วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๔๔ บททุติยาวิภัตติ การิตกรรม - อัจจันตสังโยคะ

การิตกรรม (ยัง)
         ๓. บททุติยาวิภัตติ ที่เป็นที่ถูกใช้ให้ทำ เรียกชื่อว่า การิตกรรม แปลว่า ยัง หมายถึง เป็นบทที่ใช้ขยายกริยาในฐานะที่เป็นผู้ถูกใช้ให้ทำหรือผู้ทำในฐานะผู้รับใช้.

         บทกรรมชนิดนี้ จะไม่พบในประโยคกัตตุวาจกหรือกรรมวาจก ที่แสดงผู้ทำและผู้ถูกทำโดยทั่วไปเลย.แต่จะพบเฉพาะในประโยคเหตุกัตตุวาจก และเหตุกรรมวาจก ที่แสดงผู้ใช้ให้ทำและผู้ถูกใช้ให้ทำเท่านั้น. (ประโยคที่เรียกว่า เหตุกัตตุวาจกและเหตุกรรมวาจก จะพบข้างหน้า สำหรับในที่นี้ พึงกำหนดไว้ก่อนว่า บทการิตกรรม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งในประโยคเหตุกัตตุวาจกและเหตุกรรมวาจก จะขาดเสียมิได้เลย) เพราะกริยาบทที่ประกอบด้วยการิตปัจจัย ๔ ตัว คือ เณ ณย ณาเป ณาปย ที่เป็นลักษณะเฉพาะของวาจกนี้ นั้น จะปรากฏชัดเจนสมบูรณ์ได้ ต้องควบคู่ไปกับบทการิตกรรมนี้.
         ความจริง การิตกรรม คือ บทกรรมของการิตปัจจัย คือ เณ ปัจจัยเป็นต้น ดังนั้น การิตกรรมนี้ จึงเป็นบทที่ขยายเฉพาะการิตปัจจัยเท่านั้นจึงควร มิได้ขยายบทกริยาอาขยาตทั้งหมดแต่ประการใด[1] เพราะบทกรรมที่ขยายกริยาที่ทำก็มีอยู่แล้ว.
ความทั้งหมดพึงทราบและสังเกตโดยอุทาหรณ์นี้
         สามิโก สูทํ โอทนํ ปจาเปติ. อ.นาย ยังพ่อครัว ให้หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก.
         บทว่า สูทํ ศัพท์เดิมมาจาก สูท พ่อครัว ลง อํ ทุติยาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น สูทํ แปลว่า ยังพ่อครัว (หรือใช้พ่อครัว) ทำหน้าที่เป็นการิตกรรม เกี่ยวเนื่องกับ ณาเป ปัจจัยอันเป็นการิตปัจจัย ปัจจัยอันเป็นเหตุให้ทำ ในบทกริยาว่า ปจาเปติ ทำหน้าที่ขยายบทกริยาให้เป็นประโยคเหตุกัตตุวาจกสมบูรณ์. ส่วน บทว่า โอทนํ ศัพท์เดิมมาจาก โอทน ลง อํ ทุติยาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น โอทนํ แปลว่า ซึ่งข้าวสุก ทำหน้าที่เป็นอวุตตกรรม  มาเกี่ยวข้องกับกริยาบท คือ ปจาเปติ คือ เป็นผลที่เกิดจากกริยาอาการที่หุง ทำให้รู้ว่า กริยานี้เป็นการหุงข้าวสุก มิใช่หุงสิ่งอื่น. [2]
         ทั้ง การิตกรรมและอวุตตกรรมนี้ ต่างก็ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ และมักจะอยู่คู่กัน แต่เมื่อปรากฏในประโยค จะพบว่า การิตกรรมจะถูกเรียงไว้ข้างหน้า วนอวุตตกรรมมักจะเรียงไว้ข้างหลัง ดังตัวอย่างที่ยกมาให้นั้น
         พึงกำหนดรูปแบบการเรียงพร้อมทั้งอุทาหรณ์ดังนี้
         ประธาน + การิตกรรม (ยัง)+ อวุตตกรรม (ซึ่ง) + กริยา (ให้) เช่น สามิโก สูทํ โอทนํ ปจาเปติ.

