วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๓๗ องค์ประกอบของอาขยาต - วาจก

๘. ปัจจัย
         ปัจจัย หมายถึง กลุ่มคำสำหรับประกอบเข้าท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อให้สำเร็จรูปเป็นบท โดยกำหนดให้บทนั้นกล่าววาจกดังนี้ คือ

         ๑.ปัจจัยในกัตตุวาจก ได้แก่ วิกรณปัจจัย ทั้ง ๑๖ ตัวที่แบ่งธาตุออกเป็นหมวดๆ
         ๒ ปัจจัยในกรรมวาจก ได้แก่ ปัจจัย พร้อมทั้ง อิ วัณณะอาคม (คือ อิ อี) หลังธาตุที่มีกรรม (สกัมมธาตุ).
         ๓ ปัจจัยในเหตุกัตตุวาจก ที่เรียกว่า การิตปัจจัย ได้แก่ เณ, เณย, ณาเป, ณาปย.
            ๔ ปัจจัยในเหตุกัมมวาจก ที่มีชื่อเรียกว่า การิตปัจจัย เช่นกัน ได้แก่ ปัจจัยในเหตุกัตตุวาจก คือ เณ ณย ณาเป ณาปย พร้อมทั้ง ย และอิ อีอาคม เช่นเดียวกับในกัมมวาจก เป็น ณีย ณยีย ณาปยีย ณาปีย .
            ๕ ปัจจัยในภาววาจก ได้แก่ปัจจัย  เช่นเดียวกับกัมมวาจก ไม่ต้องลง อิ หรือ อี อาคม. และต้องลงได้เฉพาะวิภัตติฝ่ายอัตตโนบท ปฐมบุรุษ เอกวจนะเท่านั้น. และธาตุที่ลง ย ปัจจัยต้องเป็นอกัมมธาตุ.
        
๑. ปัจจัยประจำกัตตุวาจก
         วิกรณปัจจัยที่ได้กล่าวไปแล้วในเรื่องของธาตุนั้นเอง เป็นปัจจัยที่บ่งถึงกัตตุวาจก โดยไม่ต้องเพิ่มเติมปัจจัยอื่น ๆ เป็นพิเศษเหมือนในวาจกอื่น ๆ เพื่อเป็นการทบทวนความจำ จะได้นำมาแสดงไว้อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
         ๑. ภูวาทิคณะ คณะธาตุมี ภู ธาตุเป็นต้น ลง หรือ เอ ปัจจัย
         ๒. รุธาทิคณะ คณะธาตุมี รุธิ ธาตุเป็นต้น ลง ปัจจัยเป็นต้นและนิคคหิตอาคมหน้าพยัญชนะที่สุดธาตุแล้วแปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของพยัญชนะที่สุดธาตุ
         ๓. ทิวาทิคณะ คณะธาตุมี ทิว ธาตุเป็นต้น ที่ลง ปัจจัย
         ๔.  สวาทิคณะ คณะธาตุมี สุ ธาตุเป็นต้น ที่ลง ณุ, ณา, อุณา ปัจจัย
         ๕.  กิยาทิคณะ คณะธาตุมี กี ธาตุเป็นต้นที่ลง า ปัจจัย
         ๖.  คหาทิคณะ คณะธาตุมี คห ธาตุเป็นต้น ที่ลง ปฺป, ณฺหา ปัจจัย
         ๗.  ตนาทิคณะ คณะธาตุมี ตน ธาตุเป็นต้น ที่ลง โอ, ยิร ปัจจัย
         ๘.  จุราทิคณะ คณะธาตุมี จุร ธาตุเป็นต้น ที่ลง เณ, ณย ปัจจัย
         ในกัตตุวาจก นำปัจจัยเหล่านี้ต่อท้ายธาตุและนำวิภัตติเข้าประกอบเป็นลำดับสุดท้ายก็สำเร็จรูปเป็นกิริยาอาขยาตบท กัตตุวาจกเรียบร้อยแล้ว เช่น
         ภู + อ + ติ วิภัตติ เป็น ภวติ. (มีการแปลง อู ที่ ภู เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว ในเพราะสระ อ ข้างหลัง)
         สุ + ณา + ติ เป็น สุณาติ ดังนี้เป็นต้น.
         สำหรับธาตุบางหมวดมีการลง อาคม ประจำหมวดธาตุ ก็ให้ลง อาคม ประจำหมวดธาตุนั้นๆ ด้วย เช่น รุธ + นิคคหิต อาคม + เอ + ติ วิภัตติ เป็น รุํเธติ แล้วแปลง นิคคหิตเป็น น สำเร็จรูปเป็น รุนฺเธติ.
