๓ - ๔. วิภัตติและวจนะ
หัวข้อนี้จะพูดไปพร้อมกัน เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน.
พึงทำความเข้าใจว่า
ภาษาบาลีมีระเบียบที่เป็นลักษณะเฉพาะอยู่อย่างหนึ่ง คือ สามารถผันคำศัพท์ต่าง ๆ
โดยความหมายที่ต้องการได้ ลักษณะการผันคำอย่างนี้มีชื่อว่า วิภัตติ. โดยทั่วไปแล้ว คำว่า วิภัตติ แปลว่า การจำแนก
ได้แก่ การจำแนกให้เห็นถึงความหมายของศัพท์นั้น ๆ
ซึ่งจะทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง ในประโยค เป็นต้นว่า เป็นผู้ทำ เป็นสิ่งที่ถูกทำ
เป็นเครื่องมือใช้ทำ เป็นที่รับมอบ เป็นต้น โดยมีความเกี่ยวข้องกับบทประธาน
หรือกับบทกริยาก็ได้. นอกจากนี้
วิภัตติยังทำหน้าที่จำแนกให้เห็นถึงวจนะ คือ จำนวนของคำนามด้วย.
ที่กล่าวมานี้เป็นความหมายของวิภัตติ ยังไม่ได้หมายถึง ตัววิภัตติ.
วิภัตติ หมายถึง
กลุ่มอักษรที่ประกอบขึ้นมาแล้วทำหน้าที่จำแนกคำนามดังได้กล่าวนั้น.
ในที่นี้ท่านแบ่งออกเป็น ๗ หมวด ๆ ละ ๒ ข้าง คือ ข้างเอกวจนะ และ พหุวจนะ รวมเป็น
๑๔ ตัว ดังตารางข้างล่างนี้
ตารางแสดงวิภัตติทั้ง ๗
|
|||
ชื่อวิภัตติ
|
เอกวจนะ
|
พหุวจนะ
|
คำแปล (อายตนิบาต)
|
ปฐมาวิภัตติ
|
สิ
|
โย
|
อันว่า ***
|
ทุติยาวิภัตติ
|
อํ
|
โย
|
ซึ่ง, สู่, ยัง,สิ้น,กะ, เฉพาะ,
ตลอด
|
ตติยาวิภัตติ
|
นา
|
หิ
|
ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ,มี
|
จตุตฺถีวิภัตติ
|
ส
|
นํ
|
แก่, เพื่อ, ต่อ
|
ปญฺจมีวิภัตติ
|
สฺมา
|
หิ
|
แต่, จาก, กว่า, เหตุ
|
ฉฏฺฐีวิภัตติ
|
ส
|
นํ
|
แห่ง, ของ, เมื่อ
|
สตฺตมีวิภัตติ
|
สฺมึ
|
สุ
|
ใน,ใกล้,ที่,ครั้น,เมื่อ,ณ,ในเพราะ
|
อาลปนะ
|
สิ
|
โย
|
แน่ะ, ดูกร, ข้าแต่
|
*** ทุกวิภัตติฝ่ายพหุวจนะให้เติมคำว่า
ทั้งหลาย (ท.)
|
จากตารางนี้ คำแปลประจำวิภัตตินั้น มีชื่อว่า อายตนิบาต
หมายถึงเป็นตัวที่ใช้เชื่อมบทที่ประกอบด้วยวิภัตตินี้
กับบทอื่นที่ประกอบด้วยวิภัตติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือกับบทกริยาเข้าด้วยกัน.
ตรงกับคำสันธานในภาษาไทย. ต่างกันเพียงว่า คำสันธาน
แยกออกมาเป็นอีกคำหนึ่งนอกจากคำนามนั้น. ส่วนคำแปลฝ่ายพหุวจนะ ให้นำคำว่า ทั้งหลาย
(โดยทั่วไปนิยมใช้ตัวย่อว่า ท. ) มาเพิ่มเท่านั้น.
มีอีกหมวดหนึ่งเพิ่มเข้ามา นั่นก็คือ อาลปนะ
ที่เป็นคำใช้เรียกให้ผู้ฟังรู้สึกตัว ก่อนที่จะพูดจากัน ให้ทำความตกลงว่า ไม่ใช่เป็นวิภัตติอีกหมวดหนึ่ง
แต่จัดอยู่ในปฐมาวิภัตติ เพียงแต่ว่า
เป็นการใช้ปฐมาวิภัตติในอีกความหมายหนึ่งเท่านั้น.
ทุกคำศัพท์ที่แบ่งออกตามการันต์นั้น แต่ละการันต์ ในแต่ละลิงค์
เรานำเพียงคำศัพท์ที่เป็นตัวอย่างมา ๑ คำมาแล้วประกอบวิภัตติตามนี้ก็พอแล้ว
ดังนั้น แม้ว่า คำนามจะมีมากมายสักเท่าใด ก็คงมีรูปแบบการจำแนกโดยวิภัตติได้เพียง
๑๐ กว่าชนิดเท่านั้น
ซึ่งเป็นการสะดวกแก่การกำหนดรูปแบบแห่งคำนามที่จะนำมาใช้ทั้งหมดได้.
ดังนั้น หัวข้อนี้ มีเรื่องที่ต้องกำหนดดังนี้
๑. วิภัตติมี ๗ หมวด มีชื่อเรียกว่า ปฐมาวิภัตติ เป็นต้น มีสัตตมีวิภัตติเป็นสุดท้าย.
๒. กลุ่มอักษรในแต่ละวิภัตติควรจะกำหนดให้ได้ว่า สิ
เป็นปฐมาวิภัตติ เป็นต้น แม้ว่า จะไม่ท่องจำ หรือ จำไม่ได้ ไม่เป็นไร
ให้กำหนดรูปสำเร็จที่เกิดจากการนำวิภัตตินี้ประกอบด้วย
แต่ต้องใช้ความสังเกตรูปที่สำเร็จมากเพิ่มขึ้น. ดังนั้น สิ่งที่น่าจะต้องจำให้ได้
ควรจะเป็นบทที่สำเร็จจากวิภัตตินี้มากกว่า
๓. วิภัตติแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายเอกวจนะ กล่าวถึง
จำนวนเดียวเท่านั้น และฝ่ายพหุวจนะ กล่าวถึงคำนามมากกว่า ๑ คือ ตั้งแต่ ๒
เป็นต้นไป.
๔. คำแปลของวิภัตติทุกหมวด รวมเรียกว่า อายตนิบาต คือ คำเชื่อมความ. ส่วนคำแปลและความหมายของวิภัตติแต่ละหมวดและการนำประกอบกับศัพท์นามเดิมจะได้ยกไปศึกษากันในหัวข้อต่อไป.
×vØ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น