วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๔๖ แบบฝึกหัดทบทวนบทลงทุติยาวิภัตติ

แบบฝึกหัดทบทวนที่ ๕

๑. จงบอกความหมายโดยสังเขปของคำศัพท์ดังต่อไปนี้
          ๑) บทขยายกริยา                    ๒) วิกติกัตตา              ๓) อวุตตกรรม
            ๔) สัมปาปุณียกรรม                ๕) อกถิตกรรม            ๖) วิกติกรรม
              ๗) กริยาวิเสสนะ              ๘) อัจจันตสังโยคะ       ๙) กรรมตรงและกรรมรอง

๒. แปลและแต่ง
๒.๑ แปลประโยคเหล่านี้เป็นภาษาไทย (อวุตตกรรม)
          ๑. พุทฺธสฺส สาวโก ธมฺมํ จรติ   
          ๒. ชนา พุทฺธสฺส ธมฺเม ติฏฺฐนฺติ
          ๓. สิสฺโส  ปาลิภาสํ  สิกฺขติ
๒.๒ แต่งประโยคเหล่านี้เป็นภาษาบาลี (อวุตตกรรม)
          ๑. อ.พระพุทธเจ้า ย่อมตรัส ซึ่งธรรม
          ๒. อ. บุรุษ ท. ยืนอยู่ ที่ประตู แห่งบ้าน ใกล้วิหาร
          ๓. อ.ลม ย่อมกระทบ ซึ่งกาย ของมนุษย์.
๒.๓. แปลประโยคเหล่านี้เป็นภาษาไทย (สัมปาปุณียกรรม)
          ๑. วานโร รุกฺขสฺส อคฺคํ อุฏฺฐติ.
          ๒. วุฑฺโฒ พฺราหฺมโณ อารามสฺมึ รมณียํ รุกฺขมูลํ ปวิสติ
          ๓. ทหโร อารญฺญิโก วนสณฺฑํ คจฺฉติ.
๒.๔ จงแต่งเป็นภาษาบาลี (สัมปาปุณียกรรม)
          ๑. อ. ศิษย์ ท. ผู้หนุ่ม ย่อมไป สู่ประตู แห่งบ้าน ของอาจารย์
          ๒. อ. คนจัณฑาล ย่อมนำไป ซึ่งแพะ สู่เมือง.
          ๓. อ. อุบาสก ผู้เฒ่า  ย่อมไป สู่วัด ใหญ่.
๒.๕ แปลประโยคเหล่านี้เป็นภาษาไทย (การิตกรรม)
          ๑. อคฺโค พุทฺโธ สงฺฆํ ธมฺมํ สาเวติ
          ๒. สุนฺทรสฺส ธมฺมสฺส วิปาโก นรํ สุคตึ ปเวสยติ.
๒.๖ แปลประโยคเหล่านี้เป็นภาษาไทย (อัจจันตสังโยค)
          ๑. ทารุณา โจรา ทสมาสํ ลีนนฺติ
          ๒. สปฺปุริสา จตุโยชนํ มคฺคํ พุทฺธํ สรนฺติ
          ๓. ทยปเทเส พุทฺธสาสนิกา เตมาสํ ธมฺมํ จรนฺติ
๒.๗ จงแต่งเป็นภาษาบาลี (อัจจันตสังโยค)
          ๑. อ. สามเณร ท. ผู้ขยัน ในวัดนี้ ท่องอยู่ ซึ่งธรรม ตลอดสามเดือน.
          ๒. อ. พุทธศาสนิกชน ในชมพูทวีป ย่อมนอบน้อม ซึ่งพระธรรม ตลอดทาง มี ๕ โยชน์.
          ๓. อ.เสือ ตัวดุร้าย แลดูอยู่ สิ้น ๗ เดือน.


