๒. วิภัตติ.
วิภัตติ คือ
กลุ่มคำที่ทำหน้าที่จำแนกแบ่งแยกความหมายของคำกิริยาให้เป็นหมวดต่าง ๆ
โดยช่วงเวลาที่เกิดกิริยานั้น ๆ เป็นต้น จึงได้ชื่อว่า วิภัตติ จัดว่า
เป็นองค์ประกอบที่อยู่หลังสุดของคำกิริยานั้น และเป็นคนละกลุ่มกับวิภัตตินาม
ดังนั้น จึงเรียกชื่อว่า “วิภัตติอาขยาต” มีศัพท์ทางวิชาการว่า อาขยาติกวิภัตติ
ส่วนนามนั้น เรียกว่า นามิกวิภัตติ.
วิภัตตินี้ จำแนกบทกิริยาออกเป็น ๕ ลักษณะ ดังนี้
๑. ลักษณะของการกระทำ
อันเป็นความหมายหลักของวิภัตติ เช่น ในรูปแบบที่ดำเนินไปตามปกติ, สั่งบังคับ,
คาดหมาย, ไหว้วาน, ยินยอมให้ทำ เป็นต้น
๒. กาล คือ ช่วงเวลาที่เกิดการกระทำ แบ่งออกเป็น อดีต
อนาคต ปัจจุบัน
๓. บุรุษ คือ ประธานของกิริยานั้น ๆ ว่าเป็น คนอื่น,
คนที่พูดด้วยและตัวผู้พูดเอง
๔. บท คือ บ่งถึงประธานของกิริยานั้น ๆ ว่า
เป็นบทที่เจ้าของกิริยาอาขยาตนั้นเป็นตัวผู้กระทำเอง (กัตตา) หรือตัวผู้ถูกกระทำ
(กัมม)
๕. วจนะ คือ
จำนวนของตัวประธานว่า เป็นคนเดียวหรือหลายคน.
วิภัตติอาขยาตแบ่งออกเป็น ๘ หมวด คือ วัตตมานา ปัญจมี สัตตมี ปโรกขา หิยยัตนี อัชชัตตนี ภวิสสันติ กาลาติปัตติ.
ในบรรดา ๘ หมวดนั้น
แบ่งออกเป็นหมวดละ ๑๒ ตัว คือ
วัตตมานา - ติ
อนฺติ สิ ถ มิ ม
เต
อนฺเต เส เวฺห เอ เมฺห,
ปัญจมี - ตุ อนฺตุ หิ ถ มิ ม ตํ อนฺตํ สฺสุ โวฺห เอ อามเส,
สัตตมี - เอยฺย เอยฺยุ ํ เอยฺยาสิ เอยฺยาถ เอยฺยามิ
เอยฺยาม เอถ เอรํ เอโถ เอยฺยาโวฺห เอยฺยํ
เอยฺยาเมฺห,
ปโรกขา - อ อุ เอ ตถ อํ มฺห ตถ เร ตฺโถ โวฺห อึ เมฺห
หิยัตตนี - อา อู โอ ตฺถ อํ มฺหา ตฺถ ตฺถุํ เส วฺหํ อึ มฺหเส,
อัชชัตตนี - อี อุํ โอ ตฺถ อึ มฺหา อา อู เส วฺหํ อํ เมฺห,
ภวิสสันติ - สฺสติ สฺสนฺติ สฺสสิ สฺสถ สฺสามิ สฺสาม สฺสเต สฺสนฺเต สฺสเส สฺสเวฺห สฺสํ สฺสาเมฺห,
กาลาติปัตติ - สฺสา สฺสํสุ
เสฺส สฺสถ สฺสํ สฺสามฺหา
สฺสถ สฺสึสุ สฺสเส
สฺสเวฺห สฺสึ
สฺสามฺหเส.
ในแต่ละหมวดนั้น แบ่งออกเป็น ๒ บท คือ โดยที่ ๖
ตัวแรกในแต่ละหมวดเป็นปรัสสบท ส่วน ๖ ตัวหลังเป็นอัตตโนบท.
ในแต่ละบทแบ่งออกเป็น ๓ บุรุษ คือ คู่แรกเป็นปฐมบุรุษ คู่ที่ ๒
เป็นมัชฌิมบุรุษ และคู่ที่ ๓ เป็นอุตตมบุรุษ.
ในแต่ละบุรุษนั้น แบ่งออกเป็น ๒ วจนะ คือ ในแต่ละคู่
ตัวแรกเป็น เอกวจนะและตัวที่ ๒ เป็นพหุวจนะ.
รวมแล้วได้วิภัตติทั้งหมด ๙๖ ตัว
สรุปพร้อมทั้งคำแปลประจำวิภัตติ และการใช้โดยสังเขป ได้ดังนี้
๑. วัตตมานา แปลว่า ...
อยู่, ย่อม....., จะ .....
