วง
ขยายได้ทั้งนามและกริยา

         จะได้กล่าวบททุติยาวิภัตติทั้งหมดเหล่านี้ไปตามลำดับ


๔๑ บทขยายกริยา

บทที่ ๔ บทขยายกริยา
         บทประธานมีบทขยายเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้นโดยประการใด แม้บทกริยา จำต้องมีบทอื่นมาเกี่ยวข้องเพื่อทำให้มีความสมบูรณ์ชัดเจนขึ้น โดยประการนั้นเช่นกัน. บัดนี้ บทขยายกริยามีลักษณะเช่นใด มีกี่ประเภท จะปรากฏอยู่ในตำแหน่งใดของประโยค จะได้ชี้แจงสาระสำคัญเหล่านี้ เพื่อความแจ่มแจ้งในบทกริยานั้น.

๔๐ ข้อสรุปของภาคกริยา และแบบฝึกหัดทบทวน

ข้อกำหนดสำหรับภาคกริยา
         ๑. กริยาบท ได้แก่ ธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติและปัจจัยแล้ว
         ๒. กริยาบททำหน้าที่กำหนดความสิ้นสุดประโยค คือ ถ้าสิ้นสุดเฉพาะข้อความของประธาน แต่ยังมีกระแสความต่อ เรียกว่า อัพภันตรกริยา แต่ถ้าสิ้นกระแสความทั้งประโยค เรียกว่า กริยาคุมพากย์

๓๙ วิธีประกอบประโยค

๑๐ วิธีประกอบประโยค
         เมื่อนำองค์ประกอบทั้งหมดดังที่กล่าวมานั้น มาปรุงรวมเข้าแล้วย่อมเป็นกริยาอาขยาตบท โดยแบ่งออกตามลักษณะที่คุมส่วนประกอบต่าง ๆ เข้าเป็นประโยค ดังนี้

๓๘ ข้อสรุปอาขยาต

ข้อกำหนดในกริยาอาขยาตทั้งหมด ดังนี้
         ๑) อาขยาต ได้แก่ ศัพท์ที่กล่าวถึงกริยา คือ อาการหรือการกระทำของคำนาม
         ๒) คำว่า กริยา ในที่นี้ได้แก่ ศัพท์ที่เรียกว่า ธาตุ ที่ยังไม่ได้ประกอบกับวิภัตติและปัจจัย. ซึ่งตรงกับ ลิงค์ หรือ ศัพท์เดิม ของนามบท ที่ยังไม่ได้ประกอบกับวิภัตติ
         ๓) กริยาบททั้งปวงล้วนประกอบขึ้นจากธาตุ ต้องมีธาตุเป็นที่ตั้ง แม้คำนาม หากจะสืบค้นจริง ๆ ก็ล้วนสำเร็จมาแต่ธาตุเช่นกัน
         ๔) องค์ประกอบของกริยาอาขยาตบท เมื่อกล่าวโดยพิสดารมี ๘ คือ ธาตุ วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ปัจจัย วาจก แต่เมื่อกล่าวโดยสรุป แล้วมี ๓ เท่านั้น คือ ธาตุ วิภัตติ และปัจจัย  เพราะวิภัตติเป็นเครื่องจำแนกธาตุเหล่านั้นให้เป็นกาล บท วจนะ บุรุษ,  ส่วน ปัจจัย เป็นเครื่องกำหนดวาจกอีกทีหนึ่ง จึงย่อได้เป็น ๓ ประการ
         ๕) ธาตุ แบ่งเป็นหมวดใหญ่ ๆ โดยอาศัยปัจจัยที่แบ่ง เป็น ๘ หมวด แต่เมื่อว่าโดยลักษณะของบทกรรมมารับมี ๒ อย่าง คือ สกัมมธาตุและอกัมมธาตุ. และเมื่อว่าโดยเสียงมี ๒ อย่าง คือ ที่มีเสียงเดียวและมีหลายเสียง
         ๖) วิภัตติ แบ่งโดยกาล ๓ คือ อดีต ปัจจุบันและอนาคตรวมไปถึงที่พ้นจากกาลด้วย มี ๘ หมวด ๆ ๑๒ ตัวรวมเป็น ๙๖ ตัว.
         ๗) ในแต่ละหมวดที่มี ๑๒ ตัวนั้น แบ่งเป็น ๒ บท ๆ ละ ๖ ตัว. ในแต่ละ ๖ นั้น แบ่งเป็นฝ่ายเอกวจนะ ๓ และ พหุวจนะ ๓. และแบ่งโดยบุรุษทั้ง ๓ มีบุรุษละ ๔ ตัว คือ บทละ ๖ ละ ๒ วจนะ.
         ๘) ปัจจัยเป็นเครื่องจำแนกวาจกออกเป็น ๕ วาจก โดยกัตตุวาจกเป็นต้น.
        

