วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๓๒ องค์ประกอบของอาขยาต - ธาตุ

ความหมายและหน้าที่ขององค์ประกอบ
๑.  ธาตุ
         คำศัพท์ที่เป็นราก  คือ เป็นต้นเดิมสำหรับให้วิภัตติและปัจจัยเข้าประกอบ เรียกว่า ธาตุ  เพราะทรงไว้ซึ่งกิริยา อันเป็นเนื้อความของตน จะแยกหรือกระจายออกไปอีกไม่ได้  เนื้อความของตนมีอยู่อย่างไรก็คงอยู่อย่างนั้น  ไม่เปลี่ยนแปลงอีก. มีคำจำกัดความย่อๆ ว่า กฺริยํ ธาเรนฺตีติ ธาตโว ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งกิริยาของตน.
         ความจริง ธาตุนั่นเอง จัดเป็นกิริยาอาการที่เป็นการกระทำของคำนาม แต่เมื่อถูกประกอบด้วยปัจจัยและวิภัตติต่าง ๆ กิริยาอาการเหล่านั้นก็จะมีลักษณะที่ต่างกันออกไปตามประเภทแห่งปัจจัยและวิภัตติเหล่านั้น เช่น เป็นศัพท์กล่าวถึงใคร เกิดขึ้นเมื่อใดเป็นต้น เพราะเหตุนั้น กริยาบททั้งหมด  รวมทั้งกริยาอาขยาตนี้ด้วย ล้วนมีธาตุเป็นตัวดั้งเดิม ถึงแม้นามบทก็เช่นกัน ล้วนมาจากธาตุเช่นเดียวกับกริยาบท  ทว่า ได้ใช้กันจนเป็นปกติแล้ว จึงไม่นิยมค้นหาธาตุ ถ้าต้องการทราบละเอียด  ก็อาจค้นหาธาตุได้เช่นเดียวกัน.
         ธาตุนั้นเมื่อประกอบกับวิภัตติและปัจจัย จึงจะสำเร็จเป็นกริยาอาขยาตบท เช่น    กร ธาตุ ที่มีความหมายว่า ทำ,  วท  ธาตุ ที่มีความหมายว่า กล่าว นำวิภัตติ และปัจจัยเข้าประกอบ สำเร็จรูปเป็น กโรติ ย่อมกระทำวทติ ย่อมกล่าว. ดังนั้นวิภัตติ และ ปัจจัย จึงเป็นเครื่องส่องให้ทราบถึง กาล บท  วจนะ  บุรุษ  และวาจก  ของ ธาตุ นั่นเอง.

หมวดของธาตุ
        ธาตุ เป็นเรื่องที่วิจิตรพิสดารมาก  ไม่สามารถที่จะนำมาแสดงให้ หมดสิ้นและถี่ถ้วนได้  แต่เมื่อจะประมวลกล่าวโดยย่อ  ดังที่ท่านจัดไว้เป็นหมวด ๆ ตามคัมภีร์ไวยากรณ์ [1]ต่าง ๆ แล้ว ก็มี ๘ หมวด คือ :  
         ๑.  หมวด ภู ธาตุ       ๒.  หมวด รุธ ธาตุ                 ๓.  หมวด ทิวุ ธาตุ
            ๔.  หมวด สุ ธาตุ       ๕.  หมวด กี ธาตุ                   ๖.  หมวด คห ธาตุ 
            ๗.  หมวด ตน ธาตุ   ๘.  หมวด จุร ธาตุ.
        การแบ่งธาตุเข้าเป็นหมวดดังนี้   โดยถือปัจจัยเป็นเกณฑ์เพราะหมวดธาตุทั้ง ๘  ล้วนมีปัจจัยประกอบอยู่ทุกหมวด  ธาตุที่ประกอบด้วยปัจจัยอย่างเดียวกัน  ก็จัดเข้าไว้เป็นหมวดเดียวกัน 
         เมื่อกล่าวถึงธาตุแล้วจำเป็นต้องกล่าวถึงปัจจัยด้วย เพราะธาตุเหล่านี้มีปัจจัยเป็นเครื่องแบ่งนั่นเอง. สำหรับเรื่องของปัจจัยจะได้กล่าวโดยรายละเอียดในตอนที่ว่าด้วยเรื่องปัจจัยในวาจก แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงธาตุพร้อมด้วยปัจจัยที่แบ่งธาตุออกเป็น ๘ หมวด มีชื่อเรียกว่า วิกรณปัจจัย ปัจจัยที่แบ่งธาตุออกเป็นกลุ่ม ๆ นั้นก่อน ดังนี้
         ๑. ภูวาทิคณะ คณะธาตุมี ภู ธาตุเป็นต้น ลง หรือ เอ ปัจจัย
         ๒. รุธาทิคณะ คณะธาตุมี รุธิ ธาตุเป็นต้น ที่ลง ปัจจัยเป็นต้นและนิคคหิตอาคมหน้าพยัญชนะที่สุดธาตุแล้วแปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของพยัญชนะที่สุดธาตุ
         ๓. ทิวาทิคณะ คณะธาตุมี ทิว ธาตุเป็นต้น ที่ลง ปัจจัย
         ๔.  สวาทิคณะ คณะธาตุมี สุ ธาตุเป็นต้น ที่ลง ณุ, ณา, อุณา ปัจจัย
         ๕.  กิยาทิคณะ คณะธาตุมี กี ธาตุเป็นต้นที่ลง นา ปัจจัย
         ๖.  คหาทิคณะ คณะธาตุมี คห ธาตุเป็นต้น ที่ลง ปฺป, ณฺหา ปัจจัย
         ๗.  ตนาทิคณะ คณะธาตุมี ตน ธาตุเป็นต้น ที่ลง โอ, ยิร ปัจจัย
         ๘.  จุราทิคณะ คณะธาตุมี จุร ธาตุเป็นต้น ที่ลง เณ, ณย ปัจจัย

