วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๖. อักขรวิธี

บทที่ ๑ อักขรวิธี 
วิธีการแห่งตัวอักษร
         ไม่ว่าภาษาไหน ๆ ก็มีต้องมีตัวอักษรทั้งนั้น คำว่า อักษร ในที่นี้ ตรงกับบาลีว่า อกฺขร แปลว่า สิ่งที่ไม่แข็ง ก็ได้ หรือจะแปลว่า ของที่ไม่สิ้นไป ก็ได้ แล้วแต่ว่า อยากจะทำความเข้าใจในเง่ไหน.
         ถ้าจะมองว่า อกฺขร นี้แปลว่า ไม่แข็ง ก็พบว่า ไม่ว่าอักษรของชนชาติใดไม่จัดว่าเป็นของที่แข็ง สำหรับชนชาตินั้น ๆ. คำว่า แข็ง ก็ไม่ใช่แข็งเหมือนกับก้อนหินหรือท่อนไม้ แต่เป็นการพูดโดยโวหารว่า สามารถทำให้คนที่พูดหรืออ่านอักษรนี้เข้าถึงความหมายได้ ถ้าเป็นของแข็งก็จะเข้าถึงไม่ได้. ดังนั้น เจ้าของภาษานั้น ๆ จึงจะซาบซึ้งถึงความหมายของคำว่า อักษร ที่แปลว่า ไม่แข็ง นี้ได้ ถ้าเป็นคนชาติอื่น ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษานั้น ก็จะพบว่า อักษรนี้ เป็นของแข็ง คือ ยากที่เข้าใจได้. อย่างเราเป็นคนไทย ที่เริ่มเรียนภาษาของชนชาวมคธ ภาษามคธจึงเป็นของแข็งสำหรับเรา อย่างนี้เป็นต้น.
         ถ้าจะมองว่า อกฺขร นี้แปลว่า ไม่สิ้นไป. ความหมายอันนี้ครอบคลุมคำว่า อกฺขร ได้ชัดเจนดีนัก หมายความว่า ไม่ว่าจะพูดกันด้วยอักษรสักเท่าไร อักษรนี้ ก็จะไม่มีวันสิ้นไป หมดไปได้ ยกเว้น จนกว่าจะเลิกพูดภาษานั้น อักษรของชนพวกนั้นก็หมดไปได้
         ที่กล่าวมาทั้งสองความหมายนี้ จริงหรือไม่ โปรดคิดพิจารณาดูเถิด.
         ส่วนคำว่า วิธี นั้นก็ได้แก่ การกระทำ. ในที่นี้เป็นการกระทำที่เกี่ยวกับอักษร  ได้แก่ วิธีการเรียกชื่ออักษร เรียกว่า สมัญญาพิธาน. นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงวิธีการต่ออักษรเข้าหากันเพื่อให้ออกเสียงน้อยหรือสั้นลง ท่านเรียกว่า สนธิ.
         เราจะเรียนรู้เรื่องวิธีการเรียกชื่ออักษรกันก่อน

อักษรในภาษาบาลี
         ในภาษาบาลี แบ่งอักษรออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ พยัญชนะ และ สระ ซึ่งก็คงเหมือนกับทุกภาษา ที่มีทั้งพยัญชนะและสระ  รวมกันทั้งหมดอยู่ ๔๑ ตัว. โดยแบ่งออกเป็น พยัญชนะ ๓๓ ตัว สระ ๘ ตัว

พยัญชนะ
         พยัญชนะในภาษาบาลีมีอยู่ ๓๓ ตัว อย่างนี้ คือ
        

        






         พยัญชนะทั้ง ๓๓ ตัวเหล่านี้ ตั้งแต่ ไปจนถึง ท่านเรียกว่า พยัญชนะวรรค เพราะสามารถจัดเข้าเป็นพวกเดียวกันได้ ดังนี้
         ตั้งแต่ ก  ไปจนถึง  ง  เรียกว่า  ก วรรค
         ตั้งแต่  จ  ไปจนถึง    เรียกว่า จ วรรค
         ตั้งแต่  ฏ  ไปจนถึง  ณ เรียกว่า ฏ วรรค
         ตั้งแต่  ต  ไปจนถึง  น  เรียกว่า ต วรรค
         ตั้งแต่  ป  ไปจนถึง  ม  เรียกว่า ป วรรค
         ส่วนพยัญชนะตั้งแต่ ไปจนถึง  เรียกว่า พยัญชนะอวรรค เพราะไม่สามารถจัดเข้าเป็นพวกเดียวกันได้.
         ข้อสังเกต จะมีอักษรอยู่ ๒ ตัวที่ไม่เหมือนภาษาไทย คือ และ ไม่ต้องมีเชิงเหมือนภาษาไทยที่เขียนเป็น และ   อาจเป็นเพราะไม่สะดวกเวลาที่จะต้องใส่จุดใต้พยัญชนะ เพื่อแสดงการที่ไม่ต้องออกเสียงสระที่ผสมกับพยัญชนะตัวนั้น.

วิธีอ่านออกเสียงพยัญชนะ
         พยัญชนะวรรคทั้งหมด เว้น   –  ออกเสียงเหมือนภาษาไทยทุกประการ ต่างกันตรงที่ว่า ภาษาไทยใช้สระ ออ ทั้งหมด  แต่ในภาษาบาลีออกเสียงมี สระอะ ทั้งหมด ดังตัวอักษรที่ปรากฏข้างต้นนี้ ให้อ่านออกเสียงว่า
         กะ  ขะ  คะ  ฆะ  งะ 
            จะ  ฉะ  ชะ  ฌะ  ญะ
            ฏะ  ฐะ  ฑะ  ฒะ  ณะ
            ตะ  ถะ ทะ  ธะ  นะ
            ปะ  ผะ  พะ  ภะ  มะ
            ยะ  ระ  ละ  วะ  สะ  หะ  ฬะ 
         ส่วนพยัญชนะตัวสุดท้ายที่เป็นจุดกลม   – (เหมือนฟองสบู่)  เรียกว่า นิคคหิต มีเสียงเหมือน งะ และให้อ่านออกเสียงว่า อัง
         เรื่องของพยัญชนะขอจบไว้แค่นี้ก่อน

vvv

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น