****

๓๗ องค์ประกอบของอาขยาต - วาจก

๘. ปัจจัย
         ปัจจัย หมายถึง กลุ่มคำสำหรับประกอบเข้าท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อให้สำเร็จรูปเป็นบท โดยกำหนดให้บทนั้นกล่าววาจกดังนี้ คือ

๓๖ องค์ประกอบของอาขยาต - วจนะ บุรุษ วาจก

๕. วจนะ
            วจนะ คือ คำพูดที่กล่าวถึงจำนวนของนามศัพท์ที่เป็นประธานของกิริยาอาขยาต โดยมีวิภัตติเป็นตัวบอกถึงจำนวนของนามศัพท์นั้น ๆ. ในอาขยาตมีอยู่ ๒ วจนะ คือ
         ๑. เอกวจนะ กิริยาที่กล่าวถึงประธานอันเป็นเจ้าของกิริยาคนเดียว สิ่งเดียว.
         ๒. พหุวจนะ กิริยาที่กล่าวถึงประธานอันเป็นเจ้าของกริยามากกว่าคนเดียว หรือสิ่งเดียวตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป.

******

๖. บุรุษ
         บุรุษ หมายถึง บุคคล หรือสิ่งของทั่วไป เช่น มนุษย์ เทวดา มาร พรหม สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น.      
         บุรุษ แบ่งเป็น ๓ คือ
         ๑. ปฐมบุรุษ กิริยาอาการของคนที่เราพูดถึง เจ้าของกิริยาอาการ ได้แก่ ศัพท์ทั้งหลาย ยกเว้น ตุมฺห และ อมฺห. เช่น ฝ่ายเอกวจนะว่า มนุสฺโส อ.มนุษย์ และ ฝ่าย             พหุวจนะ ว่า มนุสฺสา อ.มนุษย์ท. เป็นต้น
         ๒. มัชฌิมบุรุษ กิริยาอาการของผู้พูดด้วย เจ้าของกิริยาอาการของบุรุษนี้ ได้แก่ ตุมฺห ศัพท์ คือฝ่ายเอกวจนะว่า  ตฺวํ แปลว่า อ.ท่าน  และ ฝ่ายพหุวจนะ ว่า ตุมฺเห แปลว่า อ.ท่าน ท.
         ๓.  อุตตมบุรุษ กิริยาอาการของผู้พูดเอง เจ้าของกิริยาอาการของบุรุษนี้ ได้แก่ อมฺห ศัพท์  คือ ฝ่ายเอกวจนะว่า อหํ อ. เรา และ ฝ่ายพหุวจนะ ว่า มยํ. อ.เรา ท.
         อนึ่ง ในปฐมบุรุษนั้น ได้แก่ นามบททั้งหมดที่ประกอบด้วยฐมาวิภัตติ ส่วนในมัชฌิมบุรุษ และ อุตตมบุรุษ ได้แก่ สัพพนาม ๒ บท คือ ตุมฺห แปลว่า คุณ, ท่าน และ อมฺห แปลว่า ฉัน, ข้าพเจ้า. ที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ (รายละเอียดแห่งสัพพนามทั้งสิ้นจะพบข้างหน้า แต่เรื่องของกริยาอาขยาตบท ให้กำหนดความเพียงเท่านี้ เพราะบุรุษในอาขยาตบทหมายถึง ๒ ศัพท์ที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเท่านั้นดังกล่าว)

ขัอกำหนดในตอนนี้
         ๑. บุรุษและวจนะนั้น ต้องกำหนดให้ตรงกับบทประธานเสมอ ห้ามใช้สลับกัน
         ๒. องค์ประกอบทั้ง ๔ นี้แฝงตัวอยู่ในวิภัตตินั่นเอง