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
|||
บุรุษ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมบุรุษ
|
ติ
|
อนฺติ
|
เต
|
อนฺเต
|
มัชฌิมบุรุษ
|
สิ
|
ถ
|
เส
|
เวฺห
|
อุตตมบุรุษ
|
มิ
|
ม
|
เอ
|
เมฺห
|
๒. ปัญจมี แปลว่า จง
..., ....เถิด., ขอจง .....
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
|||
บุรุษ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมบุรุษ
|
ตุ
|
อนฺตุ
|
ตํ
|
อนฺตํ
|
มัชฌิมบุรุษ
|
หิ
|
ถ
|
สฺสุ
|
โวฺห
|
อุตตมบุรุษ
|
มิ
|
ม
|
เอ
|
อามเส
|
๓. สัตตมี แปลว่า ควร ..., พึง ....
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
|||
บุรุษ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมบุรุษ
|
เอยฺย
|
เอยฺยุํ
|
เอถ
|
เอรํ
|
มัชฌิมบุรุษ
|
เอยฺยาสิ
|
เอยฺยาถ
|
เอโถ
|
เอยฺยาโวฺห
|
อุตตมบุรุษ
|
เอยฺยามิ
|
เอยฺยาม
|
เอยฺยํ
|
เอยฺยาเมฺห
|
๔. ปโรกขา แปลว่า ... แล้ว
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
|||
บุรุษ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมบุรุษ
|
อ
|
อุ
|
ตฺถ
|
เร
|
มัชฌิมบุรุษ
|
เอ
|
ตฺถ
|
ตฺโถ
|
โวฺห
|
อุตตมบุรุษ
|
อํ
|
มฺห
|
อึ
|
เมฺห
|
๕. หิยยัตตนี แปลว่า ... แล้ว, ได้
... แล้ว
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
|||
บุรุษ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมบุรุษ
|
อา
|
อู
|
ตฺถ
|
ตฺถุ
|
มัชฌิมบุรุษ
|
โอ
|
ตฺถ
|
เส
|
วฺหํ
|
อุตตมบุรุษ
|
อํ
|
มฺหา
|
อึ
|
มฺหเส
|
๖. อัชชัตตนี แปลว่า ... แล้ว, ได้ ... แล้ว
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
|||
บุรุษ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมบุรุษ
|
อี
|
อุํ
|
อา
|
อู
|
มัชฌิมบุรุษ
|
โอ
|
ตฺถ
|
เส
|
วฺหํ
|
อุตตมบุรุษ
|
อึ
|
มฺหา
|
อํ
|
เมฺห
|
๗. ภวิสสันติ แปลว่า จัก ...
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
|||
บุรุษ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมบุรุษ
|
สฺสติ
|
สฺสนฺติ
|
สฺสเต
|
สฺสนฺเต
|
มัชฌิมบุรุษ
|
สฺสสิ
|
สฺสถ
|
สฺสเส
|
สฺสเวฺห
|
อุตตมบุรุษ
|
สฺสามิ
|
สฺสาม
|
สฺสํ
|
สฺสาเมฺห
|
๘. กาลาติปัตติ แปลว่า จัก... แล้ว,
จัก ... ได้แล้ว
ปรัสสบท
|
อัตตโนบท
|
|||
บุรุษ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
ปฐมบุรุษ
|
สฺสา
|
สฺสํสุ
|
สฺสถ
|
สฺสิสุ
|
มัชฌิมบุรุษ
|
สฺเส
|
สฺสถ
|
สฺสเส
|
สฺสเวฺห
|
อุตตมบุรุษ
|
สฺสํ
|
สฺสามฺหา
|
สฺสึ
|
สฺสามฺหเส
|
***
ข้อควรกำหนดในตอนนี้
๑) วิภัตติ เป็นเครื่องจำแนกธาตุให้เป็นกาล บท วจนะ และบุรุษ
เป็นต้น
๒) วิภัตติ แบ่งออกเป็น ๘ หมวด ๆ ๑๒ ตัว รวม ๙๖ ตัว
ซึ่งในแต่ละหมวด ยังแบ่งออกเป็นกาลเป็นต้น ความโดยพิสดารจักปรากฏข้างหน้า.
๓) กลุ่มคำศัพท์ที่ประกอบเป็นวิภัตติเหล่านี้
มีวิธีการใช้และการสำเร็จรูปต่าง ๆ กัน จะได้พบจริง ๆ
เมื่อปรากฏอยู่ในรูปของประโยค ตอนนี้ไม่ต้องการให้จำได้ทั้งหมด เพียงแต่ให้ทราบว่า
วิภัตตินี้ทั้งหมดเท่านี้
แล้วจะได้นำธาตุมาประกอบใช้โดยกาลและรูปแบบการเป็นไปโดยนัยนี้เท่านั้น
แต่หากจำได้ทั้งหมดก็จะเป็นการสะดวกในการเรียนรู้.
****
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น