๒. การันต์
การันต์ คือ สระสุดท้ายคำนามเดิมนั้น โดยทั่วไปแล้ว
สระทั้ง ๘ ตัวนั้น ไม่สามารถเป็นการันต์ของคำนามได้ทั้งหมด จึงกล่าวถึงการันต์ได้เพียง
๗ เท่านั้น โดยเว้น สระ เอ เพียง ๑ ตัว นอกนั้นจัดเป็นการันต์ได้.
การันต์ นี้จัดเป็นข้อกำหนดลิงค์อีกประการหนึ่งด้วย
แต่ไม่ทั้งหมด เพราะเหตุนั้น จึงไม่สามารถนำการันต์มาแบ่งลิงค์ได้
จะทำได้เพียงแต่นำการันต์มาเป็นแนวทางแบ่งคำนามออกเป็นกลุ่ม ๆ เท่านั้นเอง
โดยที่สัมพันธ์กับลิงค์นั้นด้วย ดังต่อไปนี้
๑. อ การันต์ ได้แก่ คำนามที่สระ อ เป็นสุดท้าย
๒. อา การันต์ ได้แก่ คำนามที่มีสระ อา เป็นสุดท้าย
๓. อิ การันต์ ได้แก่ คำนามที่มีสระ อิ เป็นสุดท้าย
๔. อี การันต์ ได้แก่ คำนามที่มีสระ อี เป็นสุดท้าย
๕. อุ การันต์ ได้แก่ คำนามที่มีสระ อุ เป็นสุดท้าย
๖. อู การันต์
ได้แก่ คำนามที่มีสระ อู เป็นสุดท้าย
๗. โอ การันต์ ได้แก่ คำนามที่มีสระ โอ เป็นสุดท้าย
การันต์ทั้ง ๗ นี้
มีความสัมพันธ์กับลิงค์ดังต่อไปนี้
ปุงลิงค์ มีการันต์ได้ ๕ การันต์ ดังนี้
อ การันต์, อิ
การันต์, อี การันต์, อุ การันต์, อู การันต์
อิตถีลิงค์ มีการันต์ได้ ๕ การันต์ ดังนี้
อา การันต์, อิ การันต์, อี การันต์, อุ การันต์, อู
การันต์
นปุงสกลิงค์ มีการันต์ได้ ๓ การันต์ ดังนี้
อ การันต์, อิ การันต์, อุ การันต์,
ส่วน โอ การันต์ จัดว่าเป็นการันต์ที่ใช้ได้ในลิงค์ทั้ง ๓
ซึ่งนับว่าเป็นส่วนน้อย เพราะฉะนั้น โอ การันต์ ท่านจึงจัดว่าเป็นคำศัพท์ที่พิเศษ.
ลิงค์นั้นนั่นเอง จัดเป็นคำนามเดิม
ซึ่งมีแต่เพียงสระเป็นสุดท้าย ยังไม่สามารถนำไปใช้ในประโยคคำพูดได้
เพราะไม่มีหน้าที่หรือความหมายใด ๆ สักแต่ว่าเป็นเพียงคำศัพท์ชนิดหนึ่งที่ใช้กล่าวถึงสิ่งของเท่านั้น
โดยเหตุนี้ ในแวดวงการศึกษาบาลีในประเทศไทย จึงไม่นิยมเรียก ลิงค์ ว่า คำนาม
แต่ให้ชื่อว่า “ศัพท์เดิม” .ต่อเมื่อนำกลุ่มอักษรที่เรียกว่า
วิภัตติ มาต่อท้ายแล้วก็จะได้ความหมายที่สมบูรณ์จึงจะเรียกชื่อว่า คำนามหรือนามบท
ต่อไป.
หัวข้อนี้มีเรื่องต้องกำหนดว่า
๑. การันต์เป็นสระเสียงท้ายของคำนาม. พึงกำหนดให้ได้ว่า
ไม่ใช่พยัญชนะที่ผสมกับสระแล้ว แต่หมายเฉพาะสระ เท่านั้น.
๒. การันต์มี ๗ คือ อ, อา, อิ, อี, อุ, อู และ โอ
๓. การันต์แบ่งตามออกกลุ่มของลิงค์ ๓ แล้วได้ดังนี้ คือ
ปุงลิงค์ มี ๕ คือ อ, อิ, อี, อุ, อู การันต์,
อิตถีลิงค์ มี ๕ การันต์ คือ อา อิ อี อุ, อู การันต์ , นปุงสกลิงค์ มี ๓
การันต์ คือ อ, อิ, อุ การันต์. ส่วนโอ การันต์ สามารถใช้ได้ทั้ง ๓ ลิงค์
แต่มีศัพท์เป็นจำนวนน้อย.
×vØ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น