******

๗. วาจก
         ธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ และปัจจัย (ที่จะกล่าวข้างหน้า)จัดเป็นวาจก คือ กล่าวหรือบ่งถึงนามบทที่เป็นประธานของกริยาบท มี ๕ อย่าง คือ
         ๑. กัตตุวาจก คือ กิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงผู้ทำกิริยา เป็นกิริยาของผู้ทำนั้นเอง หมายถึง เป็นกิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงประธาน โดยประธานเป็นผู้แสดงกิริยานั้นเอง
         ๒. กัมมวาจก  คือ กิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงกรรม คือ สิ่งที่บุคคลพึงทำ ได้แก่ แสดงว่าเป็นกิริยาของกรรมนั้นเอง อธิบายว่า เป็นกิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงประธาน โดยประธานเป็นผู้ถูกทำ      
         ๓. ภาววาจก คือ กิริยาศัพท์ที่กล่าวแต่สักว่า ความมีความเป็น เท่านั้น ไม่กล่าว กัตตาและกรรม หมายความว่า เป็นกิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงเพียงความเป็นไปของกิริยาอาการ
         ๔. เหตุกัตตุวาจก คือ กิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงผู้ใช้ให้คนอื่นทำ คือ แสดงว่า เป็นกิริยาของผู้ใช้ให้ผู้อื่นทำนั้น หมายความว่า เป็นกิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงประธาน โดยประธานเป็นผู้ใช้ให้คนอื่นแสดงกิริยาอาการหรือเป็นเหตุให้คนอื่นแสดงกิริยาอาการ
        ๕. เหตุกัมมวาจก  คือ กิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงบุคคลที่ถูกผู้อื่นใช้ให้ทำ คือ แสดงว่าเป็นกิริยาของผู้ที่ถูกใช้ให้ทำนั้น กิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงประธาน โดยประธานเป็นตัวถูกบุคคลอื่นใช้ให้ทำ
        
         ข้อกำหนดในตอนนี้
         ๑. วาจกทั้ง ๕  นี้ เป็นสำคัญของเนื้อความทั้งปวงในการแต่งหนังสือ เพราะฉะนั้น  ผู้ศึกษา  พึงกำหนดวาจกทั้ง ๕  นี้ให้เข้าใจแม่นยำ.  
         ๒. การที่จะกำหนดวาจกได้ว่า กิริยานั้น เป็นวาจกอะไรต้องกำหนดดูปัจจัยสำหรับประกอบกับวาจกนั้น ๆ หมายความว่า ในขณะที่วิภัตติทำหน้าที่บอกบท (คือ ปรัสสบทและอัตตโนบท) บุรุษ วจนะ และกาล. ปัจจัยจะทำหน้าที่บอกบทที่เป็นประธานของประโยคว่าเป็น ผู้ทำ ผู้ใช้ให้ผู้อื่นทำ เป็นบทกรรม หรือเป็นเพียงภาวะ. สำหรับเรื่องของปัจจัยจะได้ศึกษากันในหัวข้อต่อไป.


********

๓๕ องค์ประกอบของอาขยาต - บท

๔. บท
         บท หมายถึง เป็นเหตุให้รู้บทที่เป็นเจ้าของกิริยา. ในวิภัตติทั้ง ๘ หมวดนั้น แต่ละหมวดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ

๓๔ องค์ประกอบของอาขยาต - กาล

๓ กาล
            กาล คือ เวลาที่กิริยาอาการนั้น ๆ เกิดขึ้น มี ๓ อย่างคือกิริยาอาการที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน โดยทั่วไปใช้วิภัตติเป็นตัวกำหนดกาล เช่น ปโรกขาวิภัตติ เป็นตัวกำหนดกาลอันเป็นอดีต เป็นต้น.
         กาลแบ่งออกเป็น ๓ คือ

๓๓ องค์ประกอบของอาขยาต - วิภัตติ

๒. วิภัตติ.
            วิภัตติ คือ กลุ่มคำที่ทำหน้าที่จำแนกแบ่งแยกความหมายของคำกิริยาให้เป็นหมวดต่าง ๆ โดยช่วงเวลาที่เกิดกิริยานั้น ๆ เป็นต้น จึงได้ชื่อว่า วิภัตติ จัดว่า เป็นองค์ประกอบที่อยู่หลังสุดของคำกิริยานั้น และเป็นคนละกลุ่มกับวิภัตตินาม ดังนั้น จึงเรียกชื่อว่า วิภัตติอาขยาต มีศัพท์ทางวิชาการว่า อาขยาติกวิภัตติ ส่วนนามนั้น เรียกว่า นามิกวิภัตติ.