๒ ปัจจัยประจำกัมมวาจก และภาววาจก
         ในกัมมวาจก ให้ลง ย ปัจจัย พร้อมทั้ง อิ อี หน้า ย ปัจจัยนั้นด้วย เช่น กร ธาตุ ในความกระทำ + อิ + ย + เต เป็น กริยเต. (อันเขา) ย่อมทำ. ปจ + อิ + ย + เต ปจิยเต. ที่ไม่ลง อิ อี อาคมก็มีบ้าง เช่น ปจ + ย + เต ปจฺจเต, ลภ + ย + เต เป็น ลพฺภเต ทั้งนี้ ย ปัจจัย ต้องแปลงรูปเป็นตัวอื่น ๆ ตามหลักการสำเร็จรูปในกัมมวาจก (จะพบข้างหน้า).
ปัจจัยในเหตุกัตตุวาจก
         ปัจจัยในเหตุกัตตุวาจกมี ๔ ตัว คือ เณ , ณย, ณาเป, ณาปย. ลงแล้วให้ลบ ณฺ ซึ่งมีชื่อว่า อนุพันธ์ หมายถึงเป็นอักษรที่ท่านประกอบไว้เพื่อแสดงให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะมีขึ้นกับตัวอักษรของบทที่มันเกี่ยวข้องด้วย โดยการวุทธิเป็นต้น สำหรับตัวมันเองก็จะต้องถูกลบไป เพราะไม่มีการประกอบอยู่ในบทที่สำเร็จรูปแล้ว. เช่น ทา + ณาเป + ติ เป็น  ทาเปติ ใช้ให้ให้อยู่, สุ + เณ + ติ สาเวติ ใช้ให้ฟังอยู่,  ชิ + ณย + ติ ชยาปยติ ให้ชนะอยู่  ลภ + ณาปย + ติ ลาภาปยติ ให้ได้อยู่ เป็นต้น.
๔. ปัจจัยในเหตุกัมมวาจก
            ปัจจัยในเหตุกัมมวาจกให้นำปัจจัยให้เหตุกัตตุวาจก ดัวใดตัวหนึ่งตามควรแก่ธาตุ พร้อมทั้ง ย ปัจจัยและอิ อี อาคม ในกัมมวาจกมาประกอบกันเข้านั่นเอง.
        
ประโยคพื้นฐานสำหรับกำหนดเรื่องวาจกและปัจจัย
         ๑.  สูโท โอทนํ ปจติ พ่อครัว ย่อมหุงซึ่งข้าวสุก. นี้เป็นกัตตุวาจก
         ๒.  สูเทน โอทโน ปจิยเต. ข้าวสุก อันพ่อครัว หุงอยู่. นี้เป็นกัมมวาจก.
         ๓. สามิโก สูทํ โอทนํ ปาเจติ นาย ยังพ่อครัว ให้หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก. นี้เป็นเหตุกัตตุวาจก.
         ๔. โอทนํ สูโท สามิเกน ปาจาปิยเต. พ่อครัว  อันนาย ให้หุงอยู่ซึ่งข้าวสุก. นี้เป็น  เหตุกัมมวาจก.
         ๕. เตน ภูยเต อันเขาเป็นอยู่
         ข้อกำหนด จากสุทธกัตตาในประโยคกัตตุวาจก ก็มาเป็น การิตกรรม ในเหตุกัตตุวาจก. เช่น เทวทตฺโต ในกัตตุวาจกมาเป็น เทวทตฺตํ ในเหตุกัตตุวาจก.
       จากบทกรรมในประโยคกัตตุวาจก มาเป็นวุตตกรรม ในประโยคกรรมวาจก โดยประกอบเป็นปฐมาวิภัตติแล้วเรียกชื่อว่า วุตตกรรม. โอทนํ ในกัตตุวาจก เป็น โอทโน ในกรรมวาจก
         จากอวุตตกรรมที่เรียกว่า การิตกรรม ในประโยคเหตุกัตตุวาจก ก็มาเป็น  วุตตกรรม ในเหตุกัมมวาจก เช่น สูทํ มาเป็น สูโท.
         อย่างไร ?
        ประโยคที่ ๑  สูโท โอทนํ ปจติ พ่อครัว หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก.  เป็น กัตตุวาจก คือ แสดงถึงนามที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเป็นประธาน เป็นกัตตา  ได้แก่ สูโท พ่อครัว อันเป็นผู้หุงเอง.
        อธิบายสูโท  [พ่อครัว]  เป็นกัตตา ผู้ทำ  เรียกว่า สยกัตตา คือเป็นผู้หุง  และเป็นบทประธานของกิริยาศัพท์  คือ ปจติ  ท่านประกอบปฐมาวิภัตติ.
