๕. การประกอบวิภัตติให้เป็นคำนาม
ก่อนจะนำคำนามประกอบกับวิภัตติ ต้องทราบเสียก่อนว่า
ในแต่ละการันต์ของแต่ละลิงค์นั้น มีคำศัพท์ที่จัดว่าเป็นแบบอย่างในการจำแนก
ดังตารางต่อไปนี้
ลิงค์
|
การันต์
|
คำศัพท์เพื่อเป็นแบบแจก
|
ปุงลิงค์
|
อ
|
ปุริส บุรุษ
|
|
อิ
|
อคฺคิ ไฟ
|
|
อี
|
เสฏฺฐี เศรษฐี
|
|
อุ
|
ภิกฺขุ พระภิกษุ
|
|
อู
|
วิญฺญู ผู้รู้วิเศษ
|
อิตถีลิงค์
|
อา
|
กญฺญา นางสาวน้อย
|
|
อิ
|
รตฺติ ราตรี
|
|
อี
|
อิตฺถี ผู้หญิง
|
|
อุ
|
รชฺชุ เชือก
|
|
อู
|
วธู หญิงสาว
|
นปุงสกลิงค์
|
อ
|
กุล ตระกูล
|
|
อิ
|
อกฺขิ นัยน์ตา
|
|
อุ
|
วตฺถุ วัตถุ
|
ไม่จำกัดลิงค์
|
โอ
|
โค วัว
|
พึงกำหนดไว้ในใจก่อนว่า การันต์ อันเป็นเสียงท้ายของศัพท์เหล่านี้นั่นแหละ
จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมายด้วยอำนาจของวิภัตติต่าง ๆมี สิ
เป็นต้นนั่นเทียว. หากจะกล่าวโดยมุมกลับกัน ก็จะพบว่า คำศัพท์ต่าง ๆ
ที่เราพบเห็นดังอุทาหรณ์ที่ยกมาให้ดูตามข้อ ๔ นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการนำคำศัพท์อันเป็นลิงค์หรือคำเดิมเหล่านั้นมาประกอบกับวิภัตติต่าง
ๆ แล้วได้ศัพท์ใหม่ขึ้นมา เช่น
ปุริโส อันว่าบุรุษ คำว่า ปุริโส
นี้เป็นคำนามที่ประกอบวิภัตติแล้ว มาจากลิงค์หรือศัพท์เดิม คือ ปุริส นั่นเอง
โดยประกอบวิภัตติ คือ สิ แล้วด้วยอำนาจของ สิ ที่มาประกอบท้าย อ การันต์
จะต้องแปลงตัวเองเป็น โอ ดังนั้น จากเดิม ปุริส ที่มีเสียงท้ายเป็น อ ก็จะกลายเป็น
โอ ไปจึงมีรูปว่า ปุริโส. แม้ในคำที่เหลือ เช่น ภตฺตํ ซึ่งข้าว, หตฺเถน ด้วยมือ
ก็มีความเป็นไปเช่นนี้ ต่างกันเพียงวิภัตติและวิธีการที่จะนำมาประกอบเท่านั้น.
×vØ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น