ตัวอย่างธาตุทั้ง ๘ หมวด [2]

ปัจจัย
หมวด
ธาตุ
คำแปล
อุทาหรณ์ [3]
๑. อ
๑. ภูวาทิคณะ
ภู
มี, เป็น
ภวติ ย่อมเป็น


ปจ
หุง
ปจติ ย่อมหุง


คมุ
ไป
คจฺฉติ ย่อมไป


ลภ
ได้
ลภติ ย่อมได้
๒. อ  เอ, อิ, อี, โอ ( - ํ)[4]
๒. รุธาทิคณะ
รุธ
ปิด, ล้อม
รุนฺธติ รุนฺเธติ, ย่อมปิดกั้น


ฉิทิ
 ตัด
ฉินฺทติ ย่อมตัด


มุจ
ปล่อย
มุญฺเจติ ย่อมปล่อย


ภุช
กิน
ภุญฺชติ ย่อมกิน
๓. ย
๓. ทิวาทิคณะ
ทิวุ
เล่น เป็นต้น
ทิพฺพติ ย่อมเล่น


สิวุ
เย็บ
สิพฺพติ ย่อมเย็บ


พุธ
ความรู้
พุชฺฌติ ย่อมรู้


กุธ
การโกรธ
กุชฺฌติ ย่อมโกรธ
๔. ณุ, ณ, อุณา
๔. สวาทิคณะ
สุ
ฟัง
สุโณติ ย่อมฟัง


วุ
สำรวม
วุณาติ ย่อมสำรวม
   

อป
แผ่ไป
ปาปุณาติ ย่อมแผ่ไป
๕. นา
๕. กิยาทิคณะ
กี
ซื้อ
กิณาติ ย่อมซื้อ


ญา
รู้
ชานาติ ย่อมรู้


มา
นับ
มินาติ ย่อมนับ


ลู
ตัด
ลุนาติ ย่อมตัด
๖. ปฺป, ณฺหา
๖. คหาทิคณะ
คห
ถือเอา
เฆปฺปติ ย่อมถือเอา
    

คห
ถือเอา
คณฺหาติ ย่อมถือเอา
๗. โอ,  ยิร
๗. ตนาทิคณะ
ตนุ
แผ่ไป
ตโนติ ย่อมแผ่ไป
     

สก
สามารถ
สกฺโกติ ย่อมสามารถ


กร
ทำ
กโรติ ย่อมทำ
๘. เณ, ณย
๘. จุราทิคณะ
จุร
ขโมย
โจเรติ ย่อมลักขโมย


จินฺต
คิด
จินฺเตติ ย่อมคิด


ปาล
รักษา
ปาเลติ ย่อมรักษา

ธาตุ ๒ จำพวก
         แม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปของธาตุ จะมีลักษณะเดียวคือเป็นผู้ทรงกิริยาไว้ก็ตาม แต่ก็สามารถจำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ
         ๑.  อกัมมธาตุ หมายถึง ธาตุที่ไม่มีกรรมมารองรับ หรือไม่เรียกหากรรม คือ เป็นสิ่งที่บุคคลพึงกระทำ. ธาตุประเภทนี้แม้ไม่มีบทกรรมมารองรับก็ได้ความหมายสมบูรณ์ เช่น มรติ ย่อมตาย มาจาก มร ธาตุ ไม่ต้องเรียกหากรรมก็มีความหมายสมบูรณ์. สยติ ย่อมนอน มาจาก สี ธาตุ ในความนอน, ติฏฺฐติ ย่อมยืน มาจาก ฐา ธาตุ ในความตั้งอยู่ เหล่านี้เป็นต้น
         ๒.  สกัมมธาตุ  หมายถึง ธาตุที่ต้องมีกรรมมารองรับ หรือ เรียกหากรรม จึงจะได้ความหมายสมบูรณ์ เช่น ภตฺตํ  ภญฺชติ  ย่อมกิน ซึ่งข้าว ภุช ธาตุ เรียกหากรรม คือ ภตฺตํ ข้าว.   ปูวํ  ปจติ  ย่อมทอด ซึ่งขนม  ปจ ธาตุ เรียกหากรรม คือ ปุวํ ขนม.  เขตฺตํ  กสติ ย่อมไถ ซึ่งนา กส ธาตุ เรียกหา กรรม คือ เขตฺตํ นา. ถ้าไม่มี ภตฺตํ, ปูวํ, เขตฺตํ ก็ไม่ทราบว่า กินอะไร, ทอดอะไร, ไถอะไร เป็นต้น.

ธาตุแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท อีกอย่างหนึ่ง คือ
         ๑. เอกัสสระธาตุ คือ ธาตุที่มีสระเดียว แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
              ๑.๑  เอกสุทธัสสระธาตุ  เป็นสระตัวเดียวล้วน หรือเป็นสระล้วน ๆ เช่น
                 อิ ธาตุ ในความไป                     อุ ธาตุ ในความส่งเสียง
              ๑.๒  เอกมิสสกัสสระธาตุ สระ ๑ ตัวผสมกับพยัญชนะ ก็ชื่อว่า ธาตุมีสระเดียว
                 ญา ธาตุ ในความรู้                    ชิ ธาตุ ในความชนะ
                 นี ธาตุ ในความนำไป                  สุ ธาตุ ในความฟัง
         ๒.  อเนกัสสระธาตุ คือ ธาตุที่มีสระตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป เช่น
                 กร ธาตุ ในความทำ                    คห ธาตุ ในความถือเอา     
                 มร ธาตุ ในความตาย                  คมุ ธาตุ ในความไป
                 อิกฺข ธาตุ ในความเห็น                         กิลิสิ ธาตุ ในความเศร้าหมอง

******

         ข้อควรกำหนดในตอนนี้
         ๑) กริยาบทแบ่งออกเป็น ๒ แบบใหญ่ ๆ คือ กริยาบทที่เป็นกริยาย่อย คือ เนื้อความยังไม่สิ้นสุด เรียกว่า อัพภันตรกริยา และ กริยาบทที่เป็นกริยาหลัก คือ เนื้อความสิ้นสุดตรงบทนี้ เรียกว่า กริยาคุมพากย์
         ๒) กริยาบทที่เป็นอัพภันตรกริยานิยมใช้กริยากิตก์เท่านั้น ส่วนกริยาคุมพากย์ให้ใช้ได้เฉพาะกริยาอาขยาต, กริยากิตก์และอัพยยกริยาบางตัว
         ๓) กริยาอาขยาต คือ บทที่กล่าวกริยาอาการ คือ ธาตุ โดยอาศัยวิภัตติและปัจจัยเป็นตัวบอกความเป็นกาล วจนะ บุรุษ วาจก  ใช้เป็นกริยาคุมพากย์ได้อย่างเดียว
         ๔) องค์ประกอบของกริยาอาขยาต มีทั้งหมด ๘ อย่าง คือ ธาตุ ปัจจัย วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ วาจก. ย่อแล้วได้ ๓ คือ ธาตุ วิภัตติ และปัจจัย เพราะวิภัตติเป็นตัวบอกกาล บท วจนะ และบุรุษ ส่วนวาจก รวมเข้ากับปัจจัย เพราะปัจจัยเป็นตัวกล่าววาจก
         ๕) ธาตุ แบ่งออกเป็น ๘ หมวด มี ภูวาทิคณะ เป็นต้น โดยอาศัยปัจจัยเครื่องแบ่งที่เรียกว่า วิกรณปัจจัย.
         ๖) ธาตุยังแบ่งออกเป็น ๒ หมวด คือ อกัมมธาตุ ธาตุที่ต้องมีกรรมและสกัมมธาตุ ที่ไม่ต้องมีกรรม. นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็น เอกสรธาตุ ธาตุมีเสียงเดียว และ  อเนกสรธาตุ ธาตุมีหลายเสียง.

******


[1] เช่น คัมภีร์ ธาตวัตถสังคหะ และธาตุมาลาของสัททนีติเป็นต้น แต่ตำราเหล่านี้ยังไม่เป็นที่สะดวกของผู้เริ่มเรียนขั้นพื้นฐาน เพราะท่านเขียนไว้เป็นภาษาบาลีทั้งหมด ที่พอจะใช้ได้ในรูปภาษาไทย ก็คงจะได้แก่ ธาตุปปทีปิกา ซึ่งนำเอาธาตุมาลาของสัททนีติมาจัดวางรูปแบบใหม่แล้วถ่ายทอดออกมาในภาษาไทยโดยลักษณะของอักขรานุกรม.
[2] ตัวอย่างธาตุนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น มิใช่มีเพียงแค่นี้ สามารถค้นคว้าเพิ่มเองได้ในตำราที่แนะนำไว้แล้ว
[3] ตัวอย่างนี้ เป็นบทอาขยาตที่แท้จริง เพราะประกอบด้วยเครื่องปรุงทั้งหมดมี ธาตุ วิภัตติ ปัจจัย เป็นต้นแล้ว
[4] หมวดรุธาทิคณะนี้ ท่านบอกว่า ต้องลงนิคคหิตเป็นอาคมหน้าพยัญชนะที่สุดธาตุแล้วแปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของธาตุนั้น เช่น รุธิ ลง นิคคหิตอาคมหน้า ธ อันเป็นพยัญชนะที่สุดธาตุ แล้วแปลงนิคคหิตเป็น น อันเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค ต.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น