วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๑๗ ลิงค์

๑. ลิงค์
         ลิงค์ คือ เพศหรือแบบของคำนาม.  คำนามทุกคำในภาษาบาลีล้วนแล้วแต่มีองค์ประกอบนี้อยู่ทั้งสิ้น ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ลิงค์ คือ หน่วยสุดท้ายหรือคำเดิมของคำนามนั่นเอง เพราะอะไร ? เพราะลิงค์ ย่อมแอบแฝงอยู่ในคำนามที่ประกอบกับวิภัตติแล้วทั้งสิ้น.

         ลิงค์ที่ถือว่าเป็นหน่วยสุดท้ายของคำนามนั้นมีอยู่ ๓แบบ ที่เรียกกันว่า เพศ คือ
          ๑. ปุงลิงค์ เพศหรือแบบชาย
          ๒. อิตถีลิงค์ เพศหรือแบบหญิง
          ๓. นปุงสกลิงค์ เพศหรือแบบที่ไม่ใช่ทั้งชาย ไม่ใช่ทั้งหญิง เป็นกลางๆ
         ทั้ง ๓ อย่างนี้เอาเกณฑ์อะไรมาแบ่ง ? เมื่อจะมองอย่างมุมกว้างที่สุด น่าจะมีอยู่ ๒ ประการ คือ
         ๑. อาศัยรูปแบบที่ประกอบกับวิภัตติแล้วสามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจนว่า คำนี้เป็นวิภัตตินี้ ไม่ใช่วิภัตติโน้น เพราะไม่มีซ้ำกันเลยในแต่ละวิภัตติ อย่างนี้จัดเป็นปุงลิงค์ ถ้าไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจน เพราะมีรูปที่ซ้ำกันแทบจะทุกวิภัตติ อย่างนี้จัดว่าเป็นอิตถีลิงค์ แต่ถ้ามีรูปแบบที่เป็นกลาง ๆ คือ มีรูปเหมือนกับปุงลิงค์เป็นบางวิภัตติ ดูคล้ายกับปุงลิงค์ บางทีดูออก บางทีดูไม่ออกว่า ไม่ใช่ปุงลิงค์ อย่างนี้นับว่าเป็นนปุงสกลิงค์. ในข้อนี้ จะเห็นความชัดเจนเมื่อได้ทราบถึงการนำนามศัพท์ผสมแจกวิภัตติ.
         ๒. อาศัยธรรมชาติของศัพท์นั้น ๆ ว่าเป็นชายเป็นหญิงหรือไม่ใช้ทั้งชายและหญิง. ข้อนี้ ยังไม่แน่เสมอไป แต่ก็สามารถนำมาใช้เป็นหลักง่าย ๆ ในการตัดสินได้ นั่นก็คือ
         ๑) ลิงค์โดยกำเนิด นั่นก็คือ คำนามใด เมื่อกล่าวถึงความเป็นผู้ชายที่อาศัยอยู่ในวัตถุสิ่งนั้นแล้ว คำนามนั้น ก็จัดเป็นปุงลิงค์ เช่น ปุริส ผู้ชาย นร ผู้ชาย  กุมาร เด็กผู้ชาย อมร เทวดาผู้ชาย ปิตุ บิดา ดังนี้เป็นต้น โดยทำนองเดียวกัน ถ้ากล่าวถึงความเป็นผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในวัตถุสิ่งนั้นแล้ว คำนามนั้น ก็จัดเป็นอิตถีลิงค์ เช่น อิตฺถี ผู้หญิง กญฺญา นางสาว ภิกฺขุนี พระภิกษุผู้เป็นหญิง ดังนี้เป็นต้น แต่ถ้าไม่สามารถระบุถึงความเป็นหญิงชายได้จริง ๆ เป็นต้นว่า สภาพต่าง ๆ หรือ สิ่งของต่าง ๆ ที่ไม่มีชีวิต แล้วมักจะเป็นนปุงสกลิงค์ เช่น องฺค องค์ประกอบ กุล ตระกูล จิตฺต จิตใจ รูป รูปธรรม เป็นต้น.
         ๒) ลิงค์โดยสมมุติ นั่นก็คือ ลิงค์ในข้อ ๑ นั้น แม้ว่า ความเป็นชายหญิงจะปรากฏอยู่วัตถุนั้น แต่ความนิยมของภาษาบาลีกลับใช้เป็นโดยนัยตรงข้ามก็มี เช่น ทาร ภรรยา โดยภาวะแล้ว เป็นหญิง แต่เวลาใช้จริง ๆ เป็นปุงลิงค์ หรือ อุทธิ ทะเล, ปพฺพต ภูเขาแม้เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ก็ตาม กลับใช้เป็นปุงลิงค์ ก็ได้ โลภ ความอยากได้ เป็นสภาพธรรม ก็จริง แต่ใช้เป็นปุงลิงค์ ปญฺญา ความรู้ ใช้เป็นอิตถีลิงค์ ดังนี้เป็นต้น
         เมื่อจะสรุปให้รวบรัดที่สุด ไม่ว่าจะเป็นลิงค์โดยกำเนิดหรือลิงค์โดยสมมุติก็ตาม ย่อมอาศัยกฏเกณฑ์ในข้อที่ ๑ นั่นเองเป็นตัวชี้ขาดว่าเป็นลิงค์ใด เพราะในขั้นตอนของการใช้ลิงค์เหล่านี้ จะพบได้เมื่อเวลาที่ประกอบวิภัตติแล้วนำมาใช้ในหน้าที่ต่าง ๆ ของประโยคเท่านั้น จะไม่มีทางพบคำนามที่เป็นลิงค์โดยไม่ประกอบวิภัตติได้เลย.
         ในที่นี้จะยกอุทาหรณ์ที่ท่านจัดเป็นลิงค์ต่าง ๆ มาให้ เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยว่า ศัพท์ใดเป็นลิงค์ใด. อุทาหรณ์เหล่านี้ ควรตกลงใจในขั้นต้นนี้ก่อนว่า ท่านมีวิธีการแบ่งออกโดยเกณฑ์ดังนี้
          ๑. เป็นลิงค์เดียว คือ เป็นลิงค์ใด ก็จัดเป็นลิงค์นั้นไปเลย ห้ามใช้สลับกัน
          ๒. เป็นได้ทั้ง ๒ ลิงค์ คือ เป็นทั้งปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ แล้วแต่จะพบว่าเป็นบริบทของบทที่เป็นลิงค์ใด
          ๓. เป็นได้ทั้ง ๒ลิงค์ คือ คำเดิมเป็นปุงลิงค์อยู่แล้ว แต่ประสงค์จะให้ใช้เป็นอิตถีลิงค์ ก็เปลี่ยนเสียงท้ายของคำนามนั้น โดยการนำอักษรที่บ่งถึงความเป็นหญิงมาประกอบ
          ๔. เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์ คือ คำนามใด เมื่อจะใช้ขยายบทใด ไม่ว่าจะเป็นลิงค์ใด ก็ตาม ย่อมมีฐานะเทียบเท่ากับลิงค์นั้น คำนามนั้น จึงมีได้ ๓ ลิงค์ แล้วแต่ว่าจะขยายบทใด. คำนามประเภทนี้ ได้แก่ คุณนาม.

         ๑. คำนามเป็นลิงค์เดียว     
ปุงลิงค์
อิตถีลิงค์
นปุงสกลิงค์
อมโร          เทวดา
อจฺฉรา  นางอัปสร
องฺค               องค์
อาทิจฺโจ พระอาทิตย์
อาภา  รัศมี 
อารมฺมณ    อารมณ์
อินฺโท    พระอินทร์
อิทฺธิ    ฤทธิ์ 
อิณ               หนี้
อีโส     คนเป็นใหญ่ 
อีสา      งอนไถ
อีริณ       ทุ่งนา
อุทธิ     ทะเล
อุฬุ       ดาว
อุทก               น้ำ
เอรณฺโฑ    ต้นละหุ่ง
เอสิกา    เสาระเนียด
เอฬาลุก   ฟักเหลือง
โอโฆ       ห้วงน้ำ
โอชา   โอชา
โอก  น้ำ
กณฺโณ    หู  
กฏิ    สะเอว
กมฺม  กรรม
จนฺโท  พระจันทร์
จมู  เสนา
จกฺขุ นัยน์ตา
ตรุ       ต้นไม้
ตารา   ดาว
เตล   น้ำมัน
ปพฺพโต   ภูเขา
ปภา   รัศมี 
ปณฺณ ใบไม้
ยโม        พระยม
ยาคุ  ข้าวต้ม
ยาน    ยาน
                                                            

๒. คำนามเดียวกันเป็นได้ ๒ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์
ปุงลิงค์
นปุงสกลิงค์
คำแปล
อกฺขโร
อกฺขร
อักษร
อคาโร
อคาร  
เรือน
อุตุ
อุตุ
ฤดู
ทิวโส
ทิวส
วัน
มโน 
มน
ใจ
สวจฺฉโร
สวจฺฉร
ปี

๓. คำนามเดียวกัน ลงอักษรที่บ่งความเป็นหญิง กลายเป็นอิตถีลิงค์ จึงมี ๒ ลิงค์

ปุงลิงค์
อิตถีลิงค์
คำแปล
อรหา - อรห
อรหนฺตี
พระอรหันต์
อาชีวโก
อาชีวิกา
นักบวช
อุปาสโก
อุปาสิกา
อุบาสกอุบาสิกา
กุมาโร
กุมารี-กุมาริกา
เด็ก
ขตฺติโย
ขตฺติยานี ขตฺติยา
กษัตริย์
โคโณ
คาวี
โค
โจโร
โจรี
โจร
าตโก
าติกา
ญาติ
ตรุโณ
ตรุณี
ชายหนุ่ม, หญิงสาว
เถโร
เถรี
พระเถระพระเถรี
ทารโก
ทาริกา
เด็กชายเด็กหญิง
เทโว
เทวี
พระเจ้าแผ่นดินพระราชเทวี
นโร 
นารี
คน  (ชาย - หญิง)
ปริพฺพาชโก
ปริพฺพาชิกา
นักบวช (ชาย - หญิง)
ภิกฺขุ
ภิกฺขุนี
ภิกษุภิกษุณีผู้เจริญ
ภว
โภตี
ผู้เจริญ
มนุสฺโส
มนุสฺสี
มนุษย์  (ชาย - หญิง)
ยกฺโข
ยกฺขินี
ยักษ์ยักษิณี
ยุวา 
ยุวตี
ชายหนุ่มหญิงสาว
ราชา
ราชินี
ราชินี                                     
สขา
สขี 
เพื่อน  (ชาย - หญิง)
หตฺถี 
หตฺถินี
ช้างพลายช้างพัง

๔. คำนามที่ใช้เป็นคุณนาม เป็นได้ ๓ ลิงค์ แล้วแต่จะขยายบทที่เป็นลิงค์ใด

ปุงลิงค์
อิตถีลิงค์
นปุงสกลิงค์
คำแปล
กมฺมกาโร
กมฺมการินี
กมฺมการ
ทำการงาน
คุณวา
คุณวตี
คุณว 
มีคุณ
จณฺโฑ
จณฺฑา
จณฺฑ
ดุร้าย
เชฏฺโ
เชฏฺา
เชฏฺ
เจริญที่สุด
ตาโณ
ตาณา
ตาณ 
ต้านทาน
ถิโร
ถิรา
ถิร
มั่น
ทกฺโข
ทกฺขา
ทกฺข
ขยัน
ธมฺมิโก
ธมฺมิกา
ธมฺมิก
ตั้งในธรรม
นาโถ
นาถา
นาถ
ที่พึ่ง
ปาโป
ปาปา
ปาป
บาป
โภคี
โภคินี
โภคิ
มีโภคะ
มติมา
มติมตี
มติม
มีความคิด
ลาภี
ลาภินี
ลาภิ
มีลาภ
สทฺโธ
สทฺธา
สทฺธ
มีศรัทธา.

         ในตอนนี้ มีห้อข้อต้องกำหนดให้ได้อยู่ว่า
         ๑. คำนามเดิมทั้งปวงจัดเป็นลิงค์ แบ่งออกเป็น ๓ แบบ คือ ปุงลิงค์ แบบชาย  อิตถีลิงค์ แบบหญิง นปุงสกลิงค์ ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่หญิง
         ๒. ลิงค์แบ่งออก ๓ แบบนั้นโดยอาศัยรูปแบบการแจกวิภัตติและโดยอาศัยความเป็นชาย หญิง ที่มีอยู่ในสิ่งนั้น
         ๓. ตัวอย่างคำศัพท์ที่เป็นลิงค์ต่าง ๆ ที่ให้ไว้ สำหรับเป็นคู่มือและแนวทางในการกำหนดลิงค์ ถ้าใช้ความสังเกตจะกำหนดได้เอง ไม่จำเป็นต้องท่องเพื่อจำให้ได้.

×vØ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น