        โอทนํ  ซึ่งข้าวสุก  เป็นกรรม  สิ่งที่บุคคลพึงทำ  คือเป็นสิ่งที่บุคคลพึงหุง  ในกิริยาศัพท์  คือ ปจติ  ท่านประกอบทุติยาวิภัตติ. บทกรรม  ไม่เป็นสำคัญในวาจก  เพราะว่าถ้ากิริยาศัพท์เป็นธาตุมีกรรมเหมือน  ปจติ,  บทกรรม นั้นก็มีถ้ากิริยาศัพท์เป็นธาตุไม่มีกรรมก็ไม่มี.
        ปจติ  เป็นกิริยาอาขยาตปจฺ  ธาตุ  เป็นไปในความ  หุง   ปัจจัยติ  วัตตมานาวิภัตติ.  บอกปัจจุบันกาลปรัสสบท, ปฐมบุรุษเอกวจนะ  เป็นกัตตุวาจก  กล่าวผู้ทำ  คือ บอกว่าเป็นกิริยาของ  สูโท  ซึ่งเป็นผู้หุง  ด้วยเครื่องหมาย  คือบุรุษ  และวจนะเสมอด้วยบุรุษและวจนะของ  สูโท.       
            ประโยคที่ ๒ สูเทน  โอทโน  ปจิยเต  ข้าวสุก  อันพ่อครัว หุงอยู่.   เป็น กัมมวาจก คือ แสดงถึงบทนามคือ โอทโน ข้าวสุก ที่เคยเป็นบทกรรมในกัตตุวาจก แต่ยกขึ้นเป็นประธาน เรียกว่า วุตตกรรม       
         อธิบาย :-  สูเทน  อันพ่อครัว  เป็นกัตตา  ผู้ทำ  คือเป็นผู้หุง โดยนัยก่อน  ในกิริยาศัพท์  คือ  ปจิยเต,  แปลกแต่ไม่เป็นบทประธานและท่านประกอบตติยาวิภัตติ.
        โอทโน  เป็นกรรมโดยนัยก่อนแต่เป็นประธานของกิริยาศัพท์คือ ปจิยเต  ท่านประกอบปฐมาวิภัตติ.
        ปจิยเต  เป็นกิริยาอาขยาตปจฺธาตุ เป็นไปในความหุง,   ปัจจัยและ  อิ  อาคมเต  วัตตมานาวิภัตติ  บอกปัจจุบันกาล, อัตตโนบทปฐมบุรุษเอกวจนะเป็นกัมมวาจก  กล่าวสิ่งที่บุคคลพึงทำ  คือ  บอกว่าเป็นกิริยาของ  โอทโน  ที่เป็นของอันบุคคลพึงหุงด้วยเครื่องหมาย  คือ  บุรุษและวจนะ  อันเสมอกันโดยนัยก่อน.
         ประโยคที่ ๓ สามิโก  สูทํ โอทํ  ปาเจติ  นาย  ยัง  [หรือใช้]  พ่อครัวให้หุงอยู่  ซึ่งข้าวสุก.เป็น เหตุกัตตุวาจก คือ แสดงถึงเหตุกัตตา กัตตาอันเป็นเหตุให้ทำ ได้แก่ สามิโก นาย ผู้ใช้ คือเป็นเหตุให้พ่อครัวหุงข้าวสุก. บทว่า สูทํ ยังพ่อครัว
      อธิบายสามิโก  นาย  เป็นเหตุกัตตา  ผู้ทำอันเป็นเหตุ  คือเป็นผู้ใช้ มิได้ทำเอง  และเป็นบทประธานของกิริยาศัพท์  คือ ปาเจติ.  ท่านประกอบปฐมาวิภัตติ เหมือน กัตตา.
        สูทํ ยัง  [หรือใช้]  พ่อครัว  จากที่เคยเป็นสยกัตตาในประโยคกัตตุวาจก ก็มาเป็นบทการิตกรรม คือ เป็นผู้ที่ถูกนายใช้ให้ทำ ในกิริยาศัพท์  คือ  ปาเจติ,  ท่านประกอบทุติยาวิภัตติบ้าง ตติยาวิภัตติบ้าง.
        โอทนํ ซึ่งข้าวสุก  เป็นกรรม  ดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
        ปาเจติ เป็นกิริยาอาขยาต. ปจฺ  ธาตุ  เป็นไปในความหุงเณ  ปัจจัยติ วัตตมานาวิภัตติบอก  กาล  บท  วจนะ  บุรุษ  ดังก่อน  เป็นเหตุกัตตุวาจก  กล่าวกัตตุผู้เหตุ  คือ  บอกว่า  เป็นกิริยาของ  สามิโก  ซึ่งเป็นผู้ใช้หุงนั้นด้วยเครื่องหมายที่กล่าวแล้ว.
