วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๒๒. แบบฝึกหัดทบทวนที่ ๒

แบบฝึกหัดทบทวนที่ ๒
๑. ตอบคำถาม
        ๑. คำนาม คือ คำที่มีลักษณะเช่นใด และแบ่งออกเป็นกี่พวก  ? (หน้า ๒๗)
           ๒. องค์ประกอบคำนามมีเท่าใด จงบอกมาให้ครบ ?  (หน้า ๒๘)
       ๓. ลิงค์ คือ อะไร เพราะเหตุใดจึงได้ชื่อว่า ลิงค์. และแบ่งออกเป็นเท่าใด (หน้า ๓๐)
         ๔. ใช้กฏเกณฑ์เช่นใดมาแบ่งประเภทแห่งลิงค์ จงตอบมาพอเข้าใจ ? (หน้า ๓๐)
         ๕. ลองยกตัวอย่างของลิงค์ดังต่อไปนี้ มาอย่างละ ๕ ศัพท์
         ๑) เป็นลิงค์เดียว                               ๒) เป็นได้ ๒ ลิงค์ คือ ปุ. และ นปุ. 
            ๓). เป็นได้ ๒ ลิงค์ คือ ปุ. และ อิต.              ๔) เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์
         ๖.  การันต์ คือ อะไร มีเท่าไร อะไรบ้าง (หน้า ๓๔)
         ๗. จงจำแนกการันต์โดยลิงค์ทั้ง ๓ มาดู (หน้า ๓๔)
         ๘. วิภัตติ คือ ศัพท์เช่นไร มีหน้าทีอย่างไรบ้าง ? (หน้า ๓๖)
         ๙. จงจำแนกวิภัตติทั้ง ๗ พร้อมทั้งอายตนิบาตมาดู โดยทำเป็นตาราง (หน้า ๓๖)
         ๑๐. อายตนิบาต คือ อะไร ทำหน้าที่อะไรในภาษาไทย ?
๒. ทบทวนการแจกวิภัตติ
         ๑. จงนำคำศัพท์เหล่านี้ไปแจกวิภัตติตามกำหนดให้แล้วบอกคำแปล
         ๑) สุร เทวดา + อํ                      ๒) นาค ช้าง + หิ (ตติยา) 
         ๓) มนุสฺส มนุษย์ + โย (ปฐมา)                ๔) อสุร อสูร + ส (จตุตถี)
         ๕) ยกฺข ยักษ์ + สิ (ปฐมา)            ๖) ปิสาจ ปีศาจ + นํ (ฉัฏฐี)
         ๗) นร คน + นา                        ๘) คนฺธพฺพ คนธรรมพ์ + สิ (อาลปนะ)
         ๙) เปต + โย (ทุติยา)                  ๑๐) วราห หมู + นํ (จตุตถี)
         ๑๑) สีห + หิ (ปัญจมี)                          ๑๒) กจฺฉป เต่า + สุ
         ๑๓) คาม หมู่บ้าน + สฺมึ              ๑๔) พฺยคฺฆ เสือ + โย (อาลปนะ)
         ๑๕) มาตงฺค ช้าง + โย (ทุติยา)               ๑๖) โสณ สุนัข + ส (ฉัฏฐี)
         ๒. จงบอกว่า คำนี้ประกอบวิภัตติใด
         ๑) มิคสฺมา     ๒) โลกสฺมึ     ๓) ธมฺเมสุ     ๔) โฆสานํ     ๕) โลภสฺส
         ๖) มาเนหิ     ๗) อสโน      ๘) อจฺฉํ        ๙) อสฺสสฺส     ๑๐) นิลเยน
         ๑๑) กามา     ๑๒) ปฏิฆตฺถํ ๑๓) สารมฺภาย        ๑๔) มกฺเข     ๑๕) มกฺขานํ
         ๑๖) จมฺปเกภิ ๑๗) นเรน     ๑๘) สงฺฆมฺหิ  ๑๙) อมฺเพ     ๒๐) อุรค


×vØ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น