บทที่ ๒ ภาคประธานของประโยค
ก่อนจะขึ้นหัวข้อนี้ ลองทบทวนดูว่า
ในแต่ละประโยคต้องประกอบไปด้วย ภาคประธาน อันได้แก่ คำนามทั้งหลาย เป็นต้น
และภาคกริยา พร้อมทั้งบทขยายอีกเป็นจำนวนมากเข้ามาประกอบ
เพื่อทำให้คำนามและกริยาเหล่านั้นมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น. ดังนั้น
ก่อนจะเข้าใจถึงโครงสร้างประโยค ควรจะเข้าใจในศัพท์ต่างๆ
ที่ประกอบขึ้นเป็นคำนามและกริยาเสียก่อน.
จะเริ่มเรียนเรื่องภาคประธานและบทขยายเป็นลำดับแรก.
ภาคประธาน อันได้แก่ นามศัพท์ชนิดต่าง ๆ
ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ ๑. จะได้ศึกษากันเป็นขั้นตอนเป็นลำดับ โดยนำนามนาม
ขึ้นมากล่าวก่อนเป็นลำดับแรก.
×vØ
๔. คำนาม
คำนาม คือ คำที่ใช้กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ
โดยเป็นคำที่สามารถน้อมเข้าไปถึงสิ่งที่ตนใช้เรียกนั้น เช่น เมื่อพูดถึง ปุริโส
บุรุษ คำว่า บุรุษ นี้จะน้อมไปถึงสี่งที่มีรูปร่างอย่างนี้ ๆ ดังนั้น คำว่า บุรุษ
จึงจัดว่าเป็นคำนาม เพราะน้อมไปถึงสิ่งหรือเนื้อเรื่องที่พูดถึง
คำนาม แบ่งออกเป็น ๖ พวก คือ
๑. นามนาม คำนามที่เป็นพวกคำนามแท้ ๆ
๒. สัพพนาม คำนามที่ใช้เป็นคำแทนคำนามต่าง ๆ ทั้งหมดได้
๓. คุณนาม คำนามที่เป็นคุณลักษณะของคำนาม สามารถทำให้คำนามมีความชัดเจนขึ้น
ต่างกับคำอื่น
๔. สมาสนาม คำนามที่เกิดขึ้นจากการรวมคำนาม ๒
บทขึ้นไปเป็นบทเดียวแล้วมีความหมายต่างจากคำเดิม
๕. ตัทธิตนาม คำนามที่เกิดจากคำนามนั้นแหละ
แต่ประกอบกับปัจจัยแล้วได้คำนามประเภทใหม่ขึ้นมา มีความหมายต่างจากคำเดิม
๖. กิตนาม
คำนามที่เกิดจากการแปลงคำกริยาให้เป็นคำนามโดยประกอบกับอักษรที่เรียกว่า ปัจจัย
ทั้ง ๖ นี้ ไม่ว่าจะเป็นคำนามประเภทไหน ๆ
ก็ไม่พ้นกฏเกณฑ์ที่ว่า น้อมไปหาเนื้อเรื่องที่พูดถึงเสมอ.
×vØ
๔. องค์ประกอบของคำนาม
ต้องปรับพื้นฐานความเข้าใจก่อนว่า คำพูดในภาษาบาลีนั้น ทุก ๆ
คำ ย่อมประกอบไปด้วยองค์ประกอบย่อยๆ
ลำพังเพียงคำนามยังสื่อความหมายได้ไม่ชัดเจน.
ดังนั้น คำนามที่สมบูรณ์แล้วแต่ละคำ
เมื่อแยกย่อยออกไปแล้วจะเห็นองค์ประกอบอยู่ ๔ ประการ คือ
๑. ลิงค์ เพศหรือแบบของคำนามและเป็นคำเดิมที่แฝงอยู่ในคำนามที่มีวิภัตติแล้ว
๒. การันต์ เสียงสระที่ผสมกับพยัญชนะตัวสุดท้ายของคำนาม
๓. วิภัตติ
การจำแนกนามศัพท์ให้ทราบถึงความหมายและวจนะ
๔. วจนะ จำนวนของคำนาม
จะขอยกคำนามที่มีองค์ประกอบเหล่านี้พร้อมมูลแล้วมาเป็นอุทาหรณ์สักเล็กน้อย
เพื่อเป็นประโยชน์ในการที่จะกล่าวหัวข้อที่มาถึงเป็นลำดับ
๑. ปุริโส แปลว่า อันว่าบุรุษ
๒. ภตฺตํ “ ซึ่งข้าว
๓. หตฺเถน “ ด้วยมือ
๔. ภิกฺขุสฺส “ แก่พระภิกษุ
๕. อารามสฺมา “ จากวัด
๖. พุทฺธสฺส “ ของพระพุทธเจ้า
๗. นครสฺมึ “ ในเมือง
๘. กุมาร “ นี่แน่ะ เด็กน้อย
ตอนนี้ให้กำหนดคำศัพท์ที่เป็นภาษาบาลีและที่แปลเป็นภาษาไทยไว้ก่อน
อย่าเพิ่งสงสัยว่า ศัพท์พวกนี้มีความเป็นมาอย่างไร และทำไมต้องแปลอย่างนี้
ความจะกระจ่างไปเรื่อย ๆ.
หัวข้อนี้ได้ข้อกำหนดว่า คำนามทั้งปวงต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ
๔ อย่าง คือ ๑. ลิงค์ แบบ ๒. การันต์
เสียงท้าย ๓. วิภัตติ
อักษรที่จะจำแนกคำนามให้เห็นความหมายและจำนวน ๔. วจนะ จำนวน
×vØ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น