         ประโยคที่ ๔ สามิเกน  สูโท  โอทนํ  ปาจาปิยเต  พ่อครัว  อันนาย  ให้หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก เป็น เหตุกัมมวาจก คือ แสดงถึง การิตกรรม บทกรรมของบทที่ประกอบด้วยการิตปัจจัย ได้แก่ กรรมในประโยคเหตกัตตุวาจกที่ประกอบด้วยการิตปัจจัย ๔ ตัวเหล่านั้น มี ณย ปัจจัยเป็นต้น. เมื่อว่าโดยความหมาย ได้แก่ บทที่ถูกผ้อื่น คือ สามิโก นาย ใช้ให้ทำ. เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เหตุกรรม ได้แก่ กรรมของเหตุให้กระทำ ในประโยคเหตุกัตตุวาจก ได้แก่ สูโท พ่อครัว จากที่เคยเป็นสยกัตตา  ในกัตตุวาจก หรือเป็นบทการิตกรรม ในประโยคเหตุกัตตุวาจก ก็กลายมาเป็นบทประธานในประโยคนี้ แต่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ เพื่อแสดงความเป็นประธาน แล้วเรียกชื่อใหม่ว่า วุตตกรรม บทกรรมที่ถูกกล่าวไว้โดยเป็นบทประธาน ส่วนบทที่เคยเป็นสุทธกัตตาในเหตุกัตตุวาจก คือ สามิโก ก็มาเป็น สามิเกน แต่ไม่ได้เป็นบทประธาน จึงเรียกชื่อว่า อนภิหิตกัตตา กัตตาที่อาขยาตบทไม่ได้ระบุถึง ซึ่งประกอบด้วย ตติยาวิภัตติ
        อธิบาย :   สามิเกน   อันนาย  เป็นเหตุกัตตา  คือ  เป็นผู้ใช้ในกิริยาศัพท์  คือ   ปาจาปิยเต,  แต่ไม่เป็นประธานของกิริยานั้นท่านประกอบตติยาวิภัตติ.
        สูโท พ่อครัว  เป็นผู้ถูกใช้ให้ทำ ในกิริยาศัพท์ คือ ปาจาปิยเต นั้น, เป็นประธานของกิริยาศัพท์  คือ  ปาจาปิยเต  ท่านประกอบปฐมาวิภัตติ.
        โอทนํ ข้าวสุก  เป็นบทกรรม  คือ  สิ่งที่บุคคลผู้ถูกใช้ให้ทำนั้นกระทำ
      ปาจาปิยเต  เป็นกิริยาอาขยาต  ปจฺ ธาตุ  เป็นไปในความหุง. ณาเป  และ    ปัจจัยพร้อมทั้ง อิ  อาคมเต  วัตตมานาวิภัตติ  บอก  กาลบท  วจนะ  บุรุษ  ดังก่อนเป็นเหตุกัมมวาจก  กล่าวกรรมของผู้เหตุ คือบอกว่า  เป็นกิริยาของ สูโท ซึ่งเป็นของที่เขาใช้ให้บุคคลหุงนั้นด้วยเครื่องหมายที่กล่าวแล้ว.
            ประโยคที่ ๕ เตน  ภูยเต  อันเขา เป็นอยู่.
        อธิบายเตน  เป็นกัตตาโดยนัยก่อน  ใน  ภูยเตท่านประกอบตติยาวิภัตติ.
        ภูยเต  เป็นกิริยาอาขยาต.  ภู  ธาตุ  เป็นไปในความมี  ความเป็น,   ปจจัยเต วัตตมานาวิภตติ  บอกปัจจุบันกาลอัตตโนบท  ปฐมบุรุษเอกวจนะเป็นภาววาจก      กล่าวความมี  ความเป็น.
        กิริยาศัพท์ที่เป็นภาววาจกนี้  เนื่องจากเป็นกริยาบทที่กล่าวเฉพาะความเป็นไปแห่งอาการของคำนาม ดังนั้น จึงหาผู้กระทำอันเป็นบุรุษทั้ง ๓ โดยเฉพาะเหมือนอย่างในวาจกทั้ง ๔ ได้ ดังนั้น จึงอนุโลมให้ใช้เป็นประถมบุรุษ  เอกวจนะ  อย่างเดียว. ส่วนตัว  กัตตา  จะเป็นพหุวจนะและบุรุษอื่นก็ได้  ไม่ห้าม.


******

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น