สระ
สระในภาษาบาลีมี
๘ ตัว ดังนี้
อ อา
อิ อี อุ
อู เอ โอ
สระทั้ง
๘ ตัว ก็ออกเสียงตามปกติเหมือนภาษาไทย.
อ อิ อุ เรียกว่า รัสสสระ เพราะออกเสียงสั้น คือ จบเร็ว
อา
อี อู
เอ โอ เรียกว่า ทีฆสระ เพราะออกเสียงยาว คือ จบช้า
เอ โอ
นอกจากจะเรียกว่า ทีฆสระ แล้ว สามารถเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า สังยุตตสระ
เพราะเป็นเสียงที่ผสมระหว่างสระ ๒ ตัว ดังนี้
เอ เกิดจากการผสมกันระหว่าง อ กับ
อิ และ โอ เกิดจากการผสมกันระหว่าง อ กับ อุ.
ถ้าไม่เชื่อ ลองทำเสียงดูก็ได้.
การเขียนสระในภาษาบาลี
ค่อนข้างจะคล้ายภาษาไทย ตรงที่ว่า สระ อา เป็นต้น จนถึง โอ เวลาเขียน
ก็จะปรากฏรูปสระนั้นด้วย แต่สระ อ ต่างกับภาษาไทย เวลาเขียนจะหายเข้าไป คือ
รวมเข้ากับพยัญชนะตัวนั้น . ดังนั้น
เมื่อเวลาที่เราเห็นพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระ พึงเห็นว่า พยัญชนะตัวนั้นมีสระ
อ อาศัยอยู่ด้วย
เมื่อได้เรียนรู้เรื่องเสียงของพยัญชนะและสระแล้ว
ทดลองออกเสียงพยัญชนะทั้ง ๓๓ ตัว และ สระทั้ง ๘ ตัวนั้นดู.
vvv
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น