๒.๘ แปลประโยคนี้เป็นภาษาไทย (อกถิตกรรม)
          ๑. พฺราหฺมโณ ทายกํ ภิกฺขํ ยาจติ
          ๒. กุสโล เวชฺโช อุรคํ วิสํ ทุหติ.
          ๓. อมจฺโจ ชเน อตฺถํ อาโรเจติ.
๒.๙ แต่งประโยคเป็นภาษาบาลี (อกถิตกรรม)
          ๑. พระพุทธเจ้า ย่อมตรัส กะสาวก ท.
          ๒. คนไข้ ย่อมบอก ซึ่งอาการป่วย กะหมอ.
          ๓. ศิษย์ ย่อมไต่ถาม ซึ่งปัญหา กะอาจารย์.
๒.๑๐ แปลประโยคเป็นภาษาไทย (วิกติกรรม)
          ๑. กรุณาวนฺโต กปณํ ปุตฺตํ กโรติ
          ๒. ปุริโส กุมารํ อาจริยํ กโรติ
          ๓. ตาปโส อุณฺหํ สีตํ กโรติ
๒.๑๑ แต่งประโยคเป็นภาษาบาลี (วิกติกรรม)
          ๑. พระอริยะ ย่อมทำ ซึ่งซากศพ ให้เป็นกรรมฐาน.
          ๒. บุรุษ ย่อมทำ ซึ่งเนื้อ ให้เป็นอาหาร.
          ๓. สามเณร ผู้วิเศษ ย่อมกระทำ ซึ่งดิน ให้เป็นน้ำ.
๒.๑๒ แปลประโยคเป็นภาษาไทย (กริยาวิเสสนะ)
          ๑. ชโน ภิกฺขุสํฆํ ขิปฺปํ วนฺทติ.
          ๒. กามโยคํ  มจฺเจ  ทฬฺหํ คณฺหาติ
          ๓. คิลาโน ทุกฺขํ เสติ.
๒.๑๓ แต่งประโยคเป็นภาษาบาลี (กริยาวิเสสนะ)
          ๑. พระนวกะ ในวัด ใกล้บ้าน ย่อมอยู่ สบาย
          ๒. พระเถระ ผู้อาพาธ ย่อมขบฉัน ลำบาก

*****

ตัวช่วย

จรติ  ย่อมประพฤติ                ติฏฺฐนฺติ  ย่อมตั้งอยู่, ยืน                   สิกฺขติ ย่อมศึกษา
ปาลิภาส ภาษาบาลี               วาโย ลม                             กาย  กาย
ผุสนฺติ ย่อมกระทบ                วานร ลิง                             อคฺค ยอด
อุฏฺฐาติ ย่อมปีนขึ้น                วุทฺฑ เฒ่า                            รมณีย น่ารื่นรมย์
ทหร หนุ่ม                           อารญฺญิโก พระผู้อยู่ป่าเป็นวัตร             วนสณฺฑ ราวป่า, ชายป่า
มหนฺต ใหญ่                         อช แพะ                                        อคฺค เลิศ
สาเวติ ให้ฟังอยู่                              สุนฺทร ดี                                       วิปาก วิบาก, ผล
สุคตึ สู่สุคติ                         ทารุณ หยาบช้า                              ทสมาส ๑๐ เดือน
ลีนนฺติ ย่อมแอบแฝง              สปฺปุริส คนดี                                  จตุโยชน  ๔ โยชน์
สรนฺติ ระลึกถึงอยู่                 ทยปเทส ประเทศไทย             พุทฺธสาสนิก พุทธศาสนิกชน
สามเณร สามเณร                 ทกฺข ขยัน                           จณฺฑาล ดุร้าย
สตฺตมาส ๗ เดือน                 ทายก ผู้ให้, ทายก                             พฺราหฺมณ พราหมณ์
ภิกฺข อาหาร                         กุสล ฉลาด, เก่ง                              เวชฺช หมอ     
อุรค งู                                วิส พิษ                               ทุหติ ย่อมรีด
คิลานก คนไข้                      คิลานยํ อาการป่วย                ปุจฺฉติ ย่อมถาม
กรุณาวนฺโต ผู้มีกรุณา, คนใจบุญ         กปณ คนกำพร้า                              ตาปส ดาบส
อุณฺห ของร้อน                      สีต ของเย็น                         อริย พระอริยเจ้า
อสุภ ซากศพ                        กมฺมฏฺฐาน กรรมฐาน             มํส เนื้อ
อาหาร อาหาร                        อิทฺธิก ผู้วิเศษ, มีฤทธิ์             ปฐวึ ดิน
ขิปฺป พลัน, เร็ว                     กามโยค กิเลสชื่อว่า โยคะคือกาม        มจฺจ เหล่าสัตว์, สัตว์ผู้ต้องตาย
ทฬฺห มั่นคง                         นวก พระผู้บวชใหม่               เถร พระเถระ
อาพาธิโก ผู้อาพาธ                   ขาทติ  ย่อมขบฉัน



******

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น