ลองประกอบอุทาหรณ์อื่น ๆ ดังนี้

ประโยคบาลี
แปลเป็นไทย
ประธาน
กรรม
กริยา
ประธาน
กรรม
กริยา
สุคโต
ธมฺมํ
ปติฏฺฐาเปติ
อ.พระสุคต
ยังพระธรรม
ให้ตั้งอยู่เฉพาะ
สามิโก
ทาสํ
ปายาเปติ
อ.นาย
ยังบ่าว
ย่อมให้ดื่ม
ญาตโก
กุมารํ
สยาเปติ
อ.ญาติ
ยังเด็ก
ย่อมให้นอน
โทโส
หทยํ
จาเลติ
อ.ความโกรธ
ยังหทัย
ย่อมให้หวั่นไหว
สปฺปุริโส
ชนํ
ทาเปติ
อ.สัตบุรุษ
ยังชน
ย่อมให้ให้

****

อัจจันตสังโยคะ (ตลอด, สิ้น)
         บททุติยาวิภัตติที่ใช้ขยายกริยาบทในฐานะที่เป็นที่ให้กริยากระทำลุล่วง จนถึงที่สุดไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาหรือระยะทางก็ตาม ชื่อว่า อัจจันตสังโยคะ แปลว่า ตลอด หรือ สิ้น. [3]
         อุปาสโก ทิวสํ นิสีทติ อ.อุบาสก ย่อมนั่ง ตลอดวัน.
            ปุริโส มคฺคํ โรทติ อ.บุรุษ ย่อมร้องไห้ ตลอดหนทาง
         จากตัวอย่างในประโยคข้างต้นนี้ บทว่า ทิวสํ ศัพท์เดิมมาจาก ทิวส วัน ลง อํ ทุติยาวิภัตติ ในความหมายนี้ สำเร็จรูปเป็น ทิวสํ ตลอดวัน สำหรับขยายบทกริยาว่า นิสทติ ย่อมนั่ง โดยแสดงถึงระยะเวลาที่เล่าเรียนว่า ตลอดจนลุล่วงวัน. แม้บทว่า มคฺคํ ก็โดยนัยนี้ คือ ศัพท์เดิมมาจาก มคฺค หนทาง สำเร็จรูปเป็น มคฺคํ ตลอดหนทาง สำหรับขยายบทว่า โรทติ ย่อมร้องไห้ โดยแสดงถึงระยะทางที่ร้องไห้ว่า ตลอดทางที่ไปนั้น ได้ร้องไห้เรื่อย ไม่มีหยุด.
         อนึ่ง บทอัจจันตสังโยคะ นอกจากจะใช้ขยายบทกริยาแล้ว ยังสามารถใช้ขยายบทประธานหรือบทนามได้อีกด้วย เช่น มาสํ ปาโย (โหติ) อ. น้ำดื่ม ตลอดเดือน (ย่อมมี) , สพฺพกาลํ รมณีโย วโน (โหติ) อ. ป่า อันน่ารื่นมย์ ตลอดกาลทั้งหมด (ย่อมมี). ดังนั้น ข้อสังเกตจึงอยู่ที่ว่า ถ้าวางไว้หน้าบทนาม ก็ใช้ขยายบทนาม ถ้าวางไว้หน้าบทกริยา ก็ใช้ขยายบทกริยา.
         พึงกำหนดรูปแบบการเรียงพร้อมทั้งอุทาหรณ์ดังนี้
         ประธาน + อัจจันตสังโยคะ (สิ้น) + กริยา เช่น ปุริโส มคฺคํ โรทติ. (ระยะทาง)
         หรือ อุปาสโก ทิวสํ นิสีทติ (เวลา)
ลองประกอบอุทาหรณ์อื่น ๆ ดังนี้

ประโยคบาลี
แปลเป็นไทย
ประธาน
กรรม
กริยา
ประธาน
กรรม
กริยา
 อาชีวโก
ชมฺพุทีปํ
จรติ
อ.อาชีวก
ย่อมเที่ยวไป
ตลอดชมพูทวีป
สามเณโร
เตมาสํ
สิกฺขติ
อ.สามเณร
ย่อมศึกษา
สิ้นสามเดือน
ชโน
สตฺตาหํ
ชุโหติ
อ.ชน
ย่อมบูชา
สิ้นสัปดาห์
โรคา
สํวจฺฉเร
หนนฺติ
อ.โรค ท.
ย่อมเบียดเบียน
ตลอดปี ท.
วินยธโร
เอกกณฺฑํ
สชฺฌายติ
อ.พระวินัยธร
ย่อมสาธยาย
สิ้นกัณฑ์หนึ่ง
ติโยชนํ
ทีโฆ
ปพฺพโต
อ.ภูเขา
ยาว
ตลอด ๓ โยชน์

***



[1] ที่กล่าวว่า เกี่ยวเนื่องกับบทกริยาหรือขยายบทกริยา นับได้ว่าเป็นการกล่าวโดยอ้อมที่พาดพิงถึงที่อาศัยแต่หมายเอาผู้อาศัยอยู่ (เรียกว่า นิสสยโวหาร, ฐานูปจาร คำพูดที่กล่าวพาดพิงถึงที่อาศัย แต่หมายเอาผู้อยู่อาศัย เช่น ข้าวมีประโยชน์ต่อร่างกาย ความจริงข้าวไม่ได้มีประโยชน์ แต่สิ่งที่อาศัยอยู่ในข้าวอันได้แก่ วิตามิน คาร์โบไฮเดรต เป็นต้นนี้เท่านั้นที่เป็นประโยชน์ คำกล่าวถึงข้าว แต่เป็นที่รู้กันอยู่ว่า ไม่ได้หมายถึงข้าว แต่หมายเอาวิตามินเป็นต้นนั่นแหละ ที่เรียกว่า ฐานูปจาระ คำพูดกล่าวถึงที่อยู่หมายเอาสิ่งที่อาศัย) นั่นกืคือ กล่าวเอากริยาบททั้งหมด แต่หมายเอาเฉพาะการิตปัจจัยที่อาศัยอยู่ในกริยาบทนั้น. แต่ถ้าหมายเอาบทกรรมของธาตุแล้ว บทกรรมของธาตุ (มิใช่ของปัจจัย) ได้แก่ อวุตตกรรมเท่านั้น จึงจัดเป็นบทกรรมโดยตรง แต่ถ้าไม่ได้เป็นสกัมมธาตุ ก็ไม่มีบทอวุตตกรรมคงมีแต่การิตกรรมเท่านั้น เพราะประโยคเหตุกัตตุวาจก แม้จะต้องมีการิตกรรมเสมอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สามารถจำกัดเฉพาะสกัมมธาตุเสมอไป. แม้อกัมมธาตุ ก็ยังใช้ได้. อย่างไรก็ตาม ที่แสดงมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงความเห็นของข้าพเจ้า ยังไม่ควรยึดเอาเป็นแบบอย่างเท่าใดนัก.
[2] บทกริยาที่ประกอบด้วยการิตปัจจัยเช่นนี้ ท่านกล่าวว่า มีกริยา ๒ อย่าง คือ กริยาการทำและกริยาการใช้ เมื่อมี ๒ กริยา ก็ย่อมมี ๒ กัตตาและ ๒ กรรม คือ บทกัตตาและบทกรรมของผู้ใช้ให้ทำ, บทกัตตาและบทกรรมของผู้ทำ. บทกรรมที่เป็นการิตกรรมนี้แหละ จัดเป็นบทกรรมที่เนื่องด้วยกริยาการใช้ ไมใช่กริยาการทำ. ส่วนอวุตตกรรมเป็นบทกรรมที่เนื่องด้วยกริยาการทำ ไม่ใช่กริยาการใช้. พึงแต่ที่สามารถกล่าวได้ว่า เกี่ยวเนื่องกับบทกริยาหรือขยายบทกริยา ก็นับได้ว่าเป็นการกล่าวโดยอ้อมที่พาดพิงถึงที่อาศัยแต่หมายเอาผู้อาศัยอยู่ (เรียกว่า นิสสยโวหาร, ฐานูปจาร คำพูดที่กล่าวพาดพิงถึงที่อาศัย แต่หมายเอาผู้อยู่อาศัย เช่น ข้าวมีประโยชน์ต่อร่างกาย ความจริงข้าวไม่ได้มีประโยชน์ แต่สิ่งที่อาศัยอยู่ในข้าวอันได้แก่ วิตามิน คาร์โบไฮเดรต เป็นต้นนี้เท่านั้นที่เป็นประโยชน์ คำกล่าวถึงข้าว แต่เป็นที่รู้กันอยู่ว่า ไม่ได้หมายถึงข้าว แต่หมายเอาวิตามินเป็นต้นนั่นแหละ ที่เรียกว่า ฐานูปจาระ คำพูดกล่าวถึงที่อยู่หมายเอาสิ่งที่อาศัย) นั่นกืคือ กล่าวเอากริยาบททั้งหมด แต่หมายเอาเฉพาะการิตปัจจัยที่อาศัยอยู่ในกริยาบทนั้น. แต่ถ้าหมายเอาบทกรรมของธาตุแล้ว บทกรรมของธาตุ (มิใช่ของปัจจัย) ได้แก่ อวุตตกรรมเท่านั้น จึงจัดเป็นบทกรรมโดยตรง แต่ถ้าไม่ได้เป็นสกัมมธาตุ ก็ไม่มีบทอวุตตกรรมคงมีแต่การิตกรรมเท่านั้น เพราะประโยคเหตุกัตตุวาจก แม้จะต้องมีการิตกรรมเสมอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สามารถจำกัดเฉพาะสกัมมธาตุเสมอไป. แม้อกัมมธาตุ ก็ยังใช้ได้. อย่างไรก็ตาม ที่แสดงมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงความเห็นของข้าพเจ้า ยังไม่ควรยึดเอาเป็นแบบอย่างเท่าใดนัก.แยกบทกริยาที่การิตปัจจัยให้เป็น ๒ ส่วน ก็จะพึงเห็นความโดยชัดเจนได้
[3] อัจจันตสังโยคะ มาจากคำว่า อจฺจนตํ ก้าวล่วงซึ่งกำหนด คือ ไม่ขาดระยะจนสิ้นสุด + สังโยคะ การประกอบ คือ การทำกริยา. การประกอบ ตลอดถึงที่สุด ชื่อว่า อัจจันตสังโยค.  จะพบข้อสังเกตว่า บททุติยาวิภัตติชนิดนี้ สักว่าเป็นการประกอบหรือกระทำอย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดกาลเวลาและหนทางเท่านั้น จึงไม่ถือเป็นบทกรรมเหมือนกับที่ผ่านมา เพราะมิได้มิได้เป็นที่มุ่งหมายของกัตตา โดยเป็นสิ่งที่ถูกกัตตาทำเป็นต้น
            อย่างไร ? ลองมาดูคำนิยามของคำว่า กรรม ในแง่ของรูปศัพท์ก่อนว่า ถูกสร้างขึ้นจากศัพท์ใด. ท่านให้คำจำกัดความของกรรมไว้ว่า กรียตีติ กมฺมํ สิ่งที่ถูกกัตตาย่อมกระทำ สิ่งนั้น ชื่อว่า กรรม
            ถ้ามองในแง่ของความหมาย คำว่า กรรม ได้แก่ บทที่เกี่ยวเนื่องกับกริยาโดยเป็นสิ่งที่ถูกกัตตามุ่งไปถึง โดยการทำ, เปลี่ยนแปลง หรือ บรรลุถึง
            กรรม นั้นจะเกี่ยวกับกริยาโดยเป็นที่ถูกกัตตามุ่งถึงโดยการกระทำ เป็นต้น แต่อัจจันตสังโยคะนี้ ไม่ได้ถูกมุ่งถึงอย่างนั้น เพียงแต่เป็นสิ่งที่ถูกกัตตาลุล่วง ผ่านเลยเท่านั้น ดังนั้น จึงเป็นบทขยายกริยาในฐานะนี้ มิได้เกี่ยวเนื่องในฐานะที่เป็นกรรม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น