วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๑๓. โครงสร้างของประโยคบาลีทั่วไป

บทที่ ๒
๑. วจีวิภาค โครงสร้างของคำพูดภาษาบาลี
            ประโยคคำพูดในภาษาบาลี เมื่อแยกออกมาแล้ว คงประกอบไปด้วยส่วนใหญ่ ๆ อยู่ ๒ ประการ คือ คำนาม และ คำกริยา หรือ ภาคประธาน และ ภาคกริยา เช่นเดียวกับทุกภาษานั่นเอง เพราะเหตุนั้น ในภาคนี้ จะได้ศึกษากันในเรื่องของคำนามและคำกริยา เพื่อจะได้วิเคราะห์ในรูปแบบแห่งประโยคในภาษาบาลีสืบไป.

         คำนาม หรือภาคประธาน เป็นผู้แสดงกิริยารวมถึงเป็นประธานของประโยค ได้แก่
     ๑. นามนาม   
     ๒. สัพนาม     
     ๓. สมาสนาม            
     ๔. ตัทธิตนาม
     ๕. กิตนาม     
     ๖. กริยากิต (บางตัว)                        
     ๗. นิบาต (บางตัว)

         คำกริยา หรือ ภาคกริยา เป็นกิริยาอาการของคำนามและประธานในประโยค คือ
     ๑. กริยาอาขยาต      
     ๒. กริยากิต.

         ทั้งภาคประธานและภาคกริยานั้น แต่ละภาค ย่อมมีส่วนประกอบเพิ่มขึ้นไปอีก คือ ส่วนที่เป็นภาคขยายสำหรับประธานและภาคขยายสำหรับกริยา.

         บทขยายประธานและบทขยายกริยา ได้แก่ กลุ่มคำศัพท์ดังต่อไปนี้
     ๑. คำวิเศษณ์ต่าง ๆ เช่น คุณนาม                          
      ๒. นามนาม (ที่ประกอบบางวิภัตติ)  
      ๓. นิบาต (บางบท)                                         

มาถึงขั้นนี้ จึงได้โครงสร้างประโยคทั้งหมดดังนี้

ประโยคในภาษาบาลี
      ภาคประธาน  + บทขยายประธาน   +   ภาคกริยา + บทขยายกริยา                                              
         ตอนนี้ให้รู้จักแต่ชื่อก่อน ต่อแต่นี้เราจะมาศึกษาในรายละเอียดกันว่า ภาคประธาน ภาคกิริยา และบทขยายประกอบไปด้วยบทที่มีลักษณะอะไรบ้าง ไปตามลำดับ


×vØ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น