วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๘. มาอ่านบาลีกัน : การผสมพยัญชนะและสระ

มาอ่านบาลีกัน
         พยัญชนะเมื่อปรากฏอยู่เดี่ยว ๆ ไม่สามารถออกเสียงได้เลย ต้องมาผสมกับสระแล้วจึงจะออกเสียงได้ ดังนั้น พยัญชนะ ท่านจึงตั้งสมญาว่า มูคะ (อักษรใบ้).  ส่วนสระนั้นเล่า แม้ว่าจะไม่มีพยัญชนะมาผสม ตัวเองจะออกเสียงได้เองก็เอาเถิด แต่กระนั้น ลำพังแต่สระ เมื่อออกเสียงแล้ว ใช่ว่าจะสื่อความหมายให้ปรากฏได้ไม่ เพราะเมื่อเปล่งเสียงแล้ว ก็มีแต่เสียง อะ ไปทั้งหมด. อย่างเราจะพูดว่า ไปไหนมา ถ้าไม่มีพยัญชนะมาประกอบกับสระแล้ว เวลาออกเสียง ผู้อื่นก็จะได้ยินเสียงว่า ไอ ไอ๋ อา เมื่อเป็นดังนี้ ใครเล่าจะฟังรู้เรื่อง ดังนั้น พยัญชนะจึงเป็นตัวช่วยสำหรับการสื่อถึงเรื่องราวที่ประสงค์จะพูดให้ปรากฏได้ และนี้คือที่มาของคำว่า พยัญชนะ นั้นเอง ด้วยเหตุนี้ พยัญชนะ แปลว่า อักษรที่ทำให้ความหมายปรากฏ, ส่วน สระ แปลว่า อักษรที่ออกเสียงเองได้.
         ถ้าอยากจะสื่อสารกันรู้เรื่อง ก็กำหนดความหมายที่ต้องการแล้วเอาพยัญชนะมาผสมกับสระ แล้วพูดออกไปเถิด.  ลองดูการผสมกันระหว่างพยัญชนะและสระดังนี้
        
การผสมพยัญชนะและสระ
         ก่อนอื่น โปรดเข้าใจก่อนว่า ก ข เป็นต้นที่เป็นพยัญชนะ ที่เราออกเสียงเป็น กะ นั้น เพราะมีสระ อ ประกอบอยู่ จึงออกเสียงได้. มิได้หมายความว่า ตัว ก นั้นมีเสียงเป็น อ. เพราะฉะนั้น คำเดิมที่แท้จริงของพยัญชนะต้องเขียนแบบที่ไม่มีสระอาศัย เอาแต่ตัวพยัญชนะเอง ก็ต้องเป็นแบบนี้ คือ กฺ  ขฺ  คฺ  ฆฺ  งฺ  เป็นต้น ยกเว้นนิคคหิต ที่เขียนแบบนี้ก็เพราะให้เห็นตัวพยัญชนะที่ไม่มีสระอาศัยอยู่. จุด ( Ú ) ซึ่งอยู่ใต้พยัญชนะนั้นจัดเป็นสัญญลักษณ์ให้ทราบว่า พยัญชนะตัวนั้นไม่มีสระอาศัย เวลาออกเสียง ถ้าอยู่ในฐานะเป็นตัวกล้ำให้ออกเสียงพยัญชนะนั้นนิดเดียว ไม่ออกเสียงเต็มคำเหมือน ก ข เป็นต้น และถ้าอยู่ในฐานะตัวสะกด ก็จะออกเสียงไม่ได้เลย วิธีการออกเสียงจะพบข้างหน้า.
         พยัญชนะทั้งหมดเว้น นิคคหิต เมื่อผสมกับสระจะเป็นอย่างนี้
         นำ กฺ พยัญชนะ        มาผสมกับ  สระ อ  เป็น    ก (กะ)
                                   มาผสมกับ  สระ อา          เป็น    กา
                                   มาผสมกับ  สระ อิ           เป็น    กิ
                                   มาผสมกับ  สระ อี  เป็น    กี
                                   มาผสมกับ  สระ อุ  เป็น    กุ
                                   มาผสมกับ  สระ อู   เป็น    กู
                                   มาผสมกับ  สระ เอ เป็น    เก
                                   มาผสมกับ  สระ โอ   เป็น โก
                                   มาผสมกับ  สระ อ  ที่มี นิคคหิต เป็น   กํ  (กัง)
                                   มาผสมกับ  สระ อิ  ที่มี นิคคหิต เป็น   กิ  (กิง)
                                   มาผสมกับ  สระอุ   ที่มี นิคคหิต เป็น   กุ  (กุง)
         จะเห็นได้ว่า สระ อ นั้นไม่มีรูปสระปรากฏ ส่วนที่เหลือนอกนั้น มีรูปสระปรากฏอยู่ด้วย ดังนั้น  เมื่อเวลาที่เราเห็นพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระ พึงตกลงใจได้เลยว่า พยัญชนะตัวนั้นมีสระ อ อาศัยอยู่ด้วย เช่น สรติ อ่านวา สะระติ, มรณํ อ่านว่า มะระณัง เป็นต้น
         J โปรดฟังหน่อย.  นิคคหิต จัดเป็นพยัญชนะพิเศษที่ต้องอาศัยสระนำหน้าเสมอไป และต้องอาศัยรัสสสระเท่านั้น ดังนั้น เราจะไม่พบเห็นอักษรบาลีที่มีรูปแบบนี้เลยว่า กางฺ เกงฺ โกงฺ กีงฺ กูงฺ  J
         ขั้นนี้ให้ทดลองนำพยัญชนะที่เหลือมาผสมกับสระทั้ง ๘ ตัวแล้วฝึกออกเสียงดู


vvv

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น