วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๒๓. บทประธาน

๗. บทประธาน
         คำนามที่ประกอบวิภัตติทั้ง ๗ หมวดนั้นแล้ว เมื่อกล่าวตามหลักการของภาษาแล้วจะได้ชื่อว่า บท ไม่เรียกว่า ศัพท์หรือลิงค์ อีก เพราะคำว่า บท ได้แก่ คำที่ให้รู้ความหมายและหน้าที่ตามวิภัตติทั้ง ๗ นั้น. ต่อไปนี้จะเรียก คำนามหรือลิงค์ที่ประกอบด้วยวิภัตติแล้วว่า นามบท.
         ในนามบททั้งหมดนั้น นามบทที่จะจัดเป็นประธานของประโยคได้ ก็เฉพาะที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเท่านั้น (ที่มีคำแปลหรืออายตนิบาตว่า อันว่า ซึ่งนิยมใช้ตัวย่อว่า อ. ได้แก่ รูปว่า ปุริโส อ.บุรุษ ใน อ การันต์ปุงลิงค์). ดังนั้น นามบททั้งหมด ที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อที่ ๑ นั้น เมื่อจะนำมาใช้เป็นบทประธานและบทขยายประธาน ต้องประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเสมอ[1].
บทประธาน คือ บทมีลักษณะเช่นไร
         บทอันผู้พูดประสงค์จะกล่าวถึง ชื่อว่า บทประธาน. บทประธานแบ่งออกเป็น ๕  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ
         ๑. บทประธานที่ไม่เกี่ยวข้องกับกริยาบทใด ๆ.
         ๒. บทประธานที่เป็นผู้กระทำกิริยาเอง
         ๓. บทประธานที่เป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำ
         ๔. บทประธานที่เป็นผู้ถูกกระทำ
         ๕. บทประธานที่เป็นผู้ถูกใช้ให้กระทำ
         บทประธานทั้ง ๕ ประเภทนี้นั่นแหละ จะเป็นบทที่บ่งถึงลักษณะประโยคในภาษาบาลีได้ด้วย. ในที่นี้เราจะศึกษาเฉพาะบทประธานที่ไม่เกี่ยวข้องกับกริยาบทและที่เป็นผู้กระทำกิริยาเองก่อน ส่วนที่เหลือจะได้ทยอยศึกษากันในลำดับต่อไป.
         บทประธานย่อมประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเสมอ. คำที่กล่าวมานี้มีเรื่องที่น่าพิจารณาอยู่ ๓ ประเด็น คือ
         ๑) ปฐมาวิภัตติ ใช้ในความหมายอย่างไร ?
         ๒) เหตุไรบทประธานต้องประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ ?
         ๓) ปฐมาวิภัตติใช้เป็นบทประธานได้ทั้งหมดหรือไม่ ?

×vØ





[1] คำว่า ต้องประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเสมอนี้ เฉพาะในประโยคที่มีลักษณะกล่าวถึงผู้ทำกิริยาและผู้ถูกทำเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับประโยคที่กล่าวถึงอาการเป็นไปของกิริยา เพราะประโยคที่กล่าวอาการแห่งกิริยา มิได้กล่าวถึงผู้กระทำ ไม่ว่าจะในแง่ใด ๆ จึงไม่เอาปฐมาวิภัตติมาเป็นบทประธาน แต่นำตติยาวิภัตติมาเป็นบทประธานแทน. เรื่องนี้จะพบได้ในภาคกริยาข้างหน้า.

1 ความคิดเห็น:

  1. ศัพท์ที่จะใช้เป็นบทประธานในประโยคบาลีได้ มีศัพท์อะไรบ้าง

